Boreout ภัยเงียบในที่ทำงาน เมื่อความเบื่อทำให้หมดไฟ

Boreout ปัญหาใหม่ที่ไม่แพ้ Burnout ความเบื่อหน่ายที่ทำให้หมดไฟในการทำงาน

ถ้ารู้สึกหมดไฟ หรือเบื่อหน่ายกับงาน อาจไม่ใช่เพราะอาการ Burnout แต่เป็นเพราะ 'Boreout' ปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกับความเหนื่อยล้า แต่เกิดจาก 'ความเบื่อหน่าย' ที่สะสมจนกระทบต่อความสุขในการทำงาน

'Boreout' ความเบื่อที่กลายเป็นภัยเงียบในที่ทำงาน

Adam Grant นักจิตวิทยาองค์กรจาก Wharton อธิบายว่า Boreout คือภาวะที่คนทำงานรู้สึก 'เฉยชา' เพราะขาดความท้าทาย ไม่เห็นคุณค่าในสิ่งที่ทำ หรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลง โดยเฉพาะในยุคที่การทำงานแบบไฮบริดและรีโมตแพร่หลายมากขึ้น

Burnout คือการทำงานหนักจนหมดแรง แต่ Boreout คือทำงานไปวัน ๆ จนหมดใจ — Adam Grant

ข้อมูลจาก Gallup ในปี 2024 ระบุว่า 80% ของพนักงานในสหรัฐฯ ชอบการทำงานแบบไฮบริดหรือรีโมต แม้ว่าจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น แต่ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยคือ 'การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม' ซึ่งทำให้คนทำงานรู้สึกเหงาและเบื่อหน่ายมากขึ้น

อะไรเป็นสาเหตุของ Boreout?

มีหลายปัจจัยที่อาจทำให้คุณตกอยู่ในภาวะ Boreout เช่น:

  • ทำงานเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ไม่มีความท้าทาย
  • มองไม่เห็นโอกาสเติบโตในสายงาน
  • ไม่เข้าใจว่าหน้าที่ของตัวเองมีผลกระทบต่อองค์กรอย่างไร
  • ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบออนไลน์

หลายคนไม่ได้รู้สึกเหนื่อยล้า แต่พวกเขาแค่รู้สึกว่า 'สิ่งที่ทำมันไม่ช่วยเติมพลังให้ชีวิตเลย' จนทำให้พวกเขากลายเป็นเหมือนซอมบี้ที่ทำงานไปวัน ๆ — Adam Grant

วิธีเปลี่ยน 'Boreout' ให้เป็นความกระตือรือร้น

การรับมือกับ Boreout ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวพนักงานเพียงอย่างเดียว แต่องค์กรเองก็สามารถช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดึงดูดใจมากขึ้นได้

สำหรับผู้นำองค์กร:

  • ปรับแนวทางการประชุมออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องบังคับให้เปิดกล้องตลอดเวลา เพราะอาจทำให้พนักงานรู้สึกเหนื่อยล้า
  • สร้างโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสนทนาในแบบที่พวกเขาสบายใจ เช่น การพิมพ์ในแชตแทนการพูด

"คุณไม่จำเป็นต้องเห็นหน้าทุกคนในทุกการประชุม บางครั้งการปิดกล้องช่วยให้คนได้พัก และพวกเขาจะกลับมาโฟกัสกับงานได้ดีขึ้น" — Adam Grant

สำหรับพนักงาน:

  • ตั้งใจสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์แบบผิวเผิน
  • หาวิธีทำให้งานของตัวเองน่าสนใจขึ้น เช่น ตั้งเป้าหมายใหม่ หรือหาโครงการที่ท้าทายกว่าเดิม
  • เชื่อมโยงงานที่ทำกับคุณค่าของตัวเอง เพื่อให้รู้สึกว่าสิ่งที่ทำมีความหมายมากขึ้น

ลองค้นหาสิ่งที่คุณอบและเชื่อมโยงมันกับงานที่ทำ ไม่ว่าจะเป็นค่านิยมส่วนตัว หรือภารกิจขององค์กรที่คุณรู้สึกว่ามีความหมาย — Adam Grant

Boreout อาจเป็นภัยเงียบที่ทำให้คุณรู้สึกหมดพลังโดยไม่รู้ตัว แต่ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน การสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่า และการมองหาความหมายในงานที่ทำ คุณก็สามารถเปลี่ยนความเบื่อหน่ายให้เป็นแรงบันดาลใจได้อีกครั้ง

อ้างอิง: cnbc

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดคู่มือหลังเผชิญภัยพิบัติ ผู้นำควรดูแลทีมอย่างไร? เทคนิคจาก UN ที่ใช้ได้จริง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ผู้นำทีมจะต้องรับบทหนักในการขับเคลื่อนให้ทีมสามารถดำเนินงานต่อไป และในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนในทีมให้ผ่านช่วงวิกฤตไปได้ การจัดการในสถานการณ์เช่นนี้นอกจา...

Responsive image

5 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จจาก Andy Jassy CEO Amazon สร้างอนาคตเส้นทางอาชีพในแบบของตัวเอง

เปิดเคล็ดลับ 5 ข้อสู่ความสำเร็จในอาชีพของ Andy Jassy CEO ของAmazon จากเส้นทางที่เต็มไปด้วยบทเรียน ที่สอนให้เขาเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งและพร้อมที่จะปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อสร้างเส้นทา...

Responsive image

'เวลา' เป็นทรัพยากรที่มีค่า 9 แนวคิดเรื่องเวลาที่ผู้นำควรรู้

ผู้นำมักรู้ว่า 'เวลา' เป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ผู้นำไม่เพียงแค่บริหารตารางงานเก่ง แต่ยังมองเกมระยะยาวออก ไม่จมอยู่กับเรื่องเล็กน้อยจนเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ และในเมื่อทุกคนมีเ...