วิเคราะห์ดีล Walmart เข้าซื้อ Startup Jet.com รุกหนักอีคอมเมิร์ซ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป | Techsauce

วิเคราะห์ดีล Walmart เข้าซื้อ Startup Jet.com รุกหนักอีคอมเมิร์ซ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

พฤติกรรมผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้คนเริ่มยุ่งและไม่มีเวลาไปซื้อของใช้ใน Super Market ถ้าราคาเหมาะสมแถมสะดวกจัดส่งถึงประตูบ้าน หลายคนก็เริ่มเปลี่ยนใจซื้อผ่านออนไลน์แทน ธุรกิจค้าปลีกหลายแห่งต้องรีบปรับตัว แม้จะมีเว็บฯ ของตัวเอง แต่ถ้า User Experience ไม่ดี เล่นแค่ราคา ก็แทบไม่มีความหมาย และถ้าจับกระแสไม่ทันอาจโดนล้มยักษ์ได้ ถ้าไม่ทำเองให้ดี ก็ต้องซื้อรายที่กำลังรุ่ง และ Walmart ก็เป็นเช่นนั้น

Screen Shot 2559-08-10 at 12.13.29 PM

Walmart ประกาศซื้อกิจการ Jet.com ด้วยมูลค่ากว่า 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้จะเสริมลูกค้าที่ใช้งาน Walmart แอปฯ, เว็บไซต์ และหน้าร้านโดยตรง ซึ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ที่เรียบง่ายให้กับลูกค้าแบบ Seamless

Jet ถือเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐฯ เวลานี้ มีฐานอยู่ที่นิวเจอร์ซีย์ พึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2013 โดยทีมผู้ก่อตั้งมีประสบการณ์ในสายธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่าง Quidsi ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Diapers, Soap.com และ Wag.com ก่อนหน้านี้มีนักลงทุนชื่อดังให้การสนับสนุน อาทิ Bain Capital เป็นต้น จุดที่น่าสนใจของ Jet ประกอบด้วย

Screen Shot 2559-08-10 at 12.12.44 PM

  • การเติบโตอย่างรวดเร็ว ยอดขายที่เกิดบนแพลตฟอร์มสูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีสินค้า 12 ล้าน SKUs ในปีแรก
  • มีลูกค้าใหม่มากกว่า 400,000 รายในทุกๆ เดือน และมีการสั่งซื้อโดยเฉลี่ย 25,000 การสั่งซื้อต่อวัน
  • มีเทคโนโลยีที่ช่วยลูกค้าแบบเรียลไทม์ประหยัดเงินตอนซื้อและขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่แฝงอยู่ไปได้มาก
  • มีผู้ขายกว่า 2,400 ราย และแบรนด์พาร์ทเนอร์ที่นำเสนอสินค้าโดนใจ

อย่างไรก็ตามด้วยการเติบโตที่เร็วขณะนี้ และการลงทุนมากมาย Jet ยังเป็นธุรกิจ Startup ที่ยังไม่สร้างกำไร และถ้าดึงต่อไปเรื่อยๆ ในระยะยาวก็ไม่ดีแน่นอน การตัดสินใจขายธุรกิจครั้งนี้ดูจะเป็นช่วงที่กำลังรุ่งและถูกเวลา

การรวมกันนั้น Walmart.com ยังโฟกัสในกลยุทธ์ด้านราคา ในขณะที่ Jet ก็ยังคงดำเนินธุรกิจต่อด้วยแบรนด์นี้ เน้นนำเสนอลูกค้าด้วยประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยกลุ่มสินค้าเฉพาะที่ตอบโจทย์ตามความต้องการเฉพาะกลุ่ม ในขณะที่ทั้งคู่จะแลกเปลี่ยนและร่วมพัฒนาโซลูชั่นและเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ลูกค้าประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น

ที่มา : Walmart

เรามีโอกาสได้ต่อสายพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ที่อเมริกา คุณสุลีพร ราชพลสิทธิ์ อดีต Merchansing Manager (Department Manager ) ดูแลบริหารผลิตภัณฑ์กลุ่มสินค้าที่เป็น Impulse Product-Confectionery & Snack for 7-11 "ปัจจุบันเธอย้ายไปอยู่ที่นั่น มีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจค้าปลีกในอเมริกาทั้งแบบ Big boxes และออนไลน์ เธอแสดงความคิดเห็นว่า เมื่อยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกมีการเคลื่อนไหวก็ย่อมเป็นข่าวไกลไปทั่วโลก รอบนี้เหมือนเป็นการประกาศให้โลกได้รู้ว่า คราวนี้ Walmart จะเอาจริง จะบุกเชิงรุกในตลาดอึคอมเมิร์ซแล้วนะ เพราะที่ผ่านมา Wal-Mart มีเว็บไซด์ ให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ สั่งและมีบริการไปรับของที่หน้าร้านในสาขาต่างๆ ได้ แต่ยอดขายของช่องทางออนไลน์ของ Walmart ก็ไม่ได้ หวือหวาอะไร Walmart.com เหมือนเป็นช่องทางเพื่อให้มีให้ครบให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงแบบ Multi Channel ได้ แต่ Wal-Mart ไม่ได้มีกลยุทธ์ทางการตลาดแปลกแหวกแนวอะไรที่จะดึงดูดให้ลูกค้าติด Walmart.com แม้ว่า Walmart จะมี Shipping Pass ที่เป็น Unlimited Shipping Service เพื่อสร้าง Loyalty ก็ดูเหมือนว่ากลยุทธ์นี้ยังไม่ได้ช่วยอะไร เว็บ Walmart.com เป็นเว็บที่ไม่ได้ช่วยให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานที่ดีแต่กลับมีประสบการณ์ที่แย่ๆในเรื่องของการที่เว็บฯ ไม่ตอบโจทย์ในการใช้งาน  ในตลาดวงการค้าปลีกของอเมริกา มันส่อสัญญาณมาหลายปีแล้วว่ายอดขายหน้าร้านเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ผู้บริโภคอยู่ในยุค Internet of Things ที่สามารถช้อปปิ้งได้ทุกที่เพียงปลายนิ้ว  จึงไม่แปลกใจที่ร้านค้าปลึกดังๆ พากันปิดลดจำนวนสาขาเพื่อลดต้นทุนในการบริหารจัดการ ค้าปลีกชื่อดังต่างผันกลยุทธ์มาบุกตลาดออนไลน์มากขึ้นด้วยการให้ข้อเสนอที่ดึงดูดใจในเรื่องของ Free shipping บ้าง Reward Program บ้างแต่ก็ยังไม่มีรายไหนที่จะแข่งขันกับเทพด้านอีคอมเมิร์ชอย่าง Amazon.com ได้  

ถึงเวลาซะทีที่ Walmart จะลงมาเล่นในตลาดออนไลน์จริงจังขึ้น แต่ถามว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้น่ากลัวไหม ในฐานะที่เป็นทั้งผู้บริโภคและเป็นคนวงการค้าปลีกที่ไปซื้อข้าวของใช้ในบ้านที่ Walmart  Super Store  เป็นประจำทุกสัปดาห์ บอกเลยว่าไม่น่ากลัวมาก ถ้า Walmart ยังไม่มีกลยุทธ์อื่นนอกเหนือกลยุทธ์ราคามาบุกตลาด กลยุทธ์ในเรื่องของ  Product Assortment การจัดส่งสินค้า ความเร็ว การชำระเงิน Loyalty Program นโยบายการเปลี่ยนและแลกคืนสินค้า รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้ ยังคงเป็นหัวหอกสำคัญในการแข่งขัน  ถ้า Walmart ไม่มีคุณค่าที่เด่นโดนใจขาช้อปออนไลน์ ตัว Walmart.com เอง ก็คงยากที่จะกลายมาเป็นเว็บแรกที่ผู้บริโภคจะนึกถึงแต่ Walmart.com จะเป็นเหมือนเว็บรองเมื่อลูกค้าต้องการของราคาถูกเท่านั้น อย่าลืมว่ากลยุทธ์ราคาไม่ใช่ Magic Wand หรือไม้เท้าวิเศษที่จะทำให้ Walmart.com ประสบความสำเร็จ  การเข้ามาในตลาดอีคอมเมิร์ช คราวนี้ Walmart น่าจะรู้ดีว่าต้องทำการบ้านอย่างหนัก ต้องหาอะไรใหม่ๆ มาเสนอแก่ผู้บริโภคเพราะการเข้ามาบุกตลาดนี้ทีหลัง  ถ้าไม่ทำอะไรดังๆโดนๆ ไม่ทำอะไรที่ดีกว่า เหนือกว่า ตัว Walmart.com ก็คงเป็นได้เพียง "Just another channel of a big box store" เหมือนเดิม"

สำหรับกองบรรณาธิการมองว่า "ครั้งนี้ทาง Walmart นอกจากจะเข้าซื้อกิจการ Jet แล้ว จุดที่น่าสนใจคือ Marc Lore CEO ของ Jet.com จะมาดู Walmart Online ด้วยแทน Neil Ashe  ซึ่งจะทำให้ไปในทิศทางเดียวกัน คงต้องดูกันว่าจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Jet จะเข้ามาช่วย Walmart ครั้งนี้ได้แค่ไหน เพราะองค์กรใหญ่อย่าง Walmart ที่เดิมก็เคลื่อนตัวช้า เมื่อมาเจอบริษัทที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว คงไม่ใช่เพียงแค่กลยุทธ์ทางธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการเข้าช่วยปรับในเรื่องวัฒนธรรมองค์กรให้เคลื่อนที่ได้เร็วมากขึ้นด้วย และทำอย่างไรให้ม้าทั้ง 2 ตัวนี้ทั้งเสริมกัน และวิ่งแข่งกับ Amazon ให้ได้"

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Growth Hacking: บทเรียนจาก Spotify สู่ธุรกิจยุคใหม่

ในโลกธุรกิจที่การแข่งขันดุเดือดและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกธุรกิจต่างใฝ่ฝัน Growth Hacking กลายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขประตูสู่ความสำเร็จ ด้วย...

Responsive image

เปิดปรัชญาแห่งความเป็นผู้นำของ Steve Jobs

Steve Jobs ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ที่โด่งดัง อาจไม่ใช่เจ้านายในฝันของใครหลายคน แต่ปรัชญาการบริหารของเขาพิสูจน์แล้วว่าทรงพลังและนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ คำพูดที่สะท้อนแนวคิดนี้ได้...

Responsive image

โฟกัสให้ถูกจุด สำคัญกว่าทำงานหนัก! แนวคิดจาก Marc Randolph ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO คนแรกของ Netflix

หลายคนอาจเชื่อว่าความสำเร็จมาจากการทำงานหนัก แต่มาร์ค แรนดัลฟ์ (Marc Randolph) Co-founder Netflix กลับมองต่างเขามองว่าการทำงานหนักแล้วจะประสบความสำเร็จเป็นเรื่องหลอกลวง และมองว่ากา...