ถอดความคิดคนทำงาน ทำ(ใจ)อย่างไรเมื่อถูก Copy ไอเดีย | Techsauce

ถอดความคิดคนทำงาน ทำ(ใจ)อย่างไรเมื่อถูก Copy ไอเดีย

เคยไหมเมื่อเราทำโปรเจค แคมเปญ หรือขายสินค้าบางอย่างแล้วประสบความสำเร็จ ก็มักจะเกิดการถูก Copy ไอเดียไปทำตาม หรือเป็นแนวทางให้ทำคล้ายๆ กัน เรื่องนี้อาจไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะในโลกเทคโนโลยีก็มี Service ที่เหมือนและคล้ายออกมาให้เห็นเป็นเรื่องปกติ แม้บริษัทยักษ์ใหญ่ ก็ยังทำตามๆ กันให้เป็นเรื่องปกติ แต่ในฐานะคนทำงาน ที่บางครั้งถูก Copy ไป Paste แบบง่ายๆ ก็ทำให้อยากรู้วิธีคิด หรือวิธีทำใจของคนทำงานเหล่านี้ ว่าพวกเขาคิดกินอย่างไร? วันนี้ Techsauce ได้สัมภาษณ์คุณเอและคุณบี (นามสมมติ) กับวิธีทำใจเมื่อถูก Copy ไอเดีย หรือพวกเขามีวิธีจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?

ความคิดที่เหมือนกันย่อมเกิดขึ้นได้

คุณบีเป็น Startup ที่มี Product ในการช่วยสังคม ได้เล่าถึงการถูก Copy ไอเดียไปให้ฟังว่า “ปฏิเสธไม่ได้ว่า เวลาที่เราทำ Startup ความคิดที่เหมือนกันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ อย่างการทำ Startup เพราะเราต้องการแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่าในโลกนี้มีปัญหาที่คล้ายๆ กัน หรือเหมือนๆกัน ทำให้แนวความคิดการแก้ปัญหาอาจมีไอเดียที่เหมือนกันบ้าง ยกตัวอย่าง โมเดล Ride Sharing เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เราคงไม่มามองว่าใครเริ่มก่อน คดิก่อน แต่สุดท้ายแล้ว การทำให้ไอเดียนั้นเกิดได้จริง และวิธีการทำให้ Service ของคุณมีผู้ใช้งานจริงๆตางหาก นั่นคือสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ”

“ความคิดที่เหมือนกัน ไอเดียคล้ายกันเกิดได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จจากไอเดีย มันขึ้นกับจังหวะ โอกาสและการลงมือทำ”

ไอเดียที่ดี ก็อาจถูกนำมาต่อยอดสู่ไอเดียถัดๆ ไปได้

คุณเอเป็นนักการตลาด ที่ดูแลเรื่องการทำแคมเปญให้กับสินค้าของบริษัทได้เผยถึงการต่อยอดไอเดียว่า “จริงๆ เรื่องที่เจอบ่อยและเป็นปกติเลย คือการทำแคมเปญทางการตลาดให้กับ Product ของเรา ซึ่งถ้าว่ากันตามตรงก็อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องปกติ ที่จะมีการเห็นไอเดียที่ดี ตัวอย่างที่ดี ที่ถูกนำมาพัฒนาต่อยอด เราคงไม่บอกว่าเราไม่ดูตัวอย่างที่ดีจากที่อื่นเลย แต่เราเห็น เราเรียนรู้ แล้วพัฒนาต่อ ไม่ใช่เรื่องผิด ที่มองว่าไม่เหมาะสม คือการ Copy – Paste แบบตรงๆ มากกว่า”

เคยเจอเหตุการณ์ Copy – Paste แบบตรงๆ บ้างไหม รับมืออย่างไร?

คุณบี “ถ้าแบบตรงๆ ก็มีบางรายก็ลอกงานเราไปเลย แต่เนื่องจาก Product ของผมถูกคิดมาตั้งแต่ต้นน้ำว่า เราจะช่วยสังคม ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ผมไม่ใช้พลาสติกกับ Product ของผมเลย ดังนั้นเมื่อผมมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ว่า จะทำให้ทุกขั้นตอนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด และต้องไม่ทำร้ายโลกมากกว่าเดิม ทุกขั้นตอน ทุกวัสดุที่เลือกใช้ เกิดจากความใส่ใจ แต่ขณะเดียวกันคนที่พยายามทำตาม เขาไม่ได้มีแนวคิดนี้อยู่ในหัวใจ พอไอเดียที่ไม่ได้คิดเองและไม่ออกมาจากใจ ทำให้เค้า “มักง่าย” ใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก สุดท้ายแล้วผู้บริโภคจะเป็นคนตัดสินว่าจะเลือกสินค้าจากที่ไหน

“ผมเชื่อว่าไอเดียที่เราคิดเอง เรารู้เอง และเกิดขึ้นจากตัวเราเอง ไม่มีทำได้เหมือน ดังนั้นผมอาจรู้สึกเซ็งๆ บ้างเวลาถูก Copy เหมือนยุงกัดที่เราอาจมีเจ็บบ้าง รำคาญใจบ้าง แต่มันไม่ยั่งยืน”

คุณเอเล่าว่า "สิ่งที่เคยทำให้รู้สึกหงุดหงิดใจเล็กน้อย คือการตลาดที่ Copy กันอย่างตรงๆ ยกตัวอย่างการตั้งราคาขายสินค้า เราใช้ data และข้อมูลที่เรามีวิเคราะห์ในการตั้งราคา Product ของเรา ลูกค้าของเรา ซึ่งแน่นอนว่าข้อมูลพวกนี้มันค่อนข้างเฉพาะทาง พอเราได้ข้อมูลเราก็ทำแคมเปญตั้งราคา ที่เรารู้ว่าลูกค้าของเราจะจ่ายในทันที และเราก็ประสบความสำเร็จจากสิ่งที่เราวิเคราะห์ แต่หลังจากนั้นไม่นาน เราก็เริ่มเห็นคนอื่นทำราคาแบบเดียวกันเราบ้าง อันนี้เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่น่ารัก มันเหมือนกับว่า เค้า Copy แล้ว Paste ไปทันที โดยที่ไม่วิเคราะห์อะไรเลย ทีนี้พอทีมงานเห็น ก็มีคุยกันว่าเราต้องคิดวางแผนใหม่ว่าจะทำอย่างไรให้ถูก Copy ในลักษณะนี้อีก

ซึ่งพอเราตั้งสติดีและมาวิเคราะห์ตลาดอีกที ก็ทำให้เห็นว่า คนที่ Copy ไอเดียไปนั้น ไม่ใช่ว่า จะกด Paste แล้วได้ผลลัพธ์เหมือนกันทีเดียว เพราะการที่ Product มีส่วนคล้ายกัน แต่ฐานลูกค้าเราต่างกัน ก็ไม่ได้แปลว่าเรื่องนี้จะมากระทบกับยอดขายของเรา เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ใช่คู่แข่งทางตรง เราอาจจะแค่ดูๆ ไว้ ยังไม่ต้องรีบปรับแผนการตลาด แค่อาจจะวางทิศทางและแผนงานให้ชัด"

คำแนะนำสำหรับคนทำงานที่เป็นเจ้าของไอเดียมีอะไรบ้าง

คุณเอ “ให้ดูก่อนว่า คนที่ Copy จะสร้างผลกระทบอะไรต่อยอดขายของเราหรือไม่ ถ้าไม่ให้ดูอยู่ห่างๆ แต่ถ้าเป็นคู่แข่ง ก็ต้องค่อยๆ ปรับกลยุทธ์กันไป เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วในตลาดที่มีการแข่งขัน

"การที่เราเป็นผู้ริเริ่มสิ่งต่างๆ มันอาจบอกได้ว่า เพราะเราเป็นเจ้าตลาดอยู่ ดังนั้นต้องวางกลยุทธ์ให้เราเป็นผู้คุมเกมให้ได้ตลอด”

คุณบี “ผมคิดว่า ถ้าไอเดียนั้นมาจากเรา เราจะรู้ดีที่สุด ว่าเราวางไอเดียออกมาแบบนี้เพราะอะไร คู่แข่งที่ลอกงานไป ไม่ได้แปลว่าเขาจะเข้าใจ ดังนั้นต้องดึงจุดแข็งของเราให้มากที่สุด และมีจุดยืนที่ชัดเจน เพราะสิ่งนี้จะสร้างความแตกต่างให้กับเราอย่างยั่งยืน”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...