ผู้เชี่ยวชาญแนะ CEO ยามวิกฤตให้เป็นผู้นำอย่าง Tim Cook ไม่ใช่แบบ Elon Musk | Techsauce

ผู้เชี่ยวชาญแนะ CEO ยามวิกฤตให้เป็นผู้นำอย่าง Tim Cook ไม่ใช่แบบ Elon Musk

เมื่อพูดถึง ‘ผู้นำ’ ผู้บัญชาการ หรือหัวหน้า หลายคนคงมีรูปแบบผู้นำในอุดมคติที่แตกต่างกันออกไป บางคนชอบผู้นำที่เข้มแข็ง ดุดัน เพราะสามารถควบคุมคนได้ หลายคนชอบผู้นำที่สุขุมแต่ล้ำลึก หลายคนชอบผู้นำที่คิดเร็วทำเร็ว มากกว่าผู้นำที่ก้าวแบบมั่นคงแต่เชื่องช้า

บทความนี้จะเล่าถึงสองผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกธุรกิจยุคนี้ นั่นก็คือ Elon Musk หัวหอกของ Tesla SpaceX และ Twitter กับ Tim Cook CEO ของ Apple ทั้งสองจะมีวิธีจัดการปัญหาในสภาวะวิกฤตอย่างไร แล้วทำไมผู้เชี่ยวชาญถึงบอกให้ CEO เอาอย่าง Tim Cook มากกว่า ? 

ช้าแต่ชัวร์แบบ Tim Cook

‘แม้จะเติบโตช้า แต่สามารถวัดผลได้มีประสิทธิภาพกว่า’ เป็นสไตล์ที่นักวิเคราะห์ในอุตสาหกรรมนิยามให้กับ Cook 

ท่ามกลางคลื่นยักษ์ของการเลิกจ้างพนักงาน โดยเฉพาะจากบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ ไล่เรียงมาตั้งแต่ Microsoft, Twitter, Meta, Amazon, Alphabet (บริษัทแม่ของ Google) บริษัทเหล่านี้เลิกจ้างพนักงานจำนวนมากในรอบปีที่ผ่านมา แต่ Apple กลับไม่ได้เลิกจ้างพนักงานเลย บริษัทเลือกใช้วิธีลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนแทน เช่น หยุดจ้างคนเพิ่ม ชะลอการจ่ายโบนัส แม้แต่ตัว Cook เองก็ยังถูกลดเงินเดือนและโบนัส 

สาเหตุหนึ่งที่ Apple ไม่ได้เลิกจ้างพนักงานเลยก็เพราะบริษัทไม่ได้มีนโยบายเพิ่มจำนวนพนักงานอย่างเกินความจำเป็นเพื่อตอบรับความต้องการของผู้บริโภคในช่วงโควิดระบาดหนัก ซึ่งต่างกับบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เร่งจ้างพนักงานจำนวนมากตอนนั้น

นอกจากนั้น Apple ไม่เคยมีประวัติการทุ่มเงินลงไปในโปรเจกต์ที่มีความเสี่ยง ต่างกับ Amazon Meta หรือแม้แต่ Microsoft ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่ามาจากนิสัยที่ระมัดระวังในการทำธุรกิจของ Cook 

“เขาเป็น CEO ที่มีความปฏิบัตินิยม (ทำอะไรตามสภาพความเป็นจริง ทำอะไรที่ทำได้จริง) มากที่สุดในบรรดา CEO ด้านเทคโนโลยี มันสอดคล้องกับวิธีการจ้างงานของเขา”

“ผมคิดว่าคุณจะเห็นบริษัทประเภทเหล่านั้นเริ่มยอมรับคู่มือ (วิธีการ) ของ  Apple ซึ่งคู่มือมันก็แค่ แม้ว่าสิ่งต่าง ๆ จะเป็นไปด้วยดี ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจ้างเพิ่ม คุณยังคงต้องรอบคอบกับการใช้จ่าย” Gene Munster Managing Partner ของ Deepwater Asset Management กล่าว

Elon Musk แพรวพราว ทะเยอทะยาน 

ตั้งแต่ Elon Musk เข้าซื้อ Twitter เมื่อเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา เขาใช้วิธีการแบบสุดโต่งในการบริหารกิจการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการไล่ C-suite ออกทันทีตั้งแต่วันแรกและตั้งตัวเองเป็นผู้อำนวยการเพียงคนเดียวของบริษัท เลิกจ้างพนักงานจำนวนมากแบบไม่แจ้งล่วงหน้าก็มี นอกจากนั้นยังเปลี่ยนโมเดลธุรกิจของ Twitter ด้วย เช่น Twitter Blue เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าสมาชิก แลกกับการได้ติ๊กถูกสีฟ้า 

ไม่พอแค่นั้น หลังเข้ามาบริหารได้ไม่นาน Musk ก็เล่นส่งข้อความบอกให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศทันที ใครที่ทำไม่ได้ก็ให้ถือว่าลาออก และส่งอีเมลไปหาพนักงานตอนเที่ยงคืน โดยมีใจความสำคัญว่าให้ทำงานแบบ ‘Extreme Hardcore’ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้ Twitter ยุค 2.0 เมื่อไม่นานที่ผ่านมานี้ไล่พนักงานผ่าน Twitter ก็มี

เรื่องวุ่น ๆ ทั้งหมดนี้ตามมาด้วยกระแสความไม่เชื่อถือจากทั้งผู้บริหารระดับสูงที่ทยอยกันลาออก พนักงาน ผู้ใช้งาน และลูกค้าของ Twitter เอง เรียกได้ว่าต้องเผชิญทั้งวิกฤตการเงิน วิกฤตศรัทธารอบด้าน 

อ่านบทความ : ในวันที่ Twitter อาจไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป แนะนำวิธีปกป้องบัญชี : https://techsauce.co/saucy-thoughts/how-to-prepare-account-when-twitter-still-in-chaos 

"CEO ทุกคนใน Silicon Valley ต่างมองดูสิ่งที่ Elon Musk ทำ และถามตัวเองว่า พวกเขาจำเป็นต้องปลดปล่อย Elon Musk ในตัวพวกเขาหรือไม่  มันอาจจะดูเป็นวิธีการที่ผิดปกติ แต่คุณไม่สามารถดูเบาสิ่งที่ Musk กำลังทำ แน่นอนโมเดลการบริหาร Twitter ที่ Musk กำลังทำมันสุดโต่ง แต่เป็นสิ่งที่ทั้งอุตสาหกรรมกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะหาก Musk ทำสำเร็จ มันจะกลายเป็นแม่แบบให้ CEO หรือนักลงทุนคนอื่น ๆ ทำตาม Marc Benioff CEO ของ Salesforce กล่าวกับ Insider

บริหารอย่าง Tim Cook VS Elon Musk แบบไหนดีกว่า

หากเรามองที่กลยุทธ์ของทั้ง Musk และ Cook ทั้งสองคนก็ไม่ได้ต่างกัน แต่ผู้บริหารสามารถเรียนรู้วิธีการจาก Cook ได้ ในยามวิกฤต ความรอบคอบและหลักปฏิบัตินิยม ยังคงใช้ได้เสมอ หมายความว่าเมื่อสถานการณ์เลวร้าย เมื่อเกิดวิกฤต คุณไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการก้าวร้าวไร้ความปราณีแบบ Musk

Musk เป็นหัวหน้าที่แพรวพราวโดดเด่น ทุกคนรู้ดีว่าเขาทะเยอทะยานและชอบตั้งเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ และผลักดันลูกทีมอย่างหนักให้ไปให้ถึงเป้าหมายนั้น เหมือนที่เขาทำกับทั้ง Tesla และ SpaceX ในทางตรงกันข้าม แนวทางของ Cook กับการบริหาร Apple มักถูกอธิบายว่า "เน้นทำได้จริงในทางปฏิบัติ" และ "ไม่ชอบความเสี่ยง"

เราลองดูด้านนโยบายให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศ เพราะ ทั้ง Twitter และ Apple ก็ต่างต้องการให้พนักงานกลับเข้ามาทำงานที่สำนักงานเช่นเดียวกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าแนวทางของ  Cook จะส่งผลเสียต่อความสุขของพนักงานและวัฒนธรรมองค์กรไม่เท่ากับของ  Musk (พูดง่ายๆ ก็คือแนวทางของ Musk จะส่งผลเสียมากกว่า)

Anna Tavis ศาสตราจารย์จาก NYU School of Professional Studies กล่าวว่า  Musk ทำลายความเชื่อใจระหว่างพนักงานด้วยวิธีที่รุนแรง และทุกครั้งมีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลง เพราะไม่ชัดเจน หุนหันพลันแล่น ทำอะไรตามอารมณ์ความรู้สึก

ในอีกทางหนึ่งเธอกล่าวว่า Apple มีแนวทางที่รอบคอบเสมอ ถึงแม้จะมีแรงกดดันจากพนักงานที่ไม่ต้องการกลับเข้าออฟฟิศ แต่ก็ยังน้อยกว่ามากหากเทียบจากแรงกดดันที่มาจากการเลิกจ้างพนักงาน เธอยังทิ้งท้ายว่า Apple จะรักษาวัฒนธรรมของตนได้ดีกว่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้หลายแห่ง แม้จะเปลี่ยนไปจากเมื่อ 3-4 ปีก่อน ซึ่งบางอย่างเป็นผลจากความพยายามลดต้นทุน

สำหรับผู้เขียน บทความนี้ไม่ได้ต้องการโจมตี Elon Musk เราเชื่อว่าด้วยบุคลิกและการตั้งฝันที่ดูเป็นไปได้ยากแบบ Musk นี่แหละจะช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับโลก เหมือนที่เขาทำอยู่กับ Tesla และ SpaceX ผู้บริหารแต่ละคนก็มีแนวทางการจัดการวิกฤตที่ต่างกันออกไป แนวทางของ Cook อาจจะดูเบาไปก็ได้สำหรับบางองค์กรที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันด่วน ต่สิ่งหนึ่งที่เราคิดว่าผู้บริหารทุกคนควรมีคือ Empathy คุณต้องเข้าอกเข้าใจหรือพยายามทำมัน กับทั้งตัวคุณเอง เพื่อนร่วมงาน ลูกค้าด้วย เพราะมันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม

อ้างอิง : Business Insider

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

วิจัยชี้ ‘Startup’ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จ

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจว่าอะไรที่ทำให้ วัย 40 กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของนักธุรกิจและ Startup หลายคน...

Responsive image

ทำไม Fastwork ขาดทุนเกือบทุกปี ? ฟังเหตุผลของ CK Cheong

Fastwork เป็นอีกหนึ่งชื่อธุรกิจที่มาแรงในช่วงเวลานี้ ด้วยความไวรัลบนโลกออนไลน์ของผู้บริหาร CK Cheong (ซีเค เจิง) ที่มักทำคลิปให้ทัศนะเรื่องการเงิน การใช้ชีวิต และธุรกิจ แต่กลับถูกต...

Responsive image

Founder Model วิถีผู้นำแบบ Brian Chesky CEO เบื้องหลังความสำเร็จของ Airbnb

Founder Mode เป็นแนวทางการบริหารที่กำลังได้รับความสนใจในวงการสตาร์ทอัพ โดยแนวคิดนี้ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางจาก Brian Chesky, CEO ผู้พา Airbnb เติบโตจนกลายเป็นธุรกิจระดับโลก ด้...