ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าแบงค์ใหญ่ของไทยหลายรายต่างปรับตัวกันอย่างหนัก เพื่อรับมือกับ Disruption ที่เข้ามา แน่นอนว่ามันคือการปรับทั้งองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์จากผู้บริหารสูงสุด, วัฒนธรรมองค์กร, การทรานฟอร์มจุด Touchpoint ต่างๆ เข้าสู่ดิจิทัล แต่สำหรับบทความนี้เราจะไปเน้นถึงเรื่องการแตกบริษัทเพื่อเสริมทัพบริษัทแม่ งานนี้แต่ละรายมีกลยุทธ์ในการรับมืออย่างไร ไปดูกัน
โดยโมเดลของการตั้งบริษัทนั้นก็
หรือ Accelerator ที่เกิดคำถามขึ้นว่า ถ้าโจทย์คือหาเทคโนโลยีที่ใช้
สำหรับฟากของธนาคาร SCB มีความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มต้นจากการตั้ง Digital Ventures ก่อนในปี 2016 แยกออกมาจากบริษัทแม่ ปัจจุบันบริหารโดย คุณอรพงศ์ เทียนเงิน เราได้เห็น Corporate Venture Capital (CVC) ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 โดยมีการลงทุนทั้งในกองทุนที่ลงทุนใน Startup และลงทุนตรงด้วย
โดยกองทุนที่ลงทุน ได้แก่
ส่วนบริษัทที่ลงทุนส่วนใหญ่แล้วเป็นการลงทุนในบริษัทต่างประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจโดยตรงของทางธนาคาร
โดย Digital Ventures ได้ประกาศเงินลงทุนสนับสนุนอีกครั้งเมื่อช่วงต้นปีมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ขนาดเงินลงทุนทั้งหมดอยู่ที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตั้งแต่ตั้งกองทุนมา
นอกจากนี้ Digital Ventures ยังมีโครงการที่สนับสนุน Startup ดังนี้
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร : ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์
เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่น่าจับตาเมื่อธนาคารตั้งบริษัทลูก SCB Abacus เป็นบริษัทในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีบทบาทชัดเจนคือการนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (BIG DATA) เพื่อพัฒนาธุรกิจและบริการของธนาคาร เปิดตัวไปตั้งแต่ปี 2017 โดยถือเป็นบริษัทแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นกลุ่มธุรกิจทางการเงินและการธนาคารที่แยกตัวออกมามุ่งเน้นในเรื่องนี้โดยตรง
ในแง่ของบริการสิ่งที่ทาง SCB Abacus จะมุ่งเน้นคือ Credit Scoring, Robo-Advisory Platform และ Personalization Engine ตัวอย่างผลงานที่น่าสนใจได้แก่ ฟีเจอร์ “โปรเพื่อคุณ” (My Deals) ในแอปฯ SCB EASY และแอปฯ เก็บหอมแนะนำรูปแบบการออมด้วย AI
KBank แยกตัวบริษัทออกมาใหม่เช่นกัน แต่อาจแตกต่างในเชิงโครงสร้างเมื่อเทียบกับ SCB โดย KBTG เสมือน Lab คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ มี Beacon Venture Capital เป็นหน่วยลงทุน โดยมี KVision ที่พึ่งเปิดตัวไปหาดีลน่าสนใจจากต่างแดนเข้ามาด้วย รายละเอียดมีดังนี้
ประธาน คุณกระทิง พูนผล (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป)
KBTG เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 ถือเป็นกลุ่มบริษัท เพราะภายในยังมีบริษัทย่อยอีก 5 บริษัทด้วยกันได้แก่
ตัวสำนักงานตั้งอยู่ที่แจ้งวัฒนะ โดยเรามักเห็นโครงการต่างๆ ของทางธนาคาร อย่างการจับมือกับ IBM นำ Blockchain มาใช้กับ Smart Contract การพัฒนา K PLUS AI-Driven Experience (KADE) จะอยู่ภายใต้ KBTG รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เปิดให้นักพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมกับ Open API อาทิ TechJam ก็อยู่ภายใต้ KBTG เช่นกัน
กรรมการผู้จัดการ คุณธนพงษ์ ณ ระนอง
เป็น Corporate Venture Capital หรือ CVC ของทางธนาคารกสิกรไทย โดยมีการลงทุนทั้งในกองทุนได้แก่
ลงทุนใน Startup ไทย อาทิ
เป็นบริษัทใหม่ที่ทาง Kbank พึ่งประกาศทุ่ม 8,000 ล้านบาท เป็น Investment Holding Company เพื่อเข้าไปค้นหาพันธมิตรในกลุ่มประเทศที่มีความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาและนำใช้กับผู้บริโภคใน 4 ประเทศ คือ
โดยหลังจากที่ไปหาดีลที่น่าสนใจได้แล้วนั้น Kvision จะศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าไปลงทุน ทั้งในรูปแบบการเข้าไปถือหุ้นโดยตรง และในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาก็มีข่าวสะเทืยนวงการเมื่อ LINE ผู้นำด้านโมบายแพลตฟอร์มที่เรารู้จักกันดี ประกาศร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย (ผ่านบริษัท กสิกร วิชั่น หรือ KVision นี้เอง) ตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ กสิกร ไลน์ ขึ้นมา เน้นการให้บริการด้านสินเชื่อ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร : ยาญชัย ตันติรัฐพงศ์
ธนาคารที่ได้ขึ้นชื่อว่า มีสินทรัพย์มากที่สุดของไทย มีการจัดตั้ง Corporate Venture Capital และโครงการที่สนับสนุน FinTech ดังต่อไปนี้
เป็น Corporate Venture Capital (CVC) ของทางธนาคาร โดยให้การสนับสนุน 3 ธีมได้แก่ กิจการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) , ธุรกิจท่องเที่ยว (Tourism) ซึ่ง 2 ธุรกิจนี้เป็นไปตามแนวโน้มสภาวะการเติบโตของประเทศไทย และสุดท้ายคือ การเงินหรือ FinTech ที่เน้นรายที่สามารถทำงานร่วมกันเพื่อเสริมทัพ ต่อยอดส่วนธุรกิจหลักของทางธนาคารได้ นอกจากนี้ทาง Bualuang Ventures ยังเปิดเผยว่ากองทุนยังสนับสนุนธุรกิจ SMEs ที่มีโอกาสเติบโตด้วยเช่นกัน โดยเงินทุนที่ตั้งไว้ต่อปีอยู่ที่ 500 ล้านบาทต่อปี (ประมาณ 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
เป็นโครงการที่จับมือร่วมกับ Nest ซึ่งเป็น Corporate Accelerator ในฮ่องกง โดย Accelerator นี้จะแตกต่างกับโครงการอื่นๆ ในไทยคือ เปิดรับ Startup จากทั่วโลก และเน้นด้าน FinTech โดยตรง โดยใน Batch แรกปี 2017 มี Startup ที่ผ่านเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 8 ทีม โดยมี FinTech Startup ไทยที่ได้รับคัดเลือกคือ Stock Radars โดยปัจจุบัน Stock Radars ได้ร่วมมือกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด ในรูปแบบของการเป็น Partnership ส่วนปี 2018 นั้นได้เปิดรับ Startup เข้ามาอีก 8 ทีม ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Startup ที่มีเทคโนโลยีเชิงลึก อาทิ AI จากต่างประเทศ
นอกจากนี้ทางธนาคารกรุงเทพถือเป็นธนาคารแรกของไทยที่เข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ R3 ตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาแพลตฟอร์ม Distributed Ledger Technology ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่ทาง ธปท. สร้างความร่วมมือในโครงการอินทนนท์นั่นเอง)
ถือเป็นบริษัทลูกของยักษ์ใหญ่อย่าง Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) จากญี่ปุ่น เป็นอีกหนึ่งธนาคารที่มีความเคลื่อนไหวในโลก Startup มาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน และจับมือร่วมกับ IBM ในโครงการ Blockchain
ประธานกรรมการ : ฐากร ปิยะพันธ์
Krungsri Finnovate คือ Corporate Venture Capital (CVC) ของทางธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเน้นลงทุนในธุรกิจนวัตกรรมในไทยและแถบอาเซียนดังต่อไปนี้ AI, Big Data, Blockchain, Smart API, Super Mobile app, Biometric, Digital Lending Platform, Insurance Tech, Robo-Advisor โดยมีเงินลงทุนสนับสนุนอยู่ที่ 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปัจจุบันมีประธานกรรมการ คือ คุณฐากร ปิยะพันธ์
ปัจจุบันมีการลงทุนในกองทุนได้แก่
ลงทุนในธุรกิจ Startup ไทยตรง ได้แก่
นอกจากนี้ใน Krungsri Finnovate ยังมีโครงการสนับสนุน Startup อีก 2 โครงการได้แก่
เคยมีคนกล่าวว่า จริงๆ แล้ว ธนาคารเอง ก็ไม่ได้เกรงกลัวธนาคารกันเองเท่าไหร่ เรียกว่าสู้รบปรบมือกันมานาน พอจะดูเกมกันออกอยู่แล้ว และก็ไม่ได้เกรงกลัว FinTech Startup ที่มาจากตลาดไทยมากนัก (แม้ปรากฏการณ์ของ Unbundling of a Bank ที่บริการต่างๆ ของ Bank จะถูกแย่งชิงออกเป็นเสี่ยงๆ แต่สำหรับตลาดไทยอาจไม่ได้เหมือนตลาดโลกตะวันตกขนาดนั้น) แต่รายที่น่ากลัวที่สุดในเวลานี้คือ กลุ่มผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ และเทคโนโลยีเชิงลึกพร้อม consumer behavior ขนาดมหาศาล ต่างหาก วันดีคืนดีก็มาบรรจบเป็นคู่แข่ง ที่มาจากภาคธุรกิจอื่น ไม่ต้องหันมองไปไหนไกล ยักษ์ใหญ่จากจีนนี่แหล่ะ รวมถึง Super App ทั้งหลายที่มาจากโลกอินเทอร์เน็ต
และทั้งหมดนี้เป็นเพียงภาพรวมความเคลื่อนไหวของแต่ละธนาคารในการเตรียมรับมือ (ข้อมูลล่าสุดถึงเดือน สิงหาคม 2018) ส่วนอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อนั้นต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดของแต่ละดีลสามารถคลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่ลิงค์ที่แนบไว้ในเนื้อหาแต่ละช่วงได้เลย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด