วัฒนธรรมองค์กรเป็นวัคซีนต้านวิกฤติ? | Techsauce

วัฒนธรรมองค์กรเป็นวัคซีนต้านวิกฤติ?

เราได้มีโอกาสเห็นวิกฤติต่าง ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และไม่ว่าวิกฤติใด ๆ ก็ตาม ก็จะมีบางองค์กรสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสขึ้นมาได้ได้ แต่บางองค์กรแม้ในอุตสาหกรรมเดียวกันกลับพบกับความยากลำบาก 

อะไรกันคือสาเหตุของปรากฏการณ์ความแตกต่างที่นี้ ทั้งที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน? และมีต้นทุนด้านอื่นๆไม่ต่างกันมากนัก

วันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการพัฒนาองค์กร Brightside People และเพจ A Cup of Culture แชร์ประสบการณ์และมอบความรู้ด้านการออกแบบวัฒนธรรมองค์กร คุณสุรัตน์ โพธิปราสาท หรือ “คุณบอล” ถึงมุมของปัจจัยความสำเร็จขององค์กรในการฝ่าวิกฤติใด ๆ 

ปัจจัยความสำเร็จของการฝ่าวิกฤติ

เมื่อพูดถึงการปรับตัวฝ่าวิกฤติเนี่ย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในระหว่างปี 2020 ที่ผ่านมาเรามีโควิดระบาด ตามมาด้วยการ Lockdown การ Work from Home และอีกหลาย ๆ มาตรการที่ไม่มีใครได้เคยเตรียมตัวมาก่อน นั่นแปลว่าทุก ๆ องค์กร ในทุกอุตสาหกรรมต่างก็ต้องปรับตัวไม่มากก็น้อย แต่ท่ามกลางความโกลาหลนี้ก็มีเทรนด์บางอย่างที่คุณบอลได้ตั้งข้อสังเกตุไว้ได้อย่างน่าสนใจ เกี่ยวกับธุรกิจที่สองอันหลัก ๆ ที่เติบโตได้ดีในปี 2020  คือ Video Streaming กับ Video Conference หรือก็คือ Netflix กับ Zoom นั่นเอง

คุณบอลก็ได้ชวนเราตั้งคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสองวงการนี้ “ทั้ง Netflix และ Zoom เป็นตัวอย่างที่ดีของการฝ่าวิกฤติ เพราะถ้าดูเผิน ๆ มันก็แน่นอนอยู่แล้วคนอยู่บ้านออกไปไหนไม่ได้ก็ต้องหาอะไรดู มีประชุมก็ต้องวิดีโอคอลเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราลองมาตั้งคำถามว่าทำไมดูหนังต้องเป็น Netflix ทำไมวิดีโอคอลต้องเป็น Zoom ล่ะ ? เราจะเริ่มเห็นว่าด้วยปี 2020 ที่เป็นโอกาสทองของทั้งสองอุตสาหกรรมนี้แล้วการแข่งขันก็ยิ่งดุเดือดตามไปด้วย”

ทั้ง Netflix และ Zoom ต่างก็มีมีคู่แข่งเป็น Big name ทั้งหมด แม้ Netflix ต้องสู้กับ Disney, Apple, Amazon แต่เมื่อหมดปี 2020 ผลสรุปกลับออกมาว่า Netflix ยังคงรักษาตำแหน่ง Market Share อันดับ 1 ไว้ได้แล้ว ยอด Subscriber โตแซงหน้าคู่แข่งที่เหลือไปได้อย่างขาดรอย แต่ความสามารถในการแข่งขันของ Netflix นี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการที่เป็นเจ้าตลาดมาอยู่ก่อนแล้ว แต่ในทางฝั่งของ Zoom    กลับเป็นตรงกันข้ามเลยทีเดียว

Zoom เองก็มี Big Name เป็นคู่แข่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cisco, Google และ Microsoft ที่ครองตลาดการ Video Conference มาอย่างยาวนาน แต่เมื่อปลายปี 2020 แอป Zoom มียอดดาวน์โหลดรวมทั้งหมด 4 เท่าของทั้ง Google Meet และ Microsoft Team ทั้งที่ก่อนปี 2020 ยังแทบจะไม่มีใครรู้จัก Zoom มาก่อน

คุณบอลเล่าว่าไม่ว่าจะเป็นในฐานะเจ้าตลาด หรือเป็นผู้ท้าชิง มันมีปัจจัยหนึ่งที่ทั้ง Netflix และ Zoom มีร่วมกัน “อีกชื่อเสียงหนึ่งของ Netflix คือในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร ที่แข็งแกร่งมาก ๆ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับหลาย ๆ องค์กร จนเกิดกระแสการทำวัฒนธรรมอย่างจริงจังขึ้นมาให้กับโลกธุรกิจในแบบที่พูดได้ว่าฉีกทุกตำราที่มีมาก่อนหน้านี้ทิ้งไปหมดเลย หรือ Zoom ที่เป็นองค์กรที่ใหม่มาก ๆ อายุยังไม่ถึง 10 ปีเลย เขาก็มีวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่โดดเด่น ๆ มาก ๆ เหมือนกัน” 

นอกเหนือจากการที่ทั้งสององค์กรนี้มีความโดดเด่นด้านวัฒนธรรมองค์กรแล้ว คุณบอลยังชี้ให้เห็นถึงหลักฐานสนับสนุนที่ตอกย้ำความสำคัญของการที่วัฒนธรรมองค์กรช่วยให้องค์กรรับมือและเติบโตได้ดีท่ามกลางวิกฤติ “อย่างเช่นปลายปี 2020 นี้มีงานวิจัยนึงเขาเทียบให้ดูระหว่างองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรแข็งแกร่งกับองค์กรทั่วไป พบว่าวิกฤติ COVID-19 ในตอนนั้นแทบจะไม่ส่งผลอะไรกับองค์กรที่มีวัฒนธรรมแข็งแกร่งเลย” 

งานวิจัยนั้นมาจาก O.C. Tanner Institute ในรายงานที่ชื่อว่า 2021 Global Culture Report ที่สำรวจจากคนทำงานกว่า 40,000 คนพบว่า Employee Engagement ขององค์กรทั่วไปลดลงจากปีก่อนถึง 52% ในขณะที่องค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรงนั้นเองก็ลดลงเช่นกัน แต่ลดลงเพียง 1% เท่านั้น รวมถึงในด้านของอัตราการเกิด Burn out ของพนักงานที่องค์กรทั่วไปจะเพิ่มมากกว่าปีก่อนถึง 81% หรือเกือบ ๆ สองเท่า วัฒนธรรมองค์กรดีที่ดีช่วยให้เหลือแค่ 13% เท่านั้น และสุดท้ายคือความพึงพอใจโดยรวมที่องค์กรทั่วไปนั้นลดฮวบลงไป 49% ด้วยผลจาก COVID-19 องค์กรที่วัฒนธรรมองค์กรแข็งแรงนั้นโดยรวมลดลงไปเพียง 1% เท่านั้น คุณบอลมองว่า “ถ้าในมุมนี้การมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงช่วยป้องกันอาการต่าง ๆ โควิดที่เกิดขึ้นกับองค์กรได้ เหมือนเป็นภูมิคุ้มกันต้านวิกฤติสำหรับองค์กร” 

คุณบอลอธิบายสาเหตุสำคัญของปรากฏการณ์ให้ฟังว่า “เพราะสิ่งสำคัญในทุก ๆ วิกฤติ คือ การตัดสินใจต้องรวดเร็ว และ teamwork ต้องสูงมาก วัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจนคือทุกคนเห็นจุดมุ่งหมายไปทางเดียวกัน เรามักพูดเล่น ๆ กันว่าการทำ Culture บางทีมันเหมือนการ Cloning ผู้นำองค์กร เพราะมันทำให้คนทั้งองค์กรสามารถตัดสินใจได้ในแบบเดียวกันกับที่ CEO จะตัดสินใจเพราะเราอิงจากค่านิยมเดียวกัน ดังนั้นพอมีเรื่องเข้ามามันไม่ต้องไปกองอยู่แค่ใครคนใดคนหนึ่ง ปัญหาก็จะแก้ไขได้รวดเร็ว ผู้นำองค์กรจะได้ไม่ต้องมาคอยตัดสินใจในเรื่องที่จริง ๆ แล้วคนที่ทำงานตรงนั้นส่วนใหญ่จะรู้ดีกว่าเสียอีก”

ถ้าอย่างนั้นการทำให้วัฒนธรรมองค์กรมันเกิดขึ้นจริงก็เหมือนการฉีดวัคซีนต้านวิกฤติ?

“จะพูดอย่างนั้นก็ได้ แต่จริง ๆ แล้วเรามองวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องระยะยาวมากกว่า ถ้าเปรียบเทียบในเชิงนี้อาจเรียกเป็นภูมิคุ้มกันก็ได้ เพราะเรามองว่าการทำให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นจริงนั้นมันควรมาจากภายใน มันต้องเป็นความเอาจริงเอาจังของผู้บริหาร และการมีส่วนร่วมของพนักงาน

ตัวอย่างเช่นหมอที่ดีปกติถ้าป่วยไม่หนักเขาจะไม่แนะนำให้เรากินยา แต่ให้ร่างกายมันภูมิคุ้มกันมันเกิดขึ้นเอง เรื่องวัฒธรรมองค์กรเองก็เหมือนกัน ถึงเราจะเป็นที่ปรึกษาในด้านนี้ เราก็มองว่าถ้าเป็นไปได้เราอยากส่งเสริมให้ทุก ๆ องค์กรออกแบบ และผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในแบบของตัวเอง การเอาให้คนนอกมาช่วยมันอาจจะเร็วกว่าแต่ถ้าใจร้อนกับมันมากไปอาจจะไม่ได้วัฒนธรรมองค์กรในแบบที่เหมาะกับองค์กรเรา และมันพอมันไม่เหมาะก็ไม่ได้ใช้ แล้วก็เสียเปล่า เรา Brightside เองจึงมองตัวเองเป็นตัวช่วยในการผลักดันให้มันเกิดขึ้นมากกว่าเป็นคนที่ทำให้ แต่ถ้ามีองค์กรที่ต้องการความช่วยเหลือเราเองก็จะยินดีที่จะเข้าไปช่วย”

แต่ถ้าเป็นช่วงวิกฤติจริง ๆ แล้วองค์กรเราไม่มีเวลาให้กับวัฒนธรรมองค์กร จะต้องทำอย่างไร?

“มันเหมือนเวลาป่วยนั่นแหละ คือถ้าคุณเอาทรัพยากรทั้งหมดไปแก้วิกฤติมันก็คือคุณรักษาตามอาการ แต่ถ้าคุณไม่จัดสรรทรัพยากรส่วนหนึ่งเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันยังไงคุณก็จะไม่มีทางหายป่วย” ชัดมากครับ 

แล้วถ้าองค์กรเราจะเริ่มสร้างให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นจริง เราต้องทำยังไงบ้าง?

“เริ่มจากกดไลค์เพจ A Cup of Culture เราได้เลยครับ เพราะในท้ายที่สุดเราก็มีความเชื่อที่ว่าวัฒนธรรมองค์กรมันเป็นเรื่องของทุก ๆ คนในองค์กร เราจึงพยายามที่จะให้ความรู้ ให้เครื่องไม้เครื่องมือให้ทุกคนสามารถที่จะเริ่มสร้าง และออกแบบวัฒนธรรมองค์กรในแบบที่อยากให้เป็นได้ด้วยตนเอง แต่หากเริ่มต้นไปแล้วต้องการความช่วยเหลือ ทีมงานเราก็ยินดี และพร้อมที่ให้ความช่วยเหลือครับ”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอด 4 บทเรียนธุรกิจ Taylor Swift ชื่อศิลปินที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท

Taylor Swift ไม่ใช่แค่ของชื่อศิลปินอีกแล้ว กลายเป็น Branding ที่มีมูลค่าสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท ความสำเร็จของ Taylor Swift ก็มีส่วนที่หยิบมาใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้เช่นเดียวกัน...

Responsive image

“อยากได้อะไร ก็แค่พูดตรงๆ” เคล็ดลับความสำเร็จจาก Sam Altman

Sam Altman CEO ของ OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT แนะนำ วิธีช่วยให้คุณได้ในสิ่งต้องการ และทำได้ง่ายๆ...

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...