วิเคราะห์ ทำไมเราเที่ยวด้วยกัน มีผู้ใช้สิทธิ์น้อย กระตุ้นการท่องเที่ยวลำบาก | Techsauce

วิเคราะห์ ทำไมเราเที่ยวด้วยกัน มีผู้ใช้สิทธิ์น้อย กระตุ้นการท่องเที่ยวลำบาก

ตั้งแต่สถานการณ์ COVID-19 ก็มีหลายโครงการของภาครัฐที่ออกมาช่วยเยียวยา หนึ่งในโครงการที่มีคนลงทะเบียนมากที่สุดก็คือ เราไม่ทิ้งกัน ที่ให้ลงทะเบียนรับเงิน 5000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน ต่อเนื่องมาจนถึงโครงการเยียวยาเกษตรกร เงินอุดหนุนบุตร กำลังใจ และล่าสุดคือ เราเที่ยวด้วยกัน ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในไทย แต่ทำไมโครงการนี้จึงมีผู้ใช้สิทธิ์น้อย?

ย้อนดูโครงการเราไม่ทิ้งกัน

โครงการเราไม่ทิ้งกัน เรียกได้ว่ามีการลงทะเบียนถล่มทลาย เหตุผลเพราะ เป็นโครงการที่ได้เห็นเงินกันจริงๆ สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่ว่างงาน ไม่มีงานประจำ แล้วโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ทำไมคนใช้สิทธิ์น้อย?

ข้อมูลของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ณ วันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ลงทะเบียนแล้วรวม 4.92 ล้านคน ลงทะเบียนสำเร็จแล้ว 4.67 ล้านคน จองโรงแรมและจ่ายเงินแล้วเพียง 625,606 ห้อง

โดยหากวิเคราะห์โครงนี้ จะเห็นว่าเป็นโครงการที่จับกลุ่มคนท่องเที่ยว และมีกำลังทรัพย์ที่จะเที่ยวในช่วง COVID-19 เพราะคนส่วนใหญ่อาจเลือกเก็บเงินสด หรืออาจไม่ได้เที่ยวมานาน และอยากจะเที่ยว นั่นอาจเป็นคนละกลุ่มกับโครงการอื่นๆที่ผ่านมา ซึ่งอาจเป็นกลุ่มคนเช่น พนักงานประจำ คนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ ต้องเป็นคนที่สามารถใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ในโครงการนี้อย่างคล่องแคล่ว เพราะมีหลายขั้นตอนในการใช้สิทธิ์ และนี่อาจเป็นเหตุผลที่มีคนลงทะเบียนผ่านเว็บ แต่ใช้สิทธิ์จำนวนน้อย 

1. มีหลายขั้นตอนซับซ้อน

การรับสิทธิ์ส่วนลดนั้น มีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าโครงการอื่นๆที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การกรอกชื่อลงทะเบียนในเว็บไซต์เราเที่ยวด้วยกัน > รอ SMS > เข้าแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งหากใครไม่มีแอป ก็จะผ่านขั้นตอนการดาวน์โหลด > จองผ่านแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในช่วงแรกมีเพียง agoda หรือหากจองผ่านโรงแรมโดยตรง บางโรงแรมก็จะแจ้งให้ไปจองผ่าน agoda จะเห็นได้ว่า มีหลายส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง หากหลุดขั้นตอนใดไป ก็อาจพลาดสิทธิ์ได้ แตกต่างจากลงทะเบียนเพื่อรับเงินที่ผ่านมา

2. โรงแรมที่เข้าร่วมยังมีจำนวนน้อย และอาจไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

เนื่องจากเทรนด์ของคนที่ท่องเที่ยวมักเลือกที่พักที่ได้รับความนิยมจาก Social Network ต่างๆ อาจเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทำให้โรงแรมที่พัก อาจยังไม่ถูกใจ อีกทั้งยังมีราคาใกล้เคียงกัน จึงไม่เลือกโรงแรมที่จะเข้าร่วมโครงการ

3. ต้องใช้สิทธิ์โรงแรมก่อน ถึงจะใช้สิทธิ์ตั๋วเครื่องบินได้

ด้วยขั้นตอนการใช้สิทธิ์ที่เป็นลำดับขั้น อาจทำให้ผู้ที่ท่องเที่ยวจริงๆไม่สามารถรับส่วนลดตั๋วเครื่องบินได้ เพราะไม่ได้เลือกโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการ

4. เป็นส่วนลด ไม่เห็นออกมาเป็นตัวเงิน 

ต้องยอมรับว่า เมื่อเป็นสิทธิ์ในการได้รับส่วนลด ทำให้ไม่เห็นตัวเงินที่ได้ลดจริงๆ อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากหลายโรงแรมที่พักก็อยู่ในช่วงลดราคาและทำโปรโมชัน เพื่อดึงลูกค้าเข้าพัก ดังนั้น โรงแรมหรือที่พักไหนมีความคุ้มค่ามากที่สุด ประชาชนหรือผู้บริโภคก็จะเลือก ซึ่งอาจไม่ใช่ที่พักในโครงการเราเที่ยวด้วยกัน

อาจยังเหตุผลอีกหลายข้อที่ทำให้โครงการนี้ไม่ปังเหมือนโครงการอื่นๆ ทั้งนี้ปัจจุบัน ครม.อนุมัติ ขยายเวลา เราไปเที่ยวกัน ช่วยค่าที่พักเพิ่มเป็น 10 วันและเพิ่มค่าตั๋วเครื่องบินคนละ 2000 บาท ก็ต้องดูต่อว่า จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้จริงๆหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...