ประเทศไทยจะสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ได้อย่างไร ? คุยกับ ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ | Techsauce

ประเทศไทยจะสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ได้อย่างไร ? คุยกับ ศ. ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด ถือเป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ถึงความมั่นคงทางด้านการแพทย์ของไทย ซึ่งแน่นอนว่า จำเป็นต้องอาศัยการลงทุน เพื่อพัฒนานวัตกรรมเทคโนยีเข้ามาช่วยเสริมความแข็งแกร่งเป็นอย่างมาก ซึ่งประเทศไทยเองยังถือว่าเผชิญความท้าทายไม่น้อยเลยทีเดียว

Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ถึงมุมมอง และแนวทางการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้กับการแพทย์ของไทย 

ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ศักยภาพของประเทศไทย ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในทางการแพทย์อย่างไรบ้าง  ? 

เราได้เห็นบุคคาลากรทางการแพทย์ของไทยนั้นมีความสามารถและความเสียสละอย่างมากในการทุ่มเทให้กับหน้าที่รวมทั้งคนไทยทุกคนที่ยังช่วยเหลือกันและกัน แต่ในด้านของเทคโนโลยีทางการแพทย์ยังมีจุดบอดอยู่เต็มไปหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์  วัคซีนที่ยังไม่สามารถผลิตเองได้ ยาต้านไวรัสที่ต้องนำเข้า แม้กระทั่งหน้ากาก N95 ที่ใช้ในบุคคลากรทางการแพทย์ก็ไม่สามารถผลิตได้เอง  นั่นเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า  ประเทศไทยนั้นไม่มีความั่นคงทางด้านการแพทย์และสุขภาพเลย

ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นในเรื่องของ ยาต้านไวรัส COVID-19 ฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งต้องนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และ เครื่องช่วยหายใจอย่าง High Flow ที่ต้องนำเข้าจากทางสหรัฐฯ 

แต่อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องที่น่ายินดีคือประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาตรวจหาสายพันธุ์ของ COVID-19 สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้วซึ่งเป็นการร่วมมือกันของ รามาธิบดี มหาลัยมหิดล และ มหาลัย ลาดกระบังทำให้การตรวจหาเชื้อและแยกสายพันธุ์ทำได้ 30 วินาที ต่อ 1,000 เคสซึ่งแตกต่างจากตอนนี้ที่ไม่มีเทคโนโลยีนี้ที่ต้องใช้เวลา 2 ชั่วโมงต่อ 1 เคส ซึ่งการที่เราตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อได้นั้น ก็จะช่วยในเรื่องของการลดความสูญเสียและลดการแพร่เชื้อได้เพราะสามารถควบคุมได้ดีขึ้น 

ในมุมมองของ ศ. ดร.สุชัชวีร์ คิดว่าประเทศไทยจะสามารถสร้างเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เป็นรูปธรรมได้อย่างไรบ้าง?

ประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังมีการแยกสายเรียนระหว่างสายศิลป์คำนวณและสายวิทย์-คณิต เพราะในต่างประเทศไม่มีการแบ่งสายเหมือนกับประเทศไทย แต่การแบ่งสายเรียนนี้ทำให้เป็นการถึงศักยภาพของนักเรียนออกมาไม่ได้เต็มที่หรืออาจจะขาดไปด้วยซ้ำ เพราะ อย่างการแพทย์ นักศึกษาแพทย์ควรที่จะมีความชำนาญในการออกแบบและในด้านภาษา เพื่อการสื่อสารและประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆออกมา เพราะทุกวันนี้แพทย์ไทยมีความเก่งจริงแต่ยังขาดความสามารถที่กล่าวไปในการที่จะสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เป็นของประเทศไทยเอง 

ดังนั้นนี่คือจุดอ่อนของประเทศไทยเรา ซึ่งในปัจจุบันทางมหาลัยลาดกระบัง มีการเปิดหลักสูตรสำหรับ นักศึกษาแพทย์ ที่จะต้องเรียนในด้านวิศวะคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปด้วยเพื่อเพิ่มความสามารถของแพทย์ไทยในอนาคตที่ควรจะรู้เรื่องของเทคโนโลยีและสร้างขึ้นใช้ได้จริง เพื่อให้ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของโลก 

สจล. ได้มีการสร้างโรงพยาบาลขึ้นมาด้วย ปัจจุบันโครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้าง ?

สิ่งที่เราได้เห็น การเข้ารับรักษาจากโรงพยาบาลในประเทศไทย ที่ผู้คนที่ต้องการไปโรงพยาบาลต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อไปต่อคิวรับบัตรในการพบแพทย์แต่กระบวนการที่จะตรวจรักษานั้นมีความยาวนานเกินไป ซึ่งอันที่จริงแล้ว เราสามารถที่จะลดขั้นตอนเหล่านั้นได้ ด้วยการทำได้จากระยะไกล อย่างเช่น การเช็คอาการเบื้องอย่าง ความดัน น้ำตาลในเลือด และ ชีพจรต่าง ๆ ซึ่งการไปโรงพยาบาลก็จะจำเป็นน้อยลงในอนาคต 

ส่วนแผนของ มูลนิธิ โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารและ คณะแพทย์  ที่จะสร้างโรงพยาบาลที่มีเตียงรองรับผู้ป่วยแค่ 60 เตียงซึ่งแตกต่างโรงพยาบาลทั่วไปในประเทศที่มีเตียงถึง 2,000 เตียง และความตั้งใจของการสร้างโรงพยาบาลนี้คือการที่จะมี นวัตกรรมทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ที่ครบวงจรที่จะใช้ระบบการรักษาโดย Super AI แบบเต็มประสิทธิภาพแห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคและ จะใช้เทคโนโลยีทุกอย่างที่สามารถรีไซเคิลได้และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกด้าน เป้าหมายก็เพื่อคนไทยทุกคน

ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง และขอเชิญชวนทุก ๆ คนที่มีจิตศรัทธาในการเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ที่ต้องใช้เงินทุนในการสร้างกว่า 1 พันล้านบาทและจะเริ่มสร้างในเดือนกรกฎาคมของปีนี้ 

ในระยะยาว แนวโน้มทิศทางของ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ในประเทศไทยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ขนาดไหน ? 

ก่อนอื่นประเทศไทยนั้นต้องเริ่มจากการพึ่งพาประเทศต่าง ๆ เสียก่อน เพราะถ้าประเทศไทยยังต้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศอยู่ก็แปลว่าประเทศไทยของเรานั้นจะไม่สามารถยืนได้ด้วยตัวเองเลย 

และสำหรับการรักษาทางการแพทย์ในระยะไกล ประเทศไทยยังขาดสิ่งสำคัญ 2 สิ่งหลักๆนั้นก็คือ ซอฟต์แวร์ และระบบเซนเซอร์ ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมและความแม่นยำการใช้รักษาทางการแพทย์ 

ดังนั้นการแพทย์พัฒนาขึ้นไปผ่านการศึกษาโดยการเพิ่มหลักสูตร การเขียนโค้ดดิ้ง ซอฟต์แวร์ และระบบเซนเซอร์ เพื่อให้ประเทศไทยมีความสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาใช้เองได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องพึ่งรัฐบาลในก้าวแรกในการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่คนไทยสร้างขึ้นมาด้วยตัวคนไทยเอง ซึ่งถ้าไม่มีการสนับสนุน การพัฒนาหรือการที่จะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยนั้นก็จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก 

นอกจากนี้ภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญในการออกมาสนับสนุนเช่นกัน และสรุปได้ 3 ข้อหลักๆ คือ

 1. ประชาชนต้องมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยด้วยกันก่อน 

2. รัฐบาลต้องสนับสนุนเพื่อการต่อยอดต่อไปในอนาคต 

3. ความร่วมมือของระหว่างมหาลัยเอกชน เพราะ ประเทศไทยของเราไม่เป็นรองใครแต่ประเทศไทยยังขาดสิ่งเหล่านี้ซึ่งเราควรจะเริ่มแก้ไขตั้งแต่ตอนนี้ เพราะสิ่งนี้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน

ฝากข้อคิดและกำลังใจทิ้งท้ายให้กับคนไทย

ประเทศไทยจะต้องผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างแน่นอน และเมื่อผ่านไปแล้ว เราต้องเก่งขึ้น แข็งแรงขึ้น และ รู้จุดอ่อนตัวเองมากขึ้น เพราะ มีหลายประเทศนั้นที่เรียนรู้จากข้อผิดพลาดและกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง อย่างเช่น สหรัฐที่ ลุกขึ้นยืนได้อีกครั้งและสามารถผลิตวัตซีนส่งออกไปขายในหลายประเทศทั่วโลก และ อย่างจีนที่ตอนนี้เริ่มมีเทคโนโลยีใหม่ที่จะผลิตยาเป่าแทนการฉีดวัคซีนอีกด้วย

ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ประเทศที่รู้จักตัวเองนั้นพัฒนาไปได้แบบก้าวกระโดด เฉพาะฉะนั้นประเทศไทยต้องเรียนรู้จากความเจ็บครั้งนี้และนำความเจ็บนี้มาพัฒนาประเทศของเราและทะยานขึ้นไปเป็นประเทศที่พึ่งพาตัวเองได้อนาคต

รายละเอียดสำหรับช่องทางบริจาค สมทบทุนจัดสร้าง โรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร (KMCH) มีดังนี้ 

• กดบริจาค *948*1960*100# และโทร.ออก เพื่อบริจาค 100 บ.

• โอนเข้า บัญชี “มูลนิธิโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารฯ” ธนาคารกรุงไทย เลขที่ 693-0-32393-4 

• ซื้อเสื้อ “ให้เพื่อสร้าง” ในราคาตัวละ 299 บ.




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...