บางจากฯ ปรับ Corporate Identity “ใบไม้ใบใหม่” เดินหน้า Vision-Mission สู่การเติบโตที่หลากหลายและอนาคตที่ยั่งยืน | Techsauce

บางจากฯ ปรับ Corporate Identity “ใบไม้ใบใหม่” เดินหน้า Vision-Mission สู่การเติบโตที่หลากหลายและอนาคตที่ยั่งยืน

กลุ่มบริษัทบางจาก ประกาศก้าวสู่ยุคใหม่ผ่านวิสัยทัศน์ Crafting a Sustainable World with Evolving Greenovation (รังสรรค์โลกยั่งยืนด้วยนวัตกรรมสีเขียว) เดินหน้าสร้างความหลากหลายด้านธุรกิจ พร้อมปรับ Corporate Identity ใหม่ในรอบ 20 ปี สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการเป็นองค์กรที่เชื่อมโยงกับสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และดูแลสมดุลระหว่างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืน

ความสม่ำเสมอ สร้างการปรับเปลี่ยนอย่างยั่งยืน

ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าบริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) แชร์มุมมองให้ฟังว่า ทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทันใจเหมือนการเปิดสวิตช์ไฟ แต่กับกลุ่มบริษัทบางจาก เรามองในมุมที่ต่างไป การกระทำหลาย ๆ อย่างต้องอาศัยความต่อเนื่องและระยะเวลาในการทำ มันคือการปลูกฝังจิตสำนึก ไม่ใช่เรื่องง่าย จะทำได้ต้องค่อยๆ เพาะ ทุกอย่างต้องใช้เวลา เหมือนที่บางจากฯ อยากปลูกฝังเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในจิตใต้สำนึก บางเรื่องคนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าทุกคนทำก็จะมีผลกระทบในวงกว้าง ช่วยกันดูแลโลกให้ยั่งยืน

เบื้องหลังความสำเร็จ คือ การลงมือทำจริงจังและต่อเนื่อง บางจากฯ จึงเน้นลงมือทำก่อนพูด ที่ผ่านมา ได้พัฒนาธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมมาโดยตลอด ตั้งแต่บุกเบิกขาย Biofuel ในปั๊มน้ำมัน และเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ริเริ่มแก้วกาแฟที่ไม่ต้องใช้หลอด เปิดรับบริจาคขวดน้ำดื่ม หรือ ขวด PET นำไปรีไซเคิลเปลี่ยนเป็นเสื้อ หมวก มอบให้เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร หรือแม้แต่แพลตฟอร์มให้บริการรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ Winnonie ที่ในวันนี้มีจุดสับเปลี่ยนแบตฯ กว่า 100 แห่ง วิ่งอยู่ในเมืองกันมากมาย

รวมถึงเรื่องราวใกล้ตัวในองค์กรของบางจากฯ อย่างการเลือกใช้ขวดแก้วบรรจุน้ำดื่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ แม้กระทั่งสำนักงานใหญ่ของบางจากฯ ที่อาคาร M Tower ก็ได้รับใบรับรองอาคารสีเขียวระดับนานาชาติ หรือใบรับรอง LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ในระดับ Platinum โดยเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทย ที่ได้รับใบรับรองบนพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (เกิน 10,000 ตารางเมตร) สำหรับงานตกแต่งภายในเชิงพาณิชย์

“ผมคิดว่าการกระทำสำคัญกว่าคำพูด การจะทำสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ทำเพื่อเป็นกระแส แต่ต้องทำมาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพราะการปลูกนิสัยเป็นสิ่งสำคัญถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและถาวร ซึ่งแน่นอนว่า ต้องใช้ความพยายาม ไม่สะดวกสบาย หลายเรื่องเราต้องฝืนเพื่อจะเปลี่ยนซึ่งใช้เวลา” คุณชัยวัฒน์ กล่าว

“ใบไม้ใบใหม่” กับการเดินทางสู่บทใหม่

เมื่อพิสูจน์มาแล้วว่าทำมาถึงจุดเหมาะสม มีอะไรที่ชัดเจนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง บางจากฯ จึงเดินหน้าเสริมให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนนี้ได้ชัดเจนขึ้นภายใต้ Corporate Identity และ Logo ใหม่ 


คุณชัยวัฒน์ กล่าวถึงการเปลี่ยน Corporate Identity ว่า การเปลี่ยน Logo ในครั้งนี้เป็นจังหวะที่ดี กว่า 8 ปีที่ผ่านมากับการบริหารกลุ่มบริษัทบางจาก ถ้าเป็นคนก็น่าจะบรรลุนิติภาวะแล้ว องค์กรมีความมั่นคงมีความยั่งยืนในระดับหนึ่ง จึงอยากจะสะท้อนถึงยุคใหม่ของกลุ่มบริษัทบางจากที่จะก้าวต่อไปด้วยกัน เป็นการเซ็ตฐานกันใหม่อีกรอบหนึ่งในเชิงสัญลักษณ์ในวันที่องค์กรผ่านพ้นจากวิกฤติโควิด และเป็นจังหวะที่ดีที่มี Vision และ Mission ใหม่ ถ่ายทอดผ่าน Corporate Identity ใหม่ 

โลโก้ “ใบไม้ใบใหม่” ยังแสดงให้เห็นถึงความทันสมัย ความหลากหลาย ที่เข้ามาตอบโจทย์องค์กรในวันนี้ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ไม่ใช่น้ำมันอย่างเดียว แต่มีเรื่อง Energizing lives เป็นพลังงานที่เติมเข้าไปในชีวิต มีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพต่าง ๆ ที่เสริมเข้ามาตอบโจทย์ Well-Being ของผู้คนด้วย

จากที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบริษัทลูกของบริษัทอื่นสู่วันนี้ที่กลายเป็น “กลุ่มบริษัทบางจาก” ภายใต้โลโก้ “ใบไม้ใบใหม่” เราจะได้เห็น บางจากฯ เดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลง ผ่านวิสัยทัศน์ Crafting a Sustainable World with Evolving Greenovation ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมสีเขียวไปพร้อมกับการสร้างความสมดุลการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition) และ ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security)

ปรับยุทธศาสตร์ 5 กลุ่มธุรกิจ สู่ The New Era 2030

ความท้าทายครั้งใหม่จะถูกขับเคลื่อนด้วยแผนยุทธศาสตร์การเติบโต ผ่านการดำเนินงานของทั้ง 5 กลุ่มธุรกิจ แบ่งเป็นบริษัทย่อยมากกว่า 65 บริษัทในปัจจุบัน

  • กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน: เดินหน้าเปลี่ยนผ่านธุรกิจพลังงาน ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากน้ำมันยานยนต์ โดยวางแผนรับซื้อน้ำมันใช้แล้วอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปผลิตน้ำมันเครื่องบินจากน้ำมันใช้แล้ว (Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF) ในปี 2024 รวมถึงการหาโซลูชันใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำมันและลดต้นทุนการผลิต
  • กลุ่มธุรกิจการตลาด: บริหารประสบการณ์ลูกค้าให้เป็นมากกว่าสถานีบริการน้ำมัน รวบรวมร้านค้าร้านอาหารที่ลูกค้าชื่นชอบมาไว้ที่สถานีบริการ ส่งมอบ Digital Experience ให้กับสมาชิก โดยสามารถใช้แอปพลิเคชัน สะสมคะแนน แลกส่วนลด รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนพอยต์กับพาร์ทเนอร์ของบางจากได้ นอกจากนี้ยังเดินหน้าติดตั้ง Solar Roof และ EV Charger สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง
  • กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า (BCPG): ตั้งเป้าเดินหน้าสู่ Net Zero โดยการพัฒนา Energy Storage จนถึง การสร้าง Ecosystem ต่างๆ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจแบตเตอรี่ การกักเก็บพลังงาน การให้บริการด้านเทคโนโลยีพลังงาน ตลอดจน การพัฒนา Green Hydrogen ซึ่งเป็นพลังงานที่เผาไหม้แล้วสะอาด 
  • กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (BBGI): นอกเหนือจากการพัฒนาไบโอดีเซล และ เอทานอล ที่บีบีจีไอเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมมาตลอดแล้ว ต่อจากนี้ จะมุ่งเน้นต่อยอดเพื่อพัฒนา High Value Products ขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic Biology หรือ SynBio) รวมไปถึง การพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน สำหรับอุตสาหกรรมการบิน เพื่อส่งออกไปตลาดยุโรปเป็นตลาดหลัก 
  • กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและธุรกิจใหม่: จะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทบางจากจะเข้าไปลงทุน Scale up ธุรกิจที่มาตอบโจทย์ความมั่นคงด้านพลังงาน พร้อมขยายโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ คอยติดตามพัฒนาการของธุรกิจ เมื่อเห็นแนวโน้มการเติบโตจะเข้าไปลงทุนอย่างจริงจัง เช่น ในอดีตที่ผ่านมา ได้เคยเข้าไปลงทุนในเหมือง Lithium ในวันที่ยังไม่มีใครสนใจลงทุน จนได้สิทธิ์ offtake แร่ Lithium ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ในทุกวันนี้ 

นอกจากนี้ ยังมีสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (Bangchak Initiative and Innovation Center BiiC) มีวัตถุประสงค์ในการสร้าง Ecosystem เพื่อผลักดันนวัตกรรมต่างๆ รวมถึงธุรกิจใหม่ๆ อย่างแพลตฟอร์มให้เช่าจักรยานยนต์ไฟฟ้า Winnonie สตาร์ทอัพที่ริเริ่มขึ้นในกลุ่มบริษัทบางจาก ที่วางแผนจะ Scale up เพิ่มจุดเปลี่ยนแบตเตอรี่ พร้อมพัฒนาธุรกิจสู่ Battery-as-a-service เพื่อให้ผู้ใช้จักรยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้บริการจุดสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ปั๊มบางจากและพื้นที่อื่นๆ ได้อย่างทั่วถึง

ก้าวย่างต่อไปของกลุ่มบริษัทบางจากจะมั่นคงและมีสมดุล ขาหนึ่งเราต้องการสร้างความมั่นคง ส่วนอีกขาหนึ่งก็พยายามหานวัตกรรมเข้ามาตอบโจทย์ เพื่อ Balance ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นการเดินทางที่ต้องใช้เวลาพอสมควร ขณะเดียวกันเราต้องช่วยกันสร้างสรรค์ เพื่อไปในทิศทางที่โลกกำลังมุ่งไป โดยดำเนินธุรกิจด้วยความคำนึงถึงสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีความรับผิดชอบต่อทุกภาคส่วน เราเริ่มลงทุนกับสิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น Hydrogen หรือ Carbon Capture ต่างๆ เพื่อไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2030 ก่อนจะถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero GHG Emission ในปี 2050คุณชัยวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...

Responsive image

David Capodilupo จาก MIT Sloan เปิดเหตุผลตั้งสำนักงานในไทย ต้นแบบสู้ Climate Change อาเซียน

David Capodilupo ผู้ช่วยคณบดีด้านโครงการระดับโลกของ MIT Sloan เผยเหตุผลที่สถาบันเข้ามาตั้งสำนักงานในไทย เพื่อให้ไทยเป็นฮับอาเซียน ในการส่งเสริมการเรียนการสอน การวิจัยพัฒนา การแก้ปั...

Responsive image

SAF เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน อุปสรรค และโอกาสครั้งใหญ่ของไทย ถอดแนวคิด Yap Mun Ching ผู้บริหารด้านความยั่งยืนแห่ง AirAsia

การเดินทางทางอากาศ แม้จะเชื่อมโยงโลกเข้าด้วยกัน แต่ก็สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การลดคาร์บอนจึงเป็นภารกิจสำคัญของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และเชื้อเพลิงการบินที่...