5 สิ่งควรรู้กับตลาดจีนก่อนมุ่งสู่ปี 2025 | Techsauce

5 สิ่งควรรู้กับตลาดจีนก่อนมุ่งสู่ปี 2025

เซี่ยงไฮ้มหานครใหญ่ของประเทศจีนที่นอกจากเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการเงินแล้ว ถ้าใครได้มีโอกาสไปดูบ้านเมืองและการเติบโตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาหลายคนน่าจะตกใจถึงการเปลี่ยนแปลงไม่น้อย โดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาผสมผสานจนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่นี่เปลี่ยนไป และครั้งล่าสุดต้องขอขอบคุณทีมงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ให้โอกาสได้ไปชมงานตามที่ต่างๆ ในช่วงทริปการเปิดตัวสาขาใหม่ที่เซี่ยงไฮ้ และมีจุดสังเกตที่น่าสนใจมาสรุปในการเดินทางรอบนี้


Cashless Society จาก data สู่ Consumer Insight

บ้านเราพูดกันถึงเรื่อง data เรื่อง AI กัน แต่รายที่ทำจริง นำ data มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์จริงๆ น่าจะนับหัวได้ สำหรับที่จีนแล้วทุก touch point ของผู้ใช้ถูกจัดเก็บเป็น data อย่างจริงจัง เพื่อเอาไปใช้งาน บ้านเราเริ่มคุ้นเคยกับป้ายรับชำระเงินผ่าน Alipay WeChat Pay ในร้านค้าต่างๆ ที่มีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามา ส่วนที่ประเทศจีนใครๆ ต่างก็รู้กันว่าสังคมแห่ง Cashless Socieity ของคนจีนที่นั่นไปไกลมากแล้วจริงๆ จาก Network effect ของบริการที่ถูกผลักดันมาจาก Lifestyle เป็นหลักยากเกินกว่าผู้เล่นรายอื่นจะต้านทานได้ อย่าง WeChat Pay ก็ถูกผลักดันมาจาก WeChat แอปฯส่วน Alipay ก็ถูกผลักดันมาจากตัว Alibaba ecommerce แรงเหวี่ยงของผู้ใช้ที่เยอะมาก ย่อมทำให้ฟาก merchant ร้านค้าก็ต้องรองรับการชำระเงินช่องทางนี้โดยปริยาย

ภาพจาก Blog HQ Wharton FinTech Han 

สิ่งที่จะบอกคือ เมื่อทุกอย่างขึ้นไปสู่โลกดิจิทัล ข้อมูลก็จะถูกจัดเก็บได้หมดและติดตามได้ รู้หมดว่าซื้ออะไร ที่ไหน เวลาไหน แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks ในจีนก็ต้องรับชำระเงินผ่าน Alipay ตั้งแต่ปีที่แล้ว เรื่องการรู้พฤติกรรมการใช้เงินก็ส่วนหนึ่ง แต่ Insight ที่ลึกกว่านั้น Tech Firm หลายรายยังเอาไปต่อยอดอย่างการปล่อยกู้, การเสนอผลิตภัณฑ์ทางด้านการเงินต่อแบบครบวงจร รวมถึงประกัน เป็นต้น และสิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ การเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นไม่ใช่แค่ในจีน แต่เจาะทะลุมาถึงบ้านของพวกเราแล้ว ในขณะที่พวกเราส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว...

ภาพจาก Blog HQ Wharton FinTech Han 

ผู้เล่นด้าน FinTech ของจีนเยอะแค่ไหนนั้นเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แค่ดูภาพนี้ก็คงเข้าใจเลยทีเดียว

Source: Goldman Sachs

Online to Offline อนาคตแห่ง Super Market เกิดขึ้นที่จีนแล้ว

แม้ Cashierless stores ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกตะวันตกเพราะ Amazon Go เค้าก็มี แต่พี่จีนเค้าเพิ่มความสะดวกไปมากกว่านั้น คุณอาจเคยได้ยิน Super Market ที่ชื่อ Hema ซึ่งเป็นร้าน Super market ภายใต้เครือของ Alibaba ทุกอย่างชำระเงินด้วย Alipay จุดที่น่าสนใจคือ

  • เปิดให้คนสั่งซื้อสินค้าผ่านแอปฯ และจะมีเจ้าหน้าที่เดินไปหยิบสินค้าตามออร์เดอร์ที่ร้านโดยตรง และจัดส่งให้ภายใน 30 นาที
  • ถ้าอยากกินของสดที่อยู่ในร้านเช่นกุ้งตัวยักษ์ก็สามารถเลือกและส่งให้พ่อครัวทำได้เลย
  • สินค้าทุกอย่างในร้านตรวจสอบได้ว่าแหล่งที่มานั้นมาจากไหน ใครคือผู้ผลิต และอาจมีเรื่องของสารอาหารด้วย โดยการสแกนที่ Barcode อย่างในรูป เป็นตัวอย่างของทุเรียนที่ส่งมาจากประเทศไทยนั่นเอง แน่นอนว่าทุกการ Scan เค้าก็จะรู้เราสนใจสินค้าอะไรและแนะนำเมนูและสินค้าที่เกี่ยวข้องให้กับเราอีกทีหนึ่ง
  • ว่ากันว่าคนจีนให้ความสำคัญกับเรื่องของสดเป็นอย่างมาก ในตอนนี้สิ่งที่ Alibaba กำลังมุ่งปรับปรุงคือ การจัดการเรื่องระบบขนส่งให้ดียิ่งขึ้น ลองนึกภาพดูเช่น การขนส่งทุเรียนจากไทยมาที่จีนอย่างไรให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และยังคงความรู้สึกเหมือนกินที่บ้านเราเลย

  • Alibaba มีการใช้ Face Recognition การจดจำใบหน้า เพื่อใช้ในการชำระเงิน แบบไม่ต้องหยิบอะไรออกจากกระเป๋า แค่ Scan หน้ารู้ว่าเป็นใครก็ไปตัดเงินใน Alipay Account เลย แม้มันจะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ แต่นั่นก็หมายถึงพวกเขาเก็บข้อมูล data หน้าตา mapping กับข้อมูลพฤติกรรมของคุณอย่างข่าวที่เราเห็นกันเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว

คลื่นยักษ์บริษัทจีนกับการขยายสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เราจะไม่พูดถึงคลื่นยุคก่อนหน้าที่บุกเบิกมาก่อนอย่าง Huawei, ZTE, Haier แต่ปรากฏการณ์การขยายอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาของสาย Tech Company จากจีน ด้วยกลยุทธ์แบบทั้งมาเองการลงทุนและ Joint Venture อย่าง 

เรื่องราวเหล่านี้เราคงได้ยินกันเยอะแล้วในข่าวช่วงที่ผ่านมา ล่าสุดยังมีผู้เล่นอีกราย ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจการเงินอย่าง Lufax บริษัทในกลุ่มของ Ping An Insurance Group ก็กำลังขยับขยายหลังจากเดิมที่เป็น Peer to Peer Lending ซึ่งตอนนี้เริ่มเจอความท้าทายทั้ง Fraud ในประเทศจีนเอง และเป็นบริการที่มี Switching Cost ที่ต่ำ คือมีโอกาสที่ผู้กู้จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มได้ง่าย โดยเฉพาะในตลาดจีนที่มีผู้เล่นในสายนี้เป็นจำนวนมาก

ล่าสุด Lufax เริ่มปรับเปลี่ยนเป็น Wealth Management Platform และขยับขยายสู่ตลาดต่างประเทศ โดยเริ่มต้นที่สิงคโปร์ก่อน ให้ชาวจีนสามารถลงทุนในต่างแดนได้ โดยกลุ่มเป้าหมายคือนักลงทุนที่ลงทุนในระดับตั้งแต่ 5,000 ถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ Monetary Authority of Singapore หรือ MAS ให้สิทธิกับบริษัท FinTech จากจีน จุดที่น่าสนใจคือ การเปิดปัญชีต่างๆ นั้นเป็นการยืนยันตัวตนแบบ E-KYC ล้วนๆ โดยในส่วนเอกสารนำเอา Optical character recognition (OCR) มาใช้ในการเก็บข้อมูลเอกสารดังกล่าวส่วนการยืนยันตัวตนใช้ระบบ Facial Recognition จดจำใบหน้า

อย่างไรก็ตามมีข้อวิพากวิจารณ์ออกมาว่า การที่ MAS ประกาศสนับสนุนให้สิทธิดังกล่าว อาจจะดีในแง่สนับสนุนให้สิงคโปร์ขึ้นมาเป็น Global FinTech Hub แต่ในอีกมุมหนึ่งก็กลายเป็นต่างชาติก็ได้สิทธิโดยง่าย โดยบริการดังกล่าวอาจไม่ได้ช่วยสนับสนุนประชาชนของประเทศเท่าไหร่หนัก (สิทธินี้ยังไม่ได้เปิดให้ชาวสิงคโปร์ใช้ได้รวมถึง FinTech ในประเทศด้วย

Lufax มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ใจกลางกรุงเซี่ยงไฮ้ นอกจากส่วนออฟฟิสขนาดใหญ่แล้วยังมีห้อง monitoring room ที่สามารถคอยดูความเคลื่อนไหวของ ธุรกรรมทางการเงินต่างๆ บนแพลตฟอร์มของตนเองได้อย่างเรียลไทม์

Lufax เป็นเพียงแค่หนึ่งในตัวอย่างของบริษัทที่เราหยิบยกตัวอย่างขึ้นมา ว่ากำลังขยายสู่ต่างประเทศ และแผนออก IPO ที่ฮ่องกง แม้ Lufax จะยังอยู่เพียงแค่ FinTech area และยังไม่แตกสายมากเท่ากับผู้เล่นที่มาก่อนหน้านี้  แต่เชื่อว่าจะยังมีกองทัพบริษัทจีนอีกหลายรายที่เตรียมแผนดังกล่าวอยู่เช่นเดียวกันอย่างแน่นอน

เหล่าผู้พัฒนา EV กับความมุ่งหวังเป็น Tesla ของจีน

อย่าแปลกใจถ้าระหว่างเดินๆ อยู่แล้วคุณอาจจะไม่ได้ยินเสียงรถมอเตอร์ไซต์ที่กำลังวิ่งอยู่ด้านหลังเลย และอาจโดนชนเอาได้โดยไม่รู้ตัว เพราะรถมอเตอร์ไซต์ส่วนใหญ่ในเซี่ยงไฮ้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการใช้รถ EV สูงสุดประเทศหนึ่งของโลก จากการผลักดันและสนับสนุนอย่างจริงจังของภาคมรัฐ แบรนด์ชั้นนำในโลกตะวันตกก็เลือกจีนเป็นฐานการผลิตรถ EV ที่นั่น รวมถึงการเจรจาของ Tesla ที่จะเปิดโรงงานผลิตที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งจะถือเป็นโรงงานแรกที่อยู่นอกสหรัฐฯ กันเลยทีเดียว หรือ Daimler ยักษ์ใหญ่จากเยอรมันก็จับมือกับ BYD ยักษ์ใหญ่ของจีน

ในขณะที่รถ EV สำหรับตลาดทั่วไปนั้นมีหลายแบรนด์มาก ทั้งที่ออกแบบรูปลักษณ์เก๋ๆ เป็น City Car อย่าง E2 mini ของ Zhidou แต่รายที่ส่วนตัวเห็นแล้วน่าสนใจมากในทริปนี้ ไม่ใช่ผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ แต่เป็น NIO หนึ่งใน startup Unicorn ของจีน ก่อตั้งขึ้นโดย William Li ในปี 2014 และรับเงินทุนสนับสนุนจากยักษ์ใหญ่หลายราย อาทิ Tencent, Temasek, Baidu, Sequoia, Lenovo เป็นต้น

โดยครั้งแรกที่เราพบคือที่งาน Techcrunch Shanghai เมื่อปลายปีก่อน ความน่าสนใจของแบรนด์นี้คือการผลักดันแบรนด์ให้ดูอินเตอร์มาก ถ้าเข้าเว็บไซต์แทบดูไม่ออกเลยว่าเป็นแบรนด์จีน เน้นจับลูกค้ากลุ่มบน และให้ความรู้สึกว่าถ้าได้ขับแบรนด์นี้จะต้องดู cool เฉกเช่นเดียวกับที่ Tesla ทำอยู่

NIO มีสำนักงานนอกจากในจีนด้วยทั้งที่สหรัฐฯ และยุโรป โดยโชว์รูมใจกลางเมืองในเซี่ยงไฮ้ ถือเป็นโชว์รูมคอนเซ็ปคนรุ่นใหม่ มีทั้งร้านกาแฟ, working space, Lounge และสถานที่ให้ลูกค้ามาทำงานหรือจัดอีเวนท์ย่อยๆ ได้ เรียกว่าเปลี่ยนโฉมการ engage ของเหล่าบรรดาโชว์รูมกับลูกค้าไปไม่น้อย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์เป็นอย่างมาก

และในอนาคตกับรถต้นแบบอย่าง NIO EVE (พ้องเสียงได้พอดีมากรถขับเคลื่อนอัตโนมัติที่มาพร้อมการทำงานด้วย AI และ Personalize บริการต่างๆ ภายในรถให้กับคนขับโดยตรง

Made in China 2025

จากเดิมที่ต่างชาติสนใจประเทศจีนนั้น เพราะเห็นว่าเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่ (แม้แต่ Facebook ยังต้องพยายามอีกครั้งกับการตั้ง Innovation Hub ในจีนเพื่อพยายามเจาะตลาดนี้ให้ได้ แต่ล่าสุดก็โดนปฏิเสธออกไป) แต่วันนี้กลายเป็นประเทศที่น่าเกรงขามไม่ใช่เพียงเพราะมีอำนาจต่อรองสูง แต่ในช่วง 3-4 ปีหลังที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนแผ่ขยายไปทั่วโลก เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของพวกเขาอีกด้วย การต้านทานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เปรียบเสมือนเรือขวางลำในแม่น้ำที่เชี่ยวกราด แล้วเราจะอยู่กันอย่างไรได้บ้าง?

ด้วย Policy blueprint อย่าง "Made in China 2025" ที่จะสนับสนุนและอัพเกรด 10 ภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อาทิ Robotic, Semiconductor, Aviation และ Clean-Energy Car สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนย่อมต้องขับเคลื่อนด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ/ทักษะขั้นสูง และเทคโนโลยีที่พร้อมสรรพ  แม้โลกตะวันตกจะก้าวล้ำนำสมัยแค่ไหน แต่สำหรับจีนกับแผนการเตรียมความพร้อมขนาดนี้ ทำให้ประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วง 10 ปีหลังที่ผ่านมา จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อเราไม่สามารถขวางแม่น้ำที่เชี่ยวกราด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือหลายองค์กรต่างหันเข้าไปค้นหาบริษัทต่างๆ ในจีนเพื่อไปร่วมลงทุนและนำเทคโนโลยีของพวกเขามาหาทางใช้ต่อยอดของธุรกิจตัวเอง

สำหรับบทความเกี่ยวกับตลาดจีนยังไม่หมดเพียงเท่านี้รอติดตามตอนที่ 2 กันต่อ


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

20 อาชีพทางไกลที่เติบโตเร็วที่สุด คาดโตเกิน 17% ในปี 2025

จากผลสำรวจของ FlexJobs ในปี 2024 พบว่า 81% ของคนทำงานในสหรัฐฯ มองว่าการทำงานแบบรีโมทเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการหางานใหม่ แต่ที่น่าสนใจ คือมีคนจำนวนมากวางแผนที่จะลาออกในปีนี้ แต...

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...