ZTE เผยมูลค่าเทคโนโลยีจดสิทธิบัตรทะลุ 4.5 หมื่นล้านหยวน | Techsauce

ZTE เผยมูลค่าเทคโนโลยีจดสิทธิบัตรทะลุ 4.5 หมื่นล้านหยวน

ZTE Corporation  เผยรายงาน "ความท้าทายและอนาคตสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและตลาดทรัพย์สินทางปัญญาของจีน (Challenges and Prospects for China's Telecommunications Industry and Intellectual Property Market)"ฉบับล่าสุด จัดทำโดยบริษัทจัดการการลงทุนชั้นนำอย่าง Jones Lang LaSalle (JLL)

รายงานดังกล่าวระบุว่า ZTE ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในบริษัทอันดับต้น ๆ ด้านรูปแบบสิทธิบัตรระดับโลกจากการมีส่วนร่วมในการวิจัยและการกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยี 5G ทั่วโลก ปัจจุบันเทคโนโลยีที่จดสิทธิบัตรของ ZTE มีมูลค่ามากกว่า 4.5 หมื่นล้านหยวน

มุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าผ่านการจดสิทธิบัตรคุณภาพสูงและมุ่งมั่นที่จะก้าวสู่การเป็น "ผู้สร้างถนนเศรษฐกิจดิจิทัล"

การถือกำเนิดของยุคเศรษฐกิจดิจิทัลทำให้เทคโนโลยีข้อมูลมือถือรุ่นใหม่อย่าง 5G ถูกพัฒนาขึ้นสู่การเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการยกระดับสังคมทั้งหมด การเสริมความแข็งแกร่งให้แก่นวัตกรรมเทคโนโลยีอิสระและการเสริมสร้างการผลิตและการวางรูปแบบสิทธิบัตรคุณภาพสูง กำลังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาธุรกิจองค์กรของจีน ในฐานะผู้สนับสนุนหลักด้านมาตรฐาน 5G ระดับโลก ZTE ตั้งมั่นที่จะเสริมสร้างความสามารถหลักให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และยังคงทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลักและวิทยาศาสตร์พื้นฐานต่อไป บริษัทได้ลงทุนมากกว่า 1 หมื่นล้านหยวนต่อปีในการวิจัยและพัฒนาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2563 การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทอยู่ที่ 1.48 หมื่นล้านหยวน คิดเป็น 14.6% ของรายได้จากการดำเนินงาน

ขณะที่เทคโนโลยี 5G กำลังเติบโตและได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้ผลิตรายใหญ่ระดับโลกต่างสร้างความสามารถในการแข่งขันหลักผ่านรูปแบบสิทธิบัตรที่มีอยู่ก่อนหน้า ZTE ได้เปิดตัวรูปแบบสิทธิบัตรคุณภาพสูงในหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G บริษัทได้เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ การอาศัยรูปแบบเชิงกลยุทธ์ระดับโลกทำให้บริษัทยังคงนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่และบริการคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งมั่นที่จะสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าในฐานะ "ผู้สร้างถนนเศรษฐกิจดิจิทัล"

ZTE ทุ่มเงินจำนวนมากในด้านการวิจัยและพัฒนา และการสั่งสมเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทยื่นคำขอจดสิทธิบัตรทั่วโลกไปมากกว่า 80,000 รายการ ณ เดือนมี.ค. 2564 และได้รับสิทธิบัตรมากกว่า 38,000 รายการทั่วโลก ซึ่งรวมถึงคำขอจดสิทธิบัตรชิปจำนวน 4,270 รายการและสิทธิบัตรที่ได้รับมาแล้วมากกว่า 1,800 รายการ จากรายงานล่าสุดเรื่อง"ใครคือผู้นำการแข่งขันสิทธิบัตร 5G (Who is leading the 5G patent race?)"ซึ่งเผยแพร่โดย IPlytics ในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ZTE ถูกรวมอยู่ในรายชื่อบริษัท 3 อันดับแรกของโลกจากความเป็นผู้นำที่ยั่งยืนด้านสิทธิบัตร 5G Standard-Essential Patent (SEP) ที่ยื่นต่อ ETSI

กลยุทธ์การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยผลักดันให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ ส่งเสริมการเติบโตคุณภาพสูงแก่สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้

การยกระดับนวัตกรรมและความสามารถในการสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ ZTE เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา (IP) อย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการเสริมสร้างการผลิตและรูปแบบของสิทธิบัตรที่มีมูลค่าสูงแล้ว ZTE ยังส่งเสริมการประยุกต์ใช้ การแปลง และการนำสิทธิบัตรไปใช้ภายใต้กลยุทธ์การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูง บริษัทมีความพยายามในการปรับการยื่นขอสิทธิบัตรและการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ในขณะเดียวกันได้ยกระดับคุณภาพคำยื่นขอสิทธิบัตรอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน ด้วยการจัดตั้งระบบการจัดการตลอดวงจรชีวิตของทรัพย์สินทางปัญญา การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาถูกนำไปใช้ในทุกขั้นตอนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการวิจัยและการพัฒนา การตลาด การจัดซื้อ การออกแบบการผลิต และการขาย เป็นต้น ด้วยวิธีนี้ เครือข่ายคุ้มครองสิทธิบัตรที่ได้รับการยอมรับและมีประสิทธิภาพจึงถูกสร้างขึ้น เพื่อส่งเสริมการเติบโตที่มีคุณภาพสูงสำหรับมูลค่าเชิงพาณิชย์ของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ของบริษัท

"ในฐานะหนึ่งในบริษัทไฮเทคของจีนที่แข่งขันในระดับโลก ZTE ตระหนักดีถึงคุณค่าและความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา รวมถึงนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เป็นอิสระ บริษัทยังคงลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพในด้านการวิจัยและพัฒนามานานหลายทศวรรษ และได้สั่งสมความสำเร็จด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยจำนวนมาก" Hu Yi รองประธานและหัวหน้าฝ่ายทรัพย์สินทางปัญญาของ ZTE Corporation กล่าว "ความสำเร็จบางส่วนเหล่านี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ไฮเทคเพื่อช่วยให้ ZTE ขยายตลาดสู่ต่างประเทศ เช่นยุโรปและอเมริกาเหนือ และบางส่วนได้พัฒนาเป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ซึ่งรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา เช่นการจดสิทธิบัตร"

"เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไปและอุตสาหกรรมเกิดความก้าวหน้า ZTE ได้พยายามอย่างมากที่จะสำรวจและใช้ประโยชน์เพิ่มเติมจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ บริษัทเข้าถึงสิทธิบัตรแบบแลกเปลี่ยนร่วมกับบริษัทหลักในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ทำให้ผลิตเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านปฏิสัมพันธ์ทางการค้าและการส่งเสริมเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมแนวดิ่งมากยิ่งขึ้น"

"นอกจากนี้ เราได้รวบรวมการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาที่สมเหตุสมผลผ่านการถ่ายโอน การออกใบอนุญาต และวิธีการจัดการอื่น ๆ เพื่อสร้างวงจรสมบูรณ์สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในเรื่อง "นวัตกรรม การดำเนินการ การสร้างนวัตกรรมใหม่" โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รายได้ทรัพย์สินทางปัญญาของ ZTE เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้นำผลประโยชน์ในรูปแบบเงินสดมาสู่บริษัท และจะยังคงสร้างผลประโยชน์ที่คาดเดาได้ในอนาคต บริษัทคาดว่าทรัพย์สินทางปัญญาของเราจะสร้างรายได้เกือบ 4.5-6 พันล้านหยวนในช่วงปี 2564-2568" คุณ Hu Yi กล่าวเสริม

ในฐานะผู้ที่มีความโดดเด่นในแง่นวัตกรรมระดับโลกและมูลค่าเชิงพาณิชย์ของทรัพย์สินทางปัญญา ZTE ถือว่าทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนาองค์กรมาโดยตลอด ในอนาคต ZTE จะยังคงยกระดับความสามารถหลักของตน โดยปรับปรุงคุณภาพของการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาและประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ขณะที่รักษาไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างการลงทุนด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและผลตอบแทนจากทรัพย์สินทางปัญญา ZTE จะร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหมดเพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบนิเวศทรัพย์สินทางปัญญาคุณภาพสูง เสริมสร้างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงอัจฉริยะรวมถึงการยกระดับสังคม

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.whytouch.com/pdf/gb483f72362e6573c99190c96622507e/index.php

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...

Responsive image

SCB 10X เปิดเวที “Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand” เดินหน้าวิจัย AI ไทย พร้อมเปิดตัว ‘ไต้ฝุ่น 2.0’ เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด

SCB 10X เปิดตัว "ไต้ฝุ่น 2" โมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สุดล้ำในงาน Typhoon 2 Unveiled: Advancing AI Research in Thailand พร้อมยกระดับวิจัย AI ไทยสู่เวทีโลก...

Responsive image

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 ภายใต้หัวข้อ “Chula-KBTG: AI for the Future”

จุฬาฯ จับมือ KBTG เปิดตัว AI LUCA และ Virtual Patient ในงาน Chula the Impact ครั้งที่ 29 มุ่งขับเคลื่อนอนาคตการศึกษาไทยด้วยเทคโนโลยี AI สู่ยุคดิจิทัล...