ฟ้าหลังฝนของการเลิกจ้างสายเทคฯ โอกาสของบริษัท Non-Tech | Techsauce

ฟ้าหลังฝนของการเลิกจ้างสายเทคฯ โอกาสของบริษัท Non-Tech

นับว่าเป็นปีที่หนักหนาสำหรับธุรกิจสายเทคโนโลยีที่กำลังเผชิญหน้ากับตลาดขาลงและความเสี่ยงที่จะต้องรับมือกับ Recession สิ่งเหล่านี้ทำให้ยักษ์ใหญ่ในวงการเทคฯ ไม่ว่าจะเป็น Google, Amazon, Microsoft ต่างจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงผ่านการปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย

แค่เดือนแรกของปีบริษัทเทคฯ ในอเมริกาก็ปลดพนักงานไปแล้วกว่า 107,000 ตำแหน่ง แต่ทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสและโอกาสเหล่านั้นก็ตกไปสู่บริษัทประเภทอื่นที่ไม่ได้โฟกัสในเรื่องของเทคโนโลยีและนี่ก็ยังเป็นทางออกสำหรับพนักงานสายเทคฯ ที่ชื่นชอบความยืดหยุ่นในการทำงานอีกด้วย

คำอธิบาย: ตัวเลขคาดการของการลดตำแหน่งงานเทคฯ ตั้งแต่ปี 2020

คำอธิบาย: 20 วันแรกของเดือนมกราคมมีการเลิกจ้างงานมากกว่า 6 เดือนรวมกันของปีที่แล้ว

พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส (สำหรับบริษัท Non-Tech)

การดึงดูดพนักงานสายเทคฯ ที่มีความสามารถนั้นถือเป็นโอกาสที่บริษัททั่วไปควรตักตวง แต่จะทำอย่างไรเพื่อดึงคนเก่งเหล่านั้นมาได้?

คำตอบคือ การเสนอนโยบายการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (remote work / hybrid work) ซึ่งเป็นของโปรดสำหรับสายงานเทคโนโลยี เช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) เป็นต้น มากไปกว่านั้นการสร้างบรรยากาศในการทำงานเชิงบวกและสนับสนุนโอกาสในการเติบโตของสายอาชีพก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่สามารถดึงดูดคนเหล่านี้มาทำงานด้วยได้

อีกเรื่องที่สำคัญคือการลงทุนในความรู้ ผ่านการให้สวัสดิการในการฝึกฝนและเรียนรู้ เนื่องจากสายงานนี้จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การทำแบบนี้จะช่วยให้ดึงดูดพนักงานที่ต้องการพัฒนาทักษะของตัวเองเข้ามาได้มากขึ้น

นอกจากนั้น การสร้างความสัมพันธ์กับบริษัทเทคฯ ถือเป็นกลยุทธ์ที่ดีเนื่องจากจะทำให้เข้าถึงข้อมูลหรือทักษะจากบุคลากรที่มีคุณภาพได้ หรือแม้กระทั่งการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างนวตกรรมต่างๆ การทำแบบนี้จะยังช่วยดึงดูดพนักงานสายเทคฯ ได้อีกด้วยเพราะพวกเขาจะมองว่าตามทันเรื่องเทคโนโลยี

ธุรกิจที่สร้างความได้เปรียบ

การรับพนักงานสายเทคฯ ที่มีความสามารถสูงเข้ามาช่วยพัฒนาเรื่องของเทคโนโลยีภายในบริษัทเป็นโอกาสที่ดีมากเพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าช่วงนี้เป็นขาลงสำหรับวงการเทคโนโลยี  ทำให้สามารถจ้างพนักงานทักษะสูงได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาดแรงงานปกติ

ธุรกิจหรือบริษัทที่ไม่ใช่เทคโนโลยีประเภทไหนบ้างที่สามารถสร้างความได้เปรียบผ่านวิกฤตนี้?

  • บริษัทที่ให้บริการทางการเงินขนาดใหญ่

  • บริษัทประกันภัยขนาดกลาง

  • บริษัทค้าปลีกขนาดกลาง

  • บริษัท Healthcare ขนาดใหญ่

  • อุตสาหกรรมการผลิตขนาดกลาง

  • ธุรกิจขนส่งขนาดกลาง

ปัญหาความอคติ

อคติที่มีปัจจัยต่อในแง่ของพนักงานและบริษัท 

1. หลีกเลี่ยงการสูญเสีย (Loss Aversion) กล่าวคือการที่เรากลัวที่จะสูญเสียมากกว่าได้ประโยชน์ ในกรณีของพนักงานสายเทคฯ คือการที่ต้องการ play safe ไม่กล้าออกจากตำแหน่งงานเดิมเนื่องจากกลัวมากกว่ากล้า ทำให้เกิดการลังเลที่จะเปลี่ยนงาน ในแง่ของธุรกิจคือการที่บริษัทไม่กล้าเลิกจ้างพนักงานเพราะยึดติดมากเกินไป ถึงแม้ว่าพนักงานคนนั้นจะทำงานได้ไม่ตรงตามเป้าก็ตาม

2. อคติโดยการมองโลกในแง่ดี (Optimism Bias) คือการที่คิดว่าเรื่องดีมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าเรื่องแย่ๆ อย่างเศรษฐกิจถดถ่อยหรือขาลงของตลาด ทำให้บริษัทเกิดความคิดที่ว่า “Recession ทำอะไรเราไม่ได้” แต่ในความเป็นจริงแล้วก็โดนผลกระทบไปเต็มๆ เห็นได้จากการเลิกจ้างจำนวนมาก และอคตินี้ก็ทำให้บริษัทมองโลกในแง่ดีจนไม่คิดถึงการเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้อื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

วิกฤตครั้งนี้เป็นโอกาสที่นานๆ ครั้งจะเกิดขึ้นของบริษัท Non-Tech ที่จะได้จ้างพนักงานที่มีศักยภาพและความสามารถการทำงานสูงเพื่อมาเพิ่มประสิทธิภาพของบริษทในแง่ของเทคโนโลยี อีกทั้งยังลดต้นทุนด้วยค่าจ้างที่ถูกลง

อ้างอิงข้อมูลจาก

The Silver Lining Of Tech Layoffs

The Largest Tech Layoffs






ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...