KKP Research เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม? แก้อย่างไร? | Techsauce

KKP Research เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม? แก้อย่างไร?

KKP Research เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย

KEY TAKEAWAYS

• KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร วิเคราะห์ภาพรวม ความเหลื่อมล้ำไทย (1) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทย ปรับตัวดีขึ้นแต่เกิดจากการรับเงินโอนจากภาครัฐและคนในครัวเรือน มิใช่จากผลิตภาพของแรงงานที่มากขึ้น (2) ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลกและ ยังคงเพิ่มขึ้นเร็ว (3) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้จากตัวเลข ทางการอาจต่ำกว่าความเป็นจริงจากข้อจ้ากัดด้านข้อมูล  (4) ในภาวะที่เศรษฐกิจไทยอัตราเติบโตลดลงเรื่อย ๆ พบว่า รายได้เติบโตเฉพาะในกลุ่มคนรวย 

• 4 เรื่องสำคัญที่อธิบายความเหลื่อมล้ำในอดีตและความท้า ทายในอนาคตของไทย คือ (1) ประชากรถึง 1 ใน 3 ท้างาน ในภาคเกษตรและเจอปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่้า  (2) ประชาชนได้รับโอกาสอย่างไม่เท่าเทียมตั งแต่การศึกษา  การทำงาน การทำธุรกิจ และสวัสดิการพื้นฐาน (3) โควิด-19 จะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลงเพราะกระทบกับกลุ่มคน เปราะบาง (4) ปัญหาสังคมสูงวัยจะมีความท้าทายเพิ่มขึ้นใน ครัวเรือนที่ยังมีสถานะทางการเงินไม่พร้อม 

• สถาบันการเมืองไม่เชื่อมโยงกับความรับผิด (Accountability)  เป็นปัจจัยที่ท้าให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำไม่ได้รับการแก้ไข  ส่งผลให้ประชาชนในประเทศมีอ้านาจทางการเมืองที่ไม่เท่า เทียมและนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจฉุดรั้งการ เติบโตระยะยาว 

• KKP Research ประเมินว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำสามารถ แก้ไขได้และหัวใจหลักอยู่ที่การแก้ไขกลไกในระบบเศรษฐกิจที่ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ (1) กลไก ทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม  (2) กลไกทางภาษีในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง  (3) กลไกสวัสดิการของรัฐ (4) กลไกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง (5) กลไกกระจายอำนาจการเมืองและการคลัง

เจาะลึกความเหลื่อมล้ำไทย แก้ได้ไหม แก้อย่างไร  

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร เผยว่าเมื่อต้นปี 2021 ที่ผ่านมา ธนาคารโลก (World bank) รายงานว่าการระบาดของ โควิด-19 ท่าให้ประเทศไทยมีผู้ที่เสี่ยงที่จะมีรายได้ต่่ากว่าเส้นความยากจน หรือระดับรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้ในชีวิตประจ่าวัน เพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านคน สะท้อนถึงความเปราะบางของครัวเรือนไทยต่อภาวะวิกฤตและมาตรการช่วยเหลือจากรัฐที่ยังไม่ เพียงพอ จากข้อมูลของ World Bank แม้ในระยะยาวระดับความยากจนในไทยจะลดลงค่อนข้างมาก คือจากระดับมากกว่า  65% ในปี 1988 มาอยู่ที่น้อยกว่า 10% ในปี 2018 แต่หากดูเฉพาะตัวเลขในช่วงสั น ๆ กลับพบว่าระหว่างปี 2015-2018 คนจน ในไทยเพิ่มขึ นจาก 7.2% เป็น 9.8% โดยเพิ่มขึ นจาก 4.85 ล้านคน เป็นมากกว่า 6.7 ล้านคน สะท้อนภาพว่าความส้าเร็จในการ ลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล ้าจากการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เริ่มถึงจุดที่จะไปต่อได้ยาก หรือ ถึงจุดที่จะเริ่มกลับกลายเป็นปัญหาขึ นมาอีกครั ง และเป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยต้องเร่งหาทางแก้ไขโดยเร็วก่อนที่จะสาย 

ในบทความที่ผ่าน ๆ มา KKP Research ได้วิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจที่มาจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่ เอื อต่อการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพในอนาคตพร้อมกับเสนอทางออกที่ควรเร่งผลักดันให้เกิดขึ น อีกโจทย์หนึ่งที่ส้าคัญไม่แพ้ กัน คือ จะสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive growth) ให้เกิดขึ นได้อย่างไร เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผลประโยชน์ ตกอยู่กับกลุ่มคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีฐานะและผู้ประกอบการรายใหญ่ คงจะไม่ใช่ทางเลือกที่คนในสังคมต้องการ 

KKP Research ประเมินว่าแม้ปัจจัยภายนอกจะส่งผลต่อความเหลื่อมล ้าในไทย แต่โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมที่มีต้นตอมา จากสถาบันทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและการเมืองที่ไม่เป็นธรรม เป็นบ่อเกิดส้าคัญของปัญหาความเหลื่อมล ้าที่ยังแก้ไขไม่ได้ และ ท้ายที่สุดจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยฉุดรั งการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจไทย 

ความเหลื่อมล้ำไทยรุนแรงแค่ไหน ?  

ภาพรวมความเหลื่อมล้่าไทยอยู่ในระดับค่อนข้างสูงในทั้งมิติของรายได้ และความมั่งคั่ง ค้าถามส้าคัญคือ ประเทศไทยอยู่จุด ไหนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก และพัฒนาการด้านความเหลื่อมล ้าของไทยเป็นอย่างไร 

(1) ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของไทยปรับตัวขึ้นแต่เกิดจากจากเหตุผลที่ไม่ยั่งยืน ในมุมมองระยะยาว ความเหลื่อมล้ำด้าน รายได้ของไทยมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นโดยสัดส่วนรายได้ของคนกลุ่ม 20% บนลดลงต่อเนื่อง และไม่ได้แย่มากเมื่อ เทียบกับหลายประเทศในโลก 

อย่างไรก็ตามงานวิจัยของ PIER ล่าสุดชี้ว่าความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ที่ปรับตัวดีขึ้น ไม่ได้เกิดจากความสามารถของแรงงาน แต่เป็นผลสำคัญมาจากเงินโอนจากทั้งนโยบายภาครัฐที่ให้กับกลุ่มคนสูงอายุ และจากคนที่เข้ามาท้างานในเมืองโอนเงินกลับไปในชนบทซึ่งไม่ยั่งยืนในภาวะที่ไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุและแรงงานกำลังลดลง ซึ่งหากไม่นับรวมเงินโอนความไม่เท่าเทียมในไทยจะแทบไม่ได้ปรับตัวดีขึ้นเลย สะท้อนว่าผลิตภาพการผลิตของกลุ่มคนรายได้น้อยไม่ได้ ปรับตัวดีขึ้น

(2) ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มสูงขึ้นเร็ว แม้ว่า ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้จะปรับตัวดีขึ้นบ้างแต่ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่ง หรือสินทรัพย์ที่คนแต่ละกลุ่มถือครอง (เช่น  เงินฝากธนาคาร หุ้น ที่ดิน) เป็นปัญหาที่รุนแรงมากในไทย Credit Suisse1 ประเมินว่า คนรวยที่สุด 10% ของไทยถือครอง สินทรัพย์มากถึงกว่า 77% ของคนทั้งประเทศ และคนรวยที่สุด 1% ของประเทศถือทรัพย์สินเฉลี่ยคนละ 33 ล้านบาท  

ต่างกันถึง 2500 เท่ากับค่าเฉลี่ยของคนกลุ่มที่จนสุด 20% แรกของประเทศ ในมิติเปรียบเทียบกับต่างประเทศ นอกจากเราจะเป็นประเทศที่สัดส่วนความมั่งคั่งของคน 1% สูงที่สุดในโลกแล้วตัวเลขดังกล่าวยังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดใน ระหว่างปี 2008-2018ซึ่งสาเหตุส้าคัญที่ท้าให้ความมั่งคั่งมีความถ่างกันมากกว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้เป็นเพราะ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับต่ำกว่าการเติบโตของตลาดหุ้นไทยตั้งแต่หลังวิกฤติปี 1997 เป็นต้นมา

(3) ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยในความเป็นจริง อาจสูงกว่าตัวเลขทางการตัวเลขความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของไทย มักอ้างอิงจากข้อมูลแบบสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งมีความครบถ้วนที่สุด อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในแบบสำรวจมีแนวโน้มเป็นกลุ่มคนรายได้น้อยเมื่อพิจารณารายได้ต่อคนต่อเดือนในปี 2017จะพบว่าเมื่อเรียงข้อมูลตามรายได้จากน้อยไปมากครัวเรือนในตำแหน่งที่ 90 (จากทั้งหมด 100 ตำแหน่ง) มีรายได้อยู่ในระดับเพียง 21,133 บาทหมายความว่าคนไทยอีกกว่า 90% มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่าระดับนี้ซึ่งถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ (รูปที่ 7)สะท้อนภาพชัดเจนว่ามีคนบางกลุ่มที่มีรายได้ในระดับสูงกว่านี้แต่ไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในการสำรวจทำให้ตัวเลขรายได้ของกลุ่มคนรายได้สูงในแบบสำรวจมีแนวโน้มต่ำกว่าความเป็นจริงและตัวเลขความเหลื่อมล้ำมีแนวโน้มต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

(4) เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาโตแบบไม่ทั่วถึง รวยกระจุกจนกระจายในมิติการเติบโตของรายได้ข้อมูลสะท้อนภาพชัดเจนว่ากลุ่มคนรายได้สูงมีรายได้ที่เติบโตสูงขึ้นเร็วกว่าคนรายได้น้อย ในขณะที่การบริโภคของคนรายได้น้อยต้องมาจากการก่อหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง เพราะครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้ภาระการจ่ายหนี้ต่อรายได้(Debt service ratio) ของกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยอยู่ในระดับสูงขึ้นอย่างน่ากังวลแม้ว่าข้อมูลนี้ส่วนหนึ่งอาจสะท้อนภาพว่าครัวเรือนระดับล่างของไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้นแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เร่งขึ้นเร็วในคนรายได้น้อยสะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำและความเปราะบางของครัวเรือนอย่างชัดเจน

เหตุใดไทยยังเหลื่อมล้ำสูง และอนาคตจะเป็นเช่นไร

ความเหลื่อมล้ำไทยถูกขับเคลื่อนจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยเฉพาะตัวงานศึกษาจำนวนมากพยายามประเมินว่าปัจจัยอธิบายความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ 

(1)ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ โลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 

(2)ปัจจัยภายในที่เกิดจากนโยบายในประเทศ ได้แก่ โครงสร้างเศรษฐกิจนโยบายเศรษฐกิจ นโยบายตลาดแรงงานและนโยบายภาษี KKP Researchประเมินว่าความเหลื่อมล้ำของไทยเป็นผลลัพธ์จากทั้งปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นทั่วโลกและปัจจัยเฉพาะเชิงนโยบายของไทยเองที่ไม่เอื้อต่อการเลื่อนสถานะทางสังคม มีรายละเอียดดังนี้

ข้อที่ 1 ความเหลื่อมล้ำลดลงแต่กลับเร่งขึ้นอีกจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

แม้ว่าความเหลื่อมล้ำไทยจะลดลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาจากเศรษฐกิจที่มีพัฒนาการตามลำดับ แต่ในปี 2015ภาพรวมความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยกลับแย่ลงอีกครั้งสาเหตุสำคัญเกิดจากคนไทยสัดส่วนกว่า 31% ทำงานอยู่ในภาคเกษตรในขณะที่ภาคเกษตรสร้างรายได้เพียง 7% ให้กับประเทศซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรายได้น้อยที่ถูกกระทบจากปัจจัยภายนอกในปี 2015 เป็นช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันตกต่ำทั่วโลกและดึงให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรตกต่ำลงไปด้วยและยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ดีในช่วงหลังจากนั้นผลกระทบที่สำคัญเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่มีรายได้น้อยอยู่แล้วยิ่งมีรายได้น้อยลงไปกว่าเดิมสะท้อนจากการชะลอตัวลงของรายได้ภาคเกษตร

งานวิจัยหลายชิ้นยังชี้ให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์ทั้งในแง่ของการค้าและการลงทุนประกอบกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ มีส่วนทำให้ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นจากการช่วยเร่งให้รายได้เฉพาะบางอุตสาหกรรมเติบโตขึ้นได้เร็วในกรณีของไทยโครงสร้างอุตสาหกรรมที่คนรายได้น้อยทำงานอยู่ในภาคเกษตรมากประกอบกับความจริงว่าภาคเกษตรไทยขาดการพัฒนาผลิตภาพการผลิตทำให้รายได้เพิ่มขึ้นน้อยทำให้เมื่อเปรียบเทียบแล้วการเติบโตของค่าแรงในภาพรวมอยู่ในระดับที่สูงกว่าภาคเกษตร

ข้อที่ 2 เกิดมาจนแต่สร้างตัวจนร่ำรวย เป็นไปได้จริงหรือไม่

ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในไทยจะถูกขับเคลื่อนบางส่วนจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ KKP Researchประเมินว่าไทยมีปัจจัยทางนโยบายซึ่งถูกกำหนดจากรัฐอีกหลายอย่างที่มีส่วนซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำแม้ว่ายังขาดข้อมูลที่จะประเมินภาพการเลื่อนสถานะทางสังคมอย่างแม่นยำแต่ข้อมูลแวดล้อมอื่น ๆก็สะท้อนภาพค่อนข้างชัดว่าประเทศไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างที่นำไปสู่ความไม่เท่าเทียมทางโอกาสในทุกช่วงวัยของคนในสังคมไทย ทั้งวัยเด็ก วัยทำงานและวัยชรา ดังนี้

(1)ไทยยังขาดการเข้าถึงปัจจัยโอกาสด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม ในช่วงชีวิตวัยเด็กและวัยเรียนคนรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้นอกเหนือจากประเด็นด้านคุณภาพการศึกษาที่เราทราบกันดีว่าไทยอยู่ในระดับค่อนข้างแย่การเข้าถึงการศึกษายังมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่สูงซึ่งเกิดขึ้นทั้งในมิติของความครอบคลุมทางการศึกษาที่คนรายได้น้อยยังมีสัดส่วนการจบการศึกษาระดับสูงที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆแม้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐด้านการศึกษาของไทยจะอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับหลายประเทศพัฒนาแล้วซึ่งสะท้อนว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่งบที่น้อยเกินไปแต่เป็นการไม่ได้ถูกนำไปใช้แก้ไขปัญหาการศึกษาอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกันกับตัวเลขคะแนนสอบ O-net ในแต่ละกลุ่มโรงเรียนที่สะท้อนภาพความเหลื่อมล้ำในมิติของคุณภาพการศึกษา

ความเหลื่อมล้ำเชิงคุณภาพจะยิ่งส่งเสริมให้ครัวเรือนรายได้สูงสามารถส่งลูกหลานไปเรียนพิเศษและสามารถเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้จึงทำให้แม้คนจะได้รับการศึกษาในระดับเดียวกันแต่คนที่เกิดมาในครอบครัวที่รวยกว่าจะมีแนวโน้มได้งานที่ดีกว่าและรายได้สูงกว่าตามไปด้วยปัญหาการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกันในลักษณะนี้จึงเป็นหนึ่งในต้นตอของความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของไทยที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

(2) แรงงานไม่มีอำนาจต่อรอง ธุรกิจรายเล็กแข่งขันยากในชีวิตวัยทำงานหลังจากเรียนจบหากคนหนึ่งคนเลือกเข้าไปทำงานรับค่าแรงจะเติบโตได้ช้ามาก ตั้งแต่หลังปี 2015เป็นต้นมาที่เศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอตัวลงส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานแทบไม่เติบโตขึ้นเลยและอยู่ในระดับต่ำกว่าการเติบโตของ GDPซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มทุนและไม่ส่งผ่านมาถึงแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยยังขาดกฎหมายที่กำกับการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นระบบ ทำให้ธุรกิจหลายแห่งสามารถเพิ่มกำไรผ่านการผูกขาดในขณะที่แรงงานมีอำนาจต่อรองที่ลดลงที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือเรายังขาดกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสมและขาดนโยบายช่วยเหลือและสร้างโอกาสให้กับคนรายได้น้อยอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้สำหรับคนทำงาน คือการเลือกที่จะออกไปประกอบธุรกิจงานวิจัยของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์ ให้ข้อมูลว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 5%มีสัดส่วนกำไรกว่าถึง 60%ของรายรับทั้งหมดซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำในมิติของธุรกิจที่น่ากังวลมากเช่นกัน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาถึงธุรกิจรายเล็ก ๆ ให้ไม่สามารถแข่งขันได้เต็มที่

ยิ่งไปกว่านั้นการเข้าถึงบริการทางการเงินของไทยยังไม่ทั่วถึงโดยบริษัทรายใหญ่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากกว่าและหลากหลายช่องทางกว่าซึ่งสะท้อนภาพชัดเจนขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19

(3) ขาดระบบสวัสดิการและกลไกลดความเหลื่อมล้ำ การใช้ชีวิตในช่วงวัยเกษียณไทยยังขาดสวัสดิการจากรัฐที่เพียงพอเพื่อ คุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลายชีวิตแม้ด้านสาธารณสุขที่ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบรองรับที่ดีมากซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนรายได้น้อยและคนชราแต่เรายังขาดนโยบายสวัสดิการอื่น ๆโดยเฉพาะการกระจายรายได้ผ่านการเก็บภาษีคนรวยและช่วยเหลือคนจน(Redistributive Policy) อย่างเป็นรูปธรรมโดยแม้อัตราภาษีไทยจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงแต่ผลต่อการนำไปใช้เพื่อลดความไม่เท่าเทียมทางรายได้ยังต่ำ 

ทั้งที่การให้โอกาสผ่านการสนับสนุนเงินเป็นสิ่งจำเป็นและจะเป็นการช่วยให้ครัวเรือนเข้าถึงปัจจัยการดำรงชีวิตพื้นฐานได้ดีขึ้นและสามารถพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มโอกาสในการหลุดออกจากความยากจนอย่างยั่งยืนได้

ข้อที่ 3 โควิด-19 ทำให้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำแย่ลง

จากปี 2015 ที่เราเจอปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำวิกฤตโควิด-19จะเป็นอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทยรุนแรงมากขึ้นทั้งในมิติระยะสั้นและระยะยาว จากเหตุผลดังต่อไปนี้

(1) โควิด-19กระทบรายได้ของกลุ่มฐานของปิรามิดรุนแรงกว่ากลุ่มบนกลุ่มแรงงานรายได้น้อย ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง อาชีพรับจ้างทั่วไปค้าขายหาบเร่แผงลอยล้วนเป็นกลุ่มเปราะบางที่มักได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์โควิด-19มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เพราะส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ไม่สามารถ work from home ได้ปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงานได้ยาก จึงมีโอกาสที่จะตกงาน ถูกให้พักงานสูญเสียรายได้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ

อีกทั้งแรงงานรายได้น้อยยังมักไม่มีเงินเก็บออมมากพอและไม่มีสินทรัพย์อื่น ๆที่สามารถสร้างรายได้ทดแทนได้นอกจากนี้ มาตรการของทางการไม่ว่าจะเป็นการสั่งให้ปิดสถานที่ต่าง ๆกลับไม่มีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ส่งผลต่อผู้ประกอบการรายเล็กที่มีสายป่านสั้นมากกว่ารายใหญ่อาจถึงขั้นต้องเลิกกิจการและปลดพนักงานสร้างความเสียหายถาวรต่อธุรกิจและชีวิตคนจำนวนมาก

(2) แรงงานนอกระบบมีจำนวนมาก ขาดรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็งพอระบบคุ้มครองทางสังคมของไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบในระดับสากลโดยรัฐบาลไทยใช้เงินในเรื่องการคุ้มครองทางสังคมคิดเป็น 3.7% ของ GDPต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค เช่น เวียดนาม 6.3% ไต้หวัน 9.7% เกาหลีใต้10.1% ญี่ปุ่น 23.1%ส่วนหนึ่งมาจากการที่แรงงานไทยอยู่นอกระบบประกันสังคมในสัดส่วนที่สูง (54%ของแรงงานทั้งหมด)  โดยเฉพาะการจ้างงานในภาคการค้า การโรงแรมและภาคบริการต่าง ๆ ซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงจากโควิด-19 อยู่แล้วการขาดโครงข่ายคุ้มครองทางสังคม (social safety net)ในกรณีว่างงานหรือสูญเสียรายได้ ยิ่งทำให้มีความเสี่ยงที่โควิด-19จะส่งผลต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของแรงงานกลุ่มนี้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ

(3) ความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีที่ถูกเร่งจากโควิด-19ยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำทางรายได้และโอกาส โควิด-19ทำให้โลกแห่งอนาคตมาถึงเร็วขึ้นความเสี่ยงจากโรคระบาดทำให้ธุรกิจเร่งปรับตัวไปใช้เครื่องจักรและ automationแทนแรงงาน ผู้ประกอบการบางส่วนปรับตัวไปทำธุรกิจออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ มากขึ้น ภายใต้เทรนด์การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีนี้ความไม่เท่าเทียมกันด้านดิจิทัล (digital divide)ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารดิจิทัล คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ที่แตกต่างกันยิ่งทำให้กลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงและขาดทักษะทางดิจิทัล ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นครัวเรือนรายได้น้อยยิ่งถูกทิ้งห่างออกไปทั้งในด้านโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้และโอกาสในการเรียนรู้และแข่งขันผลกระทบอาจไม่ได้ตกอยู่แค่กลุ่มคนวัยทำงานในตอนนี้เท่านั้นแต่ยังรวมถึงเด็กวัยเรียนที่ปัญหา digital divide ในด้านการเรียนการสอนยุคโควิด-19จะยิ่งส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษาเป็นปัญหารุนแรงขึ้น

ข้อที่ 4 การเข้าสู่สังคมสูงอายุจะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำแย่ลง

KKP Researchเคยประเมินผลกระทบจากการก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุต่อเศรษฐกิจไทยปัญหาแก่ก่อนรวยมีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้นรุนแรงกว่าในกลุ่มคนจนเนื่องจากกลุ่มคนจนมีรายได้ที่ต่ำ การสะสมความมั่งคั่งที่ต่ำและปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงเมื่อคนกลุ่มนี้เข้าสู่วัยชราในภาวะที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อมทางด้านการเงินที่เพียงพอจะยิ่งทำให้มีโอกาสในการพัฒนาตัวเองที่ลดลงและอาจเป็นตัวเร่งให้ความเหลื่อมล้ำสูงขึ้นในอนาคตได้ นอกจากนี้ข้อมูลโครงสร้างอายุของหัวหน้าครัวเรือนในกลุ่มคนรายได้ต่ำสุด 20%แรกของประเทศยังสะท้อนว่าครัวเรือนรายได้น้อยมีโอกาสเจอปัญหาจากสังคมสูงวัยรุนแรง เพราะหัวหน้าครัวเรือนของครัวเรือนรายได้น้อยอยู่ในกลุ่มคนอายุมากกว่า65 ปีและอายุระหว่าง 50-64 ปีในสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ

การเมือง หนึ่งในรากลึกปัญหาความเหลื่อมล้ำ

การขาดกลไกที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำเป็นหนึ่งในผลพวงที่เกิดจากสถาบันการเมืองที่มีลักษณะไม่เชื่อมโยงกับความรับผิดต่อส่วนรวม (Accountability)แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ถูกนำเสนอโดย Daron Acemoglu นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังซึ่งเสนอว่าในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ที่ทุกคนมีอำนาจทางการเมืองเท่าเทียมกันการกำหนดนโยบายของภาครัฐจะเอื้อต่อการกระจายรายได้ให้กับคนทุกกลุ่มในสังคมมากกว่า และสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง (Inclusive growth) เนื่องจากประชาชนมีอำนาจในการออกเสียงเลือกตั้งและแสดงความคิดเห็นมีการตรวจสอบถ่วงดุลในการทำงานของภาครัฐอย่างอิสระและเป็นระบบและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องซึ่งทั้งหมดนี้จะสร้างแรงกดดันให้รัฐต้องพยายามผลักดันนโยบายที่กระจายผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นในกรณีของไทยจะพบว่าระบบการเมืองไทยมีการพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่น ๆและมีการเปลี่ยนกลับไปมาหลายครั้งแตกต่างจากประเทศ เช่นไต้หวันและเกาหลีที่มีการพัฒนาระบบการเมืองเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างชัดเจน ซึ่งพัฒนาการของสถาบันการเมืองที่ช้าและอ่อนคุณภาพของไทยเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่วัฏจักรของการกระจุกตัวของอำนาจทางการเมืองและความเหลื่อมล้ำ

รูปแบบนโยบายที่ไม่เป็นธรรม ยิ่งทำให้เหลื่อมล้ำ

ข้อมูลจาก World Competitiveness Report 2019แสดงให้เห็นผลลัพธ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากระบบการเมืองที่ขาดประสิทธิภาพของไทย 

(1) เสรีภาพของสื่อซึ่งเป็นตัวสะท้อนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการทำงานของรัฐที่ไทยอยู่ลำดับที่ 113 จาก 141ประเทศสะท้อนการจัดสรรอำนาจทางการเมืองที่ไม่เท่าเทียม และส่งผลไปถึง 

(2)ด้านความปลอดภัยของประชาชนและการคอร์รัปชั่นได้คะแนนที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากรัฐไม่มีความจำเป็นต้องปกป้องประชาชนที่ไม่มีอำนาจการเมืองจากความหละหลวมในการบังคับใช้กฎหมายและการขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลนำไปสู่นโยบายที่ไม่เป็นธรรม และ 

(3)การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ดีนัก และ (4)กฎหมายกำกับการแข่งขันที่ไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่เอื้อให้เกิดการผูกขาดโดยธุรกิจบางกลุ่ม ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในไทยแย่ลง

ความเหลื่อมล้ำสูงฉุดการเติบโต

ปัญหาความเหลื่อมล้ำสูงจะสร้างวงจรอุบาทว์ที่ทำให้เศรษฐกิจโตต่ำต่อเนื่องนอกเหนือไปจากปัจจัยเชิงโครงสร้างหลายอย่างที่เป็นความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมสูงวัย อุตสาหกรรมไทยยังอยู่ในรูปแบบเก่าการพึ่งพาอุปสงค์ภายนอกประเทศในยุคทีโลกาภิวัตน์เริ่มอิ่มตัวความเหลื่อมล้ำยังจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไทยไม่หลุดออกไปจากการอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง (Middle income trap) จาก

 (1) ความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งนำไปสู่ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายและลดความเชื่อมั่นในแง่ของการลงทุนของทั้งบริษัทไทยและต่างชาติลงในระยะยาวและ

 (2) การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะคนที่มีความสามารถไม่สามารถก้าวขึ้นมาทำประโยชน์ต่อการเติบโตของประเทศได้อย่างเต็มที่

ถึงเวลาแก้ไขความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นระบบ

เมื่อนำภาพทั้งหมดมาประกอบกันจะเห็น”เบื้องหลังกลไกความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย”ซึ่งดูเหมือนกลายเป็นวงจรไม่รู้จบหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมจากภาครัฐและยิ่งต้องเผชิญความท้าทายนี้แบบรุนแรงขึ้นอีกในยุคหลังจากนี้ไป 

แม้สังคมที่เท่าเทียมกันทุกคนอาจฟังดูเป็นอุดมคติที่เป็นไปไม่ได้เพราะความเหลื่อมล้ำย่อมเกิดขึ้นจากความสามารถและความพยายามที่แตกต่างกันของแต่ละคนด้วยแต่จากข้อมูลสะท้อนให้เห็นว่ารัฐไทยยังสามารถช่วยเหลือเพิ่มเติมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำได้ โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากโอกาสที่ไม่เท่าเทียมซึ่งควรถูกเร่งแก้ไขโดยเร็ว

KKP Researchประเมินว่าหัวใจหลักของการแก้ปัญหานี้อยู่ที่การแก้ไขกลไกในระบบเศรษฐกิจที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะในด้านโอกาสซึ่งจากหลักฐานความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นและแนวโน้มที่กำลังแย่ลงจากเหตุการณ์โควิด-19 ชัดเจนว่ากลไกลดความเหลื่อมล้ำในระบบเศรษฐกิจไม่ทำงานจึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องหันกลับมาทบทวนและออกแบบกลไกทางเศรษฐกิจและสังคมใหม่เพื่อแก้ไขกลไกที่ยังบกพร่องในแต่ละมิติกลไกลดความเหลื่อมล้ำที่สำคัญ สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ

 (1) กลไกทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม สร้างเวทีที่เปิดโอกาสให้ทุกคนแข่งขันบนความเท่าเทียมปฏิรูปกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ที่เอื้อให้บางกลุ่มได้ประโยชน์จากระบบผูกขาดอันจะนำไปสู่การกระจุกตัวของทรัพยากรทางเศรษฐกิจ

(2)กลไกทางภาษีในการกระจายรายได้และความมั่งคั่ง โดยใช้ระบบภาษีรายได้ในอัตราก้าวหน้า และภาษีที่เก็บบนฐานของทรัพย์สิน เช่นภาษีที่ดิน รายได้จากทรัพย์สินและมรดก 

(3) กลไกสวัสดิการของรัฐ ที่ทำให้คนเข้าถึงการศึกษา บริการทางสาธารณสุข สินเชื่อที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น รวมทั้งการมีโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (socialsafety net)ที่เข้มแข็งเพื่อประกันคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีในทุกช่วงเวลาของชีวิต

(4) กลไกบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งทางตรงและคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในด้านการเข้าถึงอำนาจทางการเมืองซึ่งเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม 

 (5)กลไกกระจายอำนาจทางการเมืองและการคลัง โดยมีการจัดสรรทั้งอำนาจทางการเมืองและอำนาจทางการคลังไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความครอบคลุมของการกระจายรายได้สู่ทุกพื้นที่ในประเทศในทางเศรษฐศาสตร์เครื่องมือทางนโยบายในการสร้างกลไกลดความเหลื่อมล้ำที่ใช้กันอยู่ในต่างประเทศนั้นมีอยู่หลากหลายให้สามารถพิจารณานำมาใช้ตามความเหมาะสมในบริบทของแต่ละประเทศ





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บทเรียนความสำเร็จจาก มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก 20 ปีที่ Meta ผ่านมุมมองผู้บริหารคนสนิท

Naomi Gleit ผู้บริหารระดับสูงของ Meta และพนักงานรุ่นบุกเบิกของบริษัท ได้มาเปิดเผยประสบการณ์การทำงานกับ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของ Meta ที่ยาวนานเกือบ 20 ปีในพอดแคสต์ชื่อดัง "Le...

Responsive image

วัยเด็ก ‘Sundar Pichai’ การเติบโตและแรงบันดาลใจจากเด็กธรรมดา สู่ซีอีโอ Google

ค้นพบแรงบันดาลใจจากเรื่องราววัยเด็กของ Sundar Pichai เด็กชายจากเจนไนผู้ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่การเป็นซีอีโอของ Google ด้วยพลังแห่งการเรียนรู้และเทคโนโลยี...

Responsive image

จดหมายจากปี 1974 ข้อคิดการเลี้ยงลูกจาก LEGO

LEGO ยืนยันว่าจดหมายฉบับนี้เป็นของจริง เนื้อหาในจดหมายเน้นย้ำว่า "เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย”...