ทำไม ‘9near’ มือแฮกข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน เลือกใช้เหรียญฯ Monero รับเงิน | Techsauce

ทำไม ‘9near’ มือแฮกข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน เลือกใช้เหรียญฯ Monero รับเงิน

เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา มีข่าวว่อนไปทั่วว่าข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายหลุดและถูกขายอยู่บน BreachForum ผ่านแฮกเกอร์ที่ใช้ชื่อว่า 9near และเปิดให้ซื้อข้อมูลดังกล่าวได้ 3 รูปแบบ 1. ค้นหาและซื้อข้อมูลเฉพาะบุคคล 2. ซื้อข้อมูลทั้งหมด 3. ซื้อข้อมูลบางส่วน โดยมีช่องทางการชำระเงินเพียงช่องทางเดียวนั่นก็คือ เหรียญ Crypto XMR หรือ Monero นั่นเอง

แต่ดูเหมือนว่าบางคนอาจจะยังเข้าใจผิดอยู่จากการที่หลายสำนักข่าวเรียกการชำระเงินนี้ว่า “บิทคอยน์ในสกุล XMR” ซึ่งไม่เป็นความจริง บทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับ Monero (XMR) ว่าคืออะไร มีข้อแตกต่างอย่างไรกับ Bitcoin และทำไมแฮกเกอร์ถึงเลือกใช้เป็นช่องทางในการชำระเงิน 

Source: BreachForum

Monero คืออะไร? (ไม่ใช่บิทคอยน์ในสกุล XMR)

Monero หรือชื่อย่อ XMR เป็นสกุลเงิน Crypto ที่อยู่ในกลุ่มของ Privacy Coins เช่น Litecoin Zcash หรือ Firo ที่เน้นไปในเรื่องของความเป็นส่วนตัวในการทำธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้น Monero และ Bitcoin เป็นคนละอย่างกัน ไม่ใช่บิทคอยน์สกุล XMR แต่อาจจะเรียกว่าเป็น เหรียญ Crypto XMR ก็ได้

Monero เปิดตัวเมื่อปี 2014 เป็น cryptocurrency ที่เน้นไปในเรื่องของ Privacy มีจุดเด่นคือการทำธุรกรรมแบบไร้ตัวตน ไม่สามารถติดตามได้ อีกทั้งยังมีเทคนิคทาง cryptography และใช้อีกหลายวิธีการในการเพิ่มความเป็นส่วนตัว

ข้อแตกต่างระหว่าง Monero (XMR) และ Bitcoin (BTC)

เป็นความจริงที่ Bitcoin เคยถูกใช้เป็นช่องทางการชำระเงินในตลาดมืดอย่าง Silkroad มาก่อน แต่ถึงอย่างนั้น Bitcoin ก็เป็นสกุลเงินที่มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมได้ ทำให้ยุคหลังๆ ผู้คนหันมาใช้ Privacy Coin อย่าง Monero แทน เพราะมีความเป็นส่วนตัวและตรวจสอบได้ยากมากกว่าที่จะใช้ Bitcoin 

Monero และ Bitcoin มีข้อแตกต่างหลายด้าน แต่ถ้านับเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัวแล้ว Monero จะมีความไร้ตัวตน (anonymous) ส่วน Bitcoin จะมีความไร้นาม (pseudonymous) พูดง่ายๆ ก็คือเราสามารถเข้าไปดูข้อมูลใน Blockchain ของ Bitcoin ได้แต่เราจะไม่ทราบว่าธุรกรรมนั้นๆ เป็นของใคร (pseudonymous) แต่เราสามารถติดป้ายและใช้เครื่องมือ Blockchain Analysis เพื่อติดตามได้ว่าเป็นกระเป๋าของใคร ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

 ในขณะเดียวกันบน Blockchain ของ Monero เราสามารถดูได้แค่ธุรกรรม ไม่สามารถดูกระเป๋าเงินใครได้ (anonymous) และการติดตามเส้นทางการเงินแทบจะเป็นไปไม่ได้

Source: Siraj Raval

ทำไมแฮกเกอร์ถึงเลือกใช้สกุลเงินนี้

คำตอบสั้นๆ คือติดตามได้ยาก เรียกได้ว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะสืบจนเจอเจ้าของที่ทำธุรกรรมทางการเงิน แม้แต่บริษัทที่เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลบน Blockchain อย่าง Chainanlysis ยังมีรายงานว่า Monero นั้นติดตามได้ยากกว่า Bitcoin 

ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างฟังก์ชันหลักๆ ที่ทำให้ Monero มีความเป็นส่วนตัวสูงและติดตามได้ยาก

Ring Signature

Ring Signature คือวิธีทาง cryptography ในการซ่อนตัวตนของผู้ส่งในแต่ละธุรกรรมที่เกิดขึ้นบน Blockchain ของ Monero โดยนำ signature ธุรกรรมของเรา ไปรวมกับของคนอื่นเพื่อใช้เป็นตัวล่อ (decoy) ทำให้ digital signature ปนกันและตามไม่ได้ว่าใครเป็นผู้ส่ง (sender) สร้างความเป็นส่วนตัวให้มากขึ้น

RingCT

Ring Confidential Transactions หรือ RingCT เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก Ring Signature ในปี 2017 ปิดจุดอ่อนโดยการซ่อนข้อมูลจำนวน XMR ในแต่ละธุรกรรม โดยเรียกการพัฒนานี้ว่า A Multi-layered Linkable Spontaneous Anonymous Group signature 


Source: Siraj Raval

Stealth Addresses 

เป็นเทคนิคในการสร้าง random one-time addresses ทำให้คนนอกไม่สามารถจะรู้ได้ว่าใครทำธุรกรรมอะไร เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ มีเพียงแค่สองคนที่ทำธุรกรรมด้วยกันเท่านั้นที่จะทราบได้ผ่านการใช้ view key ในการพิสูจน์ว่ามีการส่งธุรกรรมแล้วจริงๆ ทำให้ผู้ใช้เป็นผู้ควบคุมความเป็นส่วนตัวอย่างสมบูรณ์

Source: Siraj Raval

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเทคนิคหลักๆ ที่ Monero ใช้เพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวตั้งแต่ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ยังมีอีกหลายเทคนิคที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา เช่น การเพิ่มจำนวน Ring Signature จาก 11 ไปเป็นมากกว่า 100 Signature เป็นต้น โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของวิธีที่ Monero ใช้ได้ใน Infographic ข้างล่างนี้

Source: Monero.how

อ้างอิงข้อมูล

Getmonero.org

Prachathai

Medium

Kraken

Decrypt

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

The Puzzle Principle เคล็ดลับของไอน์สไตน์ที่จะทำให้คุณฉลาดขึ้น

เรียนรู้หลักการ The Puzzle Principle ของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์และแนวคิดจาก Adam Grant ที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เปิดใจกว้าง และทำให้คุณฉลาดขึ้น พร้อมตัวอย่างงานวิจัยที่ยืนยันผลลัพ...

Responsive image

บริหารแบบ Micromanagement ใส่ใจไม่จู้จี้ บทเรียนพลิกธุรกิจจาก Brian Chesky CEO ของ Airbnb

สำรวจว่าแนวทางการบริหารที่ใส่ใจในรายละเอียดของ Chesky ช่วยเปลี่ยน Airbnb ให้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกได้อย่างไร และเพราะเหตุใดการ micromanagement ...

Responsive image

34% ของคนทำงานยอมรับ ‘ไม่อยากเป็นหัวหน้า’ เพราะพอใจกับงานปัจจุบันที่ทำ

Randstad ได้ทำการสำรวจพนักงานจำนวน 27,000 คนใน 34 ประเทศทั่วโลกพบว่า 47% ของพนักงานรู้สึกพึงพอใจกับบทบาทปัจจุบันของตนเอง โดยไม่ได้สนใจความก้าวหน้า และอีก 34% บอกตรง ๆ ว่าไม่เคยคิดท...