KKP Research ปรับลดประมาณการณ์ GDP ไทยปี 2564 เหลือ 2% จากเดิม 3.5% รับผลกระทบโควิดระลอกใหม่ | Techsauce

KKP Research ปรับลดประมาณการณ์ GDP ไทยปี 2564 เหลือ 2% จากเดิม 3.5% รับผลกระทบโควิดระลอกใหม่

Key takeaways:

  • KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตของ GDP สำหรับปี 2021 ลงจาก 3.5% เป็น 2.0% จากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศที่นำไปสู่การปิดเมืองบางส่วน
  • ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2021 ปรับลดลงจาก 6.4 เป็น 2 ล้านคน ในกรณีเลวร้ายคาดว่าจะไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เลยทั้งปี
  • ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามคือ (1) การลุกลามของการติดเชื้อภายในประเทศ (2) ข้อจำกัดด้านสาธารณสุขในการรองรับผู้ป่วย และ (3) ประสิทธิผลและความครอบคลุมในการแจกจ่ายวัคซีน

ประเทศไทยเปิดรับปีใหม่ 2021 ด้วยการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เริ่มมาจากการตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากที่ เกี่ยวโยงกับตลาดกลางกุ้ง มหาชัย จ. สมุทรสาคร ตั้งแต่ช่วง กลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่ประเทศไทยไม่พบการติด เชื้อในประเทศมายาวนานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่น่ากังวล คือ สถานการณ์การแพร่ระบาดในรอบนี้มีแนวโน้มจะกระจายไปเป็น วงกว้างและจะควบคุมได้ยาก จากการแพร่ระบาดในสถานที่สุ่ม เสี่ยง ทั้งตลาด สถานบันเทิง สถานที่เล่นการพนัน ที่ยากต่อการ ควบคุมและการติดตามผู้สัมผัสเชื้อ จากมาตรการของภาครัฐที่ เข้มข้นน้อยกว่าครั้งก่อน และจากพฤติกรรมของผู้คนเองที่มีการ เดินทางและพบปะกันมากขึ้นในช่วงเทศกาล จำนวนผู้ติดเชื้อใน ประเทศจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าการระบาดระลอกแรก (รูปที่ 1) 

และได้กระจายไปราว 60 จังหวัดทั่วประเทศ การระบาดระลอกใหม่นี้แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและธุรกิจต่าง ๆ ที่เพิ่งจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีที่ผ่านมาให้ กลับทรุดลง หรือยืดระยะเวลาการฟื้นตัวออกไปจากที่เคยคาดการณ์ไว้ พร้อมกับยังมีความไม่แน่นอนและปัจจัยเสี่ยงหลาย ประการที่ยังคงต้องติดตามในการประเมินผลกระทบจากการระบาดของโควิดรอบนี้

KKP Research ปรับลดการคาดการณ์ GDP เหลือ 2.0%

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับลดการคาดการณ์ อัตราการเติบโตของ GDP สำหรับปี 2021 ลงอีกครั้ง จากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ในประเทศ โดยมองว่าการระบาดรอบนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ (1) การประกาศปิดเมืองจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอลงกว่าที่เคยประเมินไว้ กระทบต่อ การลงทุน การจ้างงาน รายได้และการบริโภค (2) นักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะกลับมาได้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ปีนี้ มี แนวโน้มล่าช้าออกไปกว่าเดิม 

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับลดการคาดการณ์ GDP สำหรับปี 2021 ลงจาก 3.5% เหลือ 2.0% (รูปที่ 2) 

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าในกรณีเลวร้ายที่การแพร่ระบาดรุนแรงจนทำให้มาตรการปิดเมืองต้องมีความเข้มข้นขึ้น ทำให้ประเทศไทย ไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ GDP อาจหดตัวได้ถึง -1.2%

โควิด-19 ระลอกใหม่กระทบเศรษฐกิจที่เปราะบางอยู่แล้ว

การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 มาตรการปิดเมืองบางส่วนการงดทำกิจกรรมนอกบ้านจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาด และการฉีดวัคซีนในประเทศที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในวงกว้างในช่วงครึ่งแรกของปีจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมี นัยสำคัญใน 2 ด้านคือ

1. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศจะสะดุดลงอีกครั้ง จากการระบาดและมาตรการที่มีแนวโน้มลากยาวกว่ารอบก่อน แม้ว่ามาตรการควบคุมการระบาดในครั้งนี้จะเน้นการควบคุมตามความเสี่ยงของพื้นที่และธุรกิจ แต่สถานการณ์การระบาดที่มี แนวโน้มรุนแรงควบคุมได้ยากกว่ารอบที่แล้ว อาจทำให้รัฐต้องใช้มาตรการควบคุมการระบาดในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าครั้ง ที่ผ่านมา หรือสุดท้ายอาจต้องกลับมาใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเรื่อย ๆ 

หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในครั้งนี้จังหวัดที่มีการแพร่ระบาดสูงเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับสูง โดยขนาดเศรษฐกิจโดยรวม ของพื้นที่เสี่ยงสูง 28 จังหวัดคิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของ GDP ทั้งประเทศ (รูปที่ 3) 

จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คาดว่าแม้การปิดเมืองจะเข้มงวดน้อยลงแต่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมจะยังคงรุนแรงใกล้เคียงกับรอบที่ผ่านมา เศรษฐกิจในไตรมาส 1 จะหดตัวรุนแรง ก่อนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวในไตรมาสถัดไป (รูปที่ 4) 

คาดการณ์ว่ารัฐจะสามารถควบคุม การระบาดของโควิด-19 ในระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีได้รับ ผลกระทบในลักษณะเดียวกันกับในไตรมาส 2 ปี 2020 โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มหดตัวลงรุนแรงและ จะฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ ส่งผลให้ GDP ในไตรมาสแรกมีโอกาสโตติดลบถึง 6.1% และหากการระบาดจบลงตามคาด เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ในช่วงไตรมาส 2

2) นักท่องเที่ยวต่างชาติอาจกลับมาได้ช้ากว่าที่คาด ซึ่งเป็นผลจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 

  • การระบาดระลอกใหม่ในประเทศทำให้ คนไทยกลับมามีความกังวลในการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และในทางกลับกันนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีการระบาดอยู่ ในระดับต่ำแล้ว เช่น จีน ก็อาจลังเลที่จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย 
  • แม้ไทยจะมีแผนสำหรับการผลิตและใช้วัคซีนใน ประเทศ แต่ต้องรอถึงช่วงครึ่งหลังของปีกว่าจะมีการเริ่มฉีดได้ในวงกว้างขึ้น ซึ่งอาจไม่ทันสำหรับการเปิดรับนักท่องเที่ยวใน ไตรมาส 3 KKP Research จึงปรับประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวส าหรับปี 2021 ลงจากที่เคยคาดว่าจะกลับมาได้ 6.4 ล้าน คนในไตรมาส 3 และ 4 เหลือเพียง 2 ล้านคนในไตรมาส 4 เท่านั้น (รูปที่ 5)

ส่งออกช่วยพยุงเศรษฐกิจ แต่ยังมีความเสี่ยง

การส่งออกจะเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจในปีนี้โดยจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ ตามเศรษฐกิจโลก นอกจากความ คืบหน้าเรื่องวัคซีนแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยส าคัญที่อาจช่วยบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือ เศรษฐกิจโลกที่เริ่มส่ง สัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งจะเป็นปัจจัยส าคัญที่จะยังหนุนให้การส่งออกไทย สามารถขยายตัวได้ในปีนี้ ในช่ว งที่ ผ่ านมาพบว่ าก าร ส่ งอ อก ไทยยั งฟื้ นตั วช้ าก ว่ า หลายประเทศในภูมิภาค (รูปที่ 6) เนื่องจากการฟื้นตัวของ การค้าระหว่างประเทศยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี 

ในขณะที่ สินค้าส่งออกไทยมี สัดส่วนของสินค้ากลุ่มนี้น้อย นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าที่เกิดต่อเนื่องมาจากปี ก่อน และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง จะยังคงเป็นความเสี่ยงที่ อาจทำให้การส่งออกไทยในปี 2021 ขยายตัวได้น้อยลงกว่าที่เคยประเมินในระยะข้างหน้ายังต้องติดตามความเสี่ยงจากการ ระบาดของโควิด-19 ที่อาจทำให้เกิดปัญหาในภาคการผลิตใน ประเทศที่สามารถกลับมากระทบการส่งออกเพิ่มเติมได้เช่นกัน ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนสูงโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงหลายประการ โดยหากสถานการณ์การ ระบาดยืดเยื้อและรุนแรง คาดว่าในกรณีเลวร้ายอาจต้องมีมาตรการที่จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจยาวนานถึง 2 ไตรมาส เพื่อควบคุมการระบาดของโควิดที่รุนแรงขึ้น 

ภาคการผลิตและการส่งออกอาจประสบปัญหาจากความจำเป็นต้องปิดโรงงาน ชั่วคราวและการขนส่งสินค้า อีกทั้งหากวัคซีนไม่ได้ผลตามคาด อาจทำให้ไม่สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เลยในปีนี้ ในกรณีเลวร้าย KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจหดตัวต่อเนื่องที่ -1.2% ในปี 2021 

ผลกระทบจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มธุรกิจ 

การระบาดระลอกใหม่และมาตรการปิดเมืองจะทำให้ธุรกิจที่เริ่มฟื้นตัวกลับไปหดตัวอีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ที่ผ่านมา เริ่มปรากฏสัญญาณการฟื้นตัวของธุรกิจในแทบทุกกลุ่ม ซึ่งเกิดจากการฟื้นตัวของใช้จ่ายในประเทศหลังการเปิดเมืองและการ ส่งออก อย่างไรก็ตาม แม้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวจะยังหดตัวรุนแรงอยู่แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้บ้างตามอุปสงค์ใน ประเทศ (รูปที่ 7) การระบาดระลอกใหม่และการปิดเมืองที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอลงจะส่งผลต่อธุรกิจในลักษณะ ใกล้เคียงกับช่วงไตรมาส 2 ปีก่อน คือ ธุรกิจที่จ าเป็นต้องมีการรวมกลุ่มของคน เช่น การเดินทาง การท่องเที่ยวในประเทศ ร้านอาหาร การค้าปลีก จะได้รับกระทบรุนแรง ในขณะที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกสินค้าอาจเป็นกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบ มากนักจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้

สัญญาณการฟื้นตัวของการจ้างงานในช่วงที่ผ่านมายังกระจุกตัวอยู่ในบางกลุ่มธุรกิจ กลุ่มธุรกิจที่เริ่มกลับมาจ้างงานอีกครั้ง เป็นกลุ่มที่ไม่ได้พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก และฟื้นตัวได้ตามการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ เช่น อสังหาริมทรัพย์ สาธารณูปโภค ในขณะที่การจ้างงานในภาคบริการที่พึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถ ฟื้นตัวได้ดีนัก (รูปที่ 8) 

นอกจากนี้ ถึงแม้ตัวเลขทางการของการจ้างงานจะไม่ได้หดตัวรุนแรงมากนัก และอัตราการว่างงาน ในเดือนล่าสุดคือเดือนพฤศจิกายนยังอยู่ที่ระดับต่ำเพียง 2.0% แต่มีแรงงานจำนวนมากที่แม้จะมีงานทำอยู่ แต่ถูกลดจำนวน ชั่วโมงการทำงานลง โดยผู้ที่เสมือนว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง (รูปที่ 9) และในจำนวนนี้ผู้ที่ทำงานต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (อยู่ที่ 4.2 แสนคนในเดือน พ.ย. 2020 เพิ่มขึ้น 23% จากเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้า) อีก ทั้งแรงงานทั้งในและนอกระบบที่ประกอบอาชีพค้าขายหรืออาชีพอิสระที่ยังคงท างาน แต่รายรับน้อยลงจากภาวะเศรษฐกิจที่ ซบเซา นั่นหมายถึงรายได้ที่หายไปของภาคแรงงานจะรุนแรงกว่าตัวเลขการเลิกจ้างมาก ซึ่งจะกระทบต่อเนื่องไปถึงกำลังซื้อ และความสามารถในการชชำระหนี้ของภาคครัวเรือน

การระบาดระลอกสองและการปิดเมืองจะซ้ำเติมให้การจ้างงานในภาพรวมกลับมาแย่ลงและอาจรุนแรงกว่ารอบก่อน จึงประเมินว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ธุรกิจหลายแห่งอาจจำเป็นที่ต้องขยับจากการลดชั่วโมงการทำงานของพนักงานไปเป็นการ เลิกจ้างถาวร เนื่องจากแบกรับต้นทุนต่อไปไม่ไหวหลังจากที่อั้นมาตลอดปีที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจที่น่ากังวลที่สุดคือ ธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและการบริการที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ในช่วงที่ผ่านมา กลับถูกซ้ าเติมอีกครั้งจากการระบาดรอบ ใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่สายป่านไม่ยาวพอ อาจน าไปสู่การเลิกจ้างงานในวงกว้างได้

จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยง GDP 2021 อาจโตติดลบ

ความรุนแรงของผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของจ านวนผู้ติดเชื้อ ระยะเวลาที่ใช้ ในการควบคุมการแพร่ระบาด และความเข้มข้นของมาตรการภาครัฐที่อาจส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความ เกี่ยวเนื่องกันและขึ้นอยู่กับความเสี่ยงส าคัญ 3 ด้านคือ

1) การลุกลามของการติดเชื้อในประเทศความพิเศษของเชื้อไวรัสโควิด ที่ทำให้ค่อนข้างยากที่จะควบคุมการแพร่ระบาด คือ การที่ผู้ติดเชื้อมีทั้งที่ แสดงอาการและไม่แสดงอาการ (asymptomatic) โดยจากการรายงาน ของ CDC ซึ่งอ้างอิงสถิติล่าสุดในสหรัฐอเมริกาประเมินว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการมีถึง 40% และอาจสูงถึง 80% หากนับรวมผู้ที่มี อาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้ไม่มีการตรวจพบ 

แต่สามารถแพร่เชื้อไปยัง ผู้อื่นได้โดยที่ไม่รู้ตัวทั้งผู้แพร่และผู้รับเชื้อการที่ประเทศไทยไม่มีการตรวจ เชื้อแบบเชิงรุกในวงกว้าง จึงมีความเป็นไปได้ที่จำนวนผู้ติดเชื้อแฝงที่ สามารถแพร่เชื้อได้ (silent carriers) ในประเทศไทยจะสูงกว่าตัวเลขที่มี การรายงานอยู่หลายเท่าตัว ซึ่งจะทำให้การติดตามการสัมผัสและตรวจเชื้อ (tracing and testing) และการควบคุมการแพร่ระบาดเป็นไปได้ยาก เมื่อประกอบกับการพบปะเดินทางสังสรรค์ของผู้คนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วง วันหยุดตามเทศกาล และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่ไม่เข้มงวดเท่า รอบที่แล้ว จึงน่าจะมีโอกาสที่จะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศเพิ่มในอัตรา ที่เร่งขึ้นในระยะอันใกล้ และเสี่ยงที่จะลากยาวกว่าการระบาดในระลอกแรก

อีกหนึ่งมิติที่แตกต่างของการระบาดครั้งนี้กับครั้งที่แล้ว คือ ในรอบนี้มี การแพร่ระบาดรุนแรงในกลุ่มแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว (migrant workers) ที่เป็นกำลังสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ ไทย ซึ่งอาจรวมถึงแรงงานที่ลักลอบเข้าประเทศและท างานอย่างผิด กฎหมายด้วย ประกอบกับสภาพแวดล้อมในการทำงานและอยู่อาศัยที่เสี่ยง ต่อการแพร่กระจายของเชื้อ จะยิ่งทำให้การตรวจสอบและควบคุมในกลุ่ม แรงงานทำได้ยาก หากสถานการณ์การติดเชื้อในกลุ่มแรงงานขยายวง ลุกลามขึ้น อาจมีความเสี่ยงที่ทางการจะมีมาตรการเข้มงวดมากขึ้นในกลุ่ม นี้และอาจกระทบต่อภาคการผลิตของไทยในระยะสั้นได้ โดยเฉพาะในเขต จังหวัดและภาคอุตสาหกรรมที่มีการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวเข้มข้น 

2) ข้อจำกัดด้านสาธารณสุขในการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ถึงแม้ มาตรการในปัจจุบันทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนเอง จะทำให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ระดับหนึ่งโดยที่ยังไม่ส่งผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจรุนแรงเท่ากับการล็อคดาวน์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีที่ แล้ว แต่หากจจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นเกินขีดความสามารถในการรองรับในด้านสาธารณสุข ก็อาจ นำไปสู่มาตรการควบคุมการระบาดที่จำเป็นต้องเข้มงวดมากขึ้นโดย หลีกเลี่ยงไม่ได้ ข้อจำกัดที่สำคัญในการรับมือกับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโควิด-19 อาจ ไม่ใช่จำนวนเตียงในโรงพยาบาลซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 177,000 เตียงทั่วประเทศ (มีการใช้การอยู่ 75%) ที่ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้จาก การสร้างโรงพยาบาลสนามในกรณีจำเป็น แต่คอขวดในการรับมือ กับผู้ป่วยโควิด-19 จะอยู่ที่ จำนวนห้องแยกโรคความดันติดลบ (negative pressure rooms) ที่สามารถป้องกันการแพร่กระจายของ เชื้อ โรคในอากาศ จำนวนเตียงรองรับผู้ป่ วยหนัก (ICU beds) เครื่องช่วยหายใจ (ventilators) และจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลสำหรับดูแลผู้ป่วย ICU

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า หากจำนวนผู้ป่วยที่ ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล (active hospitalization) เพิ่มขึ้นถึง 15,000-20,000 คน (ปัจจุบันอยู่ที่ราว 5,000 คน) จะถึงจุดที่เกิน ความสามารถด้านสาธารณสุขในการรองรับได้ และมีโอกาสที่จะเห็น มาตรการล็อคดาวน์กลับมาอีกครั้ง ทั้งนี้ อยู่ภายใต้สมมติฐานที่ว่า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโควิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะเป็นผู้ป่วย ICU และ 50% ของทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่และใช้การอยู่ใน ปัจจุบันสามารถนำมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดได้

อย่างไรก็ดี การกระจายตัวของทรัพยากรทางการแพทย์ที่แตกต่าง กันในแต่ละพื้นที่อาจเป็นข้อจจำกัดที่มากขึ้นในกรณีที่มีการแพร่ระบาด รุนแรงในพื้นที่ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้น้อย ดังนั้น หากการแพร่ระบาดเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วหรือลากยาว ออกไปเป็นเวลานานก็จะยิ่งสร้างข้อจำกัดด้านสาธารณสุข ทั้งด้าน เครื่องมือและยารักษาผู้ป่วย ตลอดจนความเหนื่อยล้าของบุคลากร ทางการแพทย์ และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งทางตรงและ ทางอ้อมมากยิ่งขึ้น

3) ประสิทธิผลและความครอบคลุมในการแจกจ่ายวัคซีน วัคซีนป้องกันโควิดเป็นกุญแจสำคัญของการที่เศรษฐกิจและการใช้ ชีวิตของผู้คนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และเป็นความหวังที่ประเทศไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อีกครั้ง สำหรับประเทศไทยตามการรายงานของทางการ ไทยจะได้รับวัคซีน Coronavac ที่ผลิตโดยบริษัท Sinovac Biotech ของประเทศจีน รวม ทั้งสิ้น 2 ล้านโดส ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนนี้และได้สั่งจองวัคซีนจาก AstraZenaca อีก 26 ล้านโดส ซึ่งทางการคาด ว่าจะได้รับในช่วงกลางปี 2564 และหากเป็นไปตามแผน ประชากรไทยประมาณ 20% จะได้รับวัคซีนภายในสิ้นปีนี้ 

อย่างไรก็ดี ความคาดหวังจากวัคซีนอาจจะสะดุดลงได้ หากวัคซีนที่ออกใช้มีประสิทธิผลในการป้องกันโควิด-19 ต่ำกว่าที่คาด หรือไม่สามารถ ป้องกันไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดรุนแรงกว่าเดิมได้ หรือมี ผลข้างเคียงรุนแรง หรือการกระจายและการฉีดวัคซีนในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยทำได้อย่างล่าช้า ซึ่งประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่อาจ เกิดขึ้นได้เกี่ยวกับวัคซีนนี้จะทำให้การประเมินการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ มี ความเสี่ยงที่จะไม่ฟื้นได้เร็วตามที่คาด และในกรณีเลวร้ายของไทยหาก วัคซีนไม่เป็นไปตามที่หวัง อาจหมายถึงประเทศจะไม่สามารถเปิดรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติได้เลยตลอดทั้งปี 2564 นโยบายจ าเป็นต้องทำมากขึ้น 

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่าในสถานการณ์ที่ เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงไปอีกครั้งเช่นนี้ สร้างความเสี่ยง อย่างมากต่อความอยู่รอดของภาคธุรกิจและภาวะความเป็นอยู่ ของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางและยังไม่สามารถ ฟื้นตัวได้เต็มที่จากวิกฤตโควิดระลอกที่แล้ว ภาครัฐจำเป็นต้องมี บทบาทมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาในการช่วยเหลือเยียวยาภาคธุรกิจ และแรงงาน รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจนกว่าการแพร่ ระบาดและเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะปกติ ถึงแม้บางโครงการ เช่น ‘คน ละครึ่ง’ และ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ จะค่อนข้างประสบความสสำเร็จและ ลงสู่ประชาชนและธุรกิจได้จริง แต่ก็ยังนับเป็นเม็ดเงินเพียงส่วน น้อย หากเปรียบเทียบขนาดของการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน นโยบายการคลังกับประเทศอื่นจะพบว่าไทยยังมีการใช้จ่ายจาก ภาครัฐในระดับที่ต่ำมาก

อีกทั้งการใช้งบประมาณในการกระตุ้น เศรษฐกิจที่ประกาศไว้ขนาด 1 ล้านล้านบาทในปีที่ผ่านมา ใน ปัจจุบันยังถูกใช้ไปเพียงราวครึ่งหนึ่งเท่านั้น แสดงถึง ความล่าช้าในการผลักดันมาตรการและโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วย ฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิผลและเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น 

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร มองว่าภาครัฐควรต้องผลักดันนโยบาย ทั้งมาตรการเยียวยาระยะสั้นเพื่อเป็นการ ประคับประคองภาคธุรกิจและแรงงาน และนโยบายการลงทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานในระยะยาวที่จะเป็นการเพิ่มการจ้าง งานและเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ประเด็นเรื่องเพดานหนี้สาธารณะที่ 60% ของ GDP ไม่ควรเป็น ข้อจำกัดในภาวะวิกฤตที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและความเดือดร้อนต่อประชาชนรุนแรงเช่นนี้ หากการกู้เงินของ ภาครัฐเป็นไปเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รั่วไหลน้อย และมีแผนในการรักษาวินัยทางการคลังอย่างเข้มงวด ก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและประชาชนโดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ในด้านนโยบายการเงิน KKP Research มองว่านโยบายการเงินจำเป็นต้องผ่อนคลายเพิ่มเติม ทั้งเพื่อสนับสนุนการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาคการคลัง และเพื่อเป็นการตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีในสถานการณ์ปัจจุบันที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมี แนวโน้มสะดุดลงจากการระบาดระลอกสอง โดยทั่วไปนโยบายการเงินจ าเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการส่งผ่านเข้าสู่ภาค เศรษฐกิจจริง การตอบสนองที่ช้าจะเปิดความเสี่ยงให้เกิดการหดตัวขนาดใหญ่ของเศรษฐกิจ ผู้ทำนโยบายสามารถเร่งผ่อนคลายทางนโยบายผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม 

รวมถึงการพิจารณ าใช้นโยบายการเงินแบบใหม่ (unconventional policy) อื่น ๆ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้สภาพคล่องในระบบไหลไปสู่เศรษฐกิจจริงมากขึ้น และอาจช่วยลดแรง กดดันต่อค่าเงินบาทอีกทางหนึ่งด้วย ควบคู่ไปกับการเร่งปลดล็อคเงื่อนไขของมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้เข้าถึงความช่วยเหลือได้จริงและเป็นวงกว้างมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 ข้อแตกต่างที่ทำให้ Jensen Huang เป็นผู้นำใน 0.4% ด้วยพลัง Cognitive Hunger

บทความนี้จะพาทุกคนไปถอดรหัสความสำเร็จของ Jensen Huang ด้วยแนวคิด Cognitive Hunger ความตื่นกระหายการเรียนรู้ เคล็ดลับสำคัญที่สร้างความแตกต่างและนำพา NVIDIA ก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับ...

Responsive image

เรื่องเล่าจาก Tim Cook “...ผมไม่เคยคิดเลยว่า Apple จะมีวันล้มละลาย”

Apple ก้าวเข้าสู่ยุค AI พร้อมรักษาจิตวิญญาณจาก Steve Jobs สู่อนาคตที่เปี่ยมด้วยนวัตกรรม โดย Tim Cook มุ่งเปลี่ยนโฉมเทคโนโลยีอีกครั้ง!...

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...