บ้านปูในฐานะผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลายในระดับนานาชาติ (International Versatile Energy Provider) ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าและความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียและสังคมอย่างต่อเนื่อง ด้วยจุดยืนที่จะส่งมอบ “Smarter Energy for Sustainability: อนาคตพลังงานเพื่อความยั่งยืน”
การดำเนินงานด้าน ESG เป็นสิ่งที่บ้านปูได้มีความตระหนักรู้และหยั่งรากลึกในองค์กรมายาวนาน และได้ดำเนินกิจการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักความยั่งยืนมาโดยตลอด โดยล่าสุดได้จัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environmental, Social and Governance: ESG) อย่างเป็นทางการ โดยมีคุณพิริยะ เข็มพล เป็นประธานประธานคณะกรรมการ ESG
นอกจากนี้ บริษัทฯ มุ่งตอบสนองความต้องการด้านพลังงานแห่งอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เข้าถึงได้ และมีความชาญฉลาดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สอดรับกับเทรนด์ 3Ds ของโลก (Decarbonization Decentralization และ Digitalization) สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแล เพื่อช่วยให้ภารกิจสู่การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน การทำธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากผลการดำเนินงานด้านการเงินจะมีความสำคัญแล้ว ธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียซึ่งได้ขยายวงไปเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน นอกเหนือจากผู้ถือหุ้น ยังครอบคลุมถึงพนักงาน ภาครัฐ ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม (ทั้งในและต่างประเทศ) ดังนั้นการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพราะล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกัน กล่าวคือ ธุรกิจต้องอยู่ร่วมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างพึ่งพาอาศัยกันและกัน ซึ่งในปัจจุบันเรียกรวมๆ ว่าการดำเนินงานด้าน ESG ซึ่งเป็นเป้าหมายภายใต้แนวความคิดการสร้างความยั่งยืน (Sustainability)
ทั้งนี้ การมีคณะกรรมการ ESG ซึ่งเป็นกรรมการอิสระ จะเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นที่จะมาช่วยกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง และจะทำงานร่วมกับผู้บริหารในการจัดการเรื่อง ESG ให้มีความชัดเจน เป็นกลาง และก่อประโยชน์สูงสุดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน
คณะกรรมการ ESG จะคอยให้คำแนะนำในด้านกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง, พิจารณานโยบาย เป้าหมาย การดำเนินงาน และผลลัพธ์, ตรวจสอบและติดตามการบริหารความเสี่ยงด้าน ESG และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย, ตลอดจนดูแลเรื่องการเปิดเผยข้อมูล ESG ที่สำคัญออกสู่สาธารณะ, รวมถึงเสนอแนะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ESG ซึ่งอาจส่งผลต่อการมีส่วนได้เสียของธุรกิจหรือการดำเนินงานองค์กร, รวมทั้งปฏิบัติหน้าอื่นๆ ร่วมกับคณะผู้บริหารบริษัทฯ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน ESG ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด
เป็นตัวแทนของบอร์ดบ้านปูที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเรดาร์จับทิศทาง และร่วมมือกับฝ่ายบริหารในการขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางที่เหมาะสม
เป็นกรรมการอิสระที่มีความรู้ความสามารถในหลายด้าน จึงสามารถนำเสนอข้อคิดเห็นและมุมมองที่มีความเป็นกลางและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหาร
บ้านปูมุ่งให้ความสำคัญในประเด็นที่สอดคล้องกับทิศทาง ESG และการประเมินความเสี่ยงระยะสั้นและระยะยาวของโลก โดยมีตัวอย่างการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมดังนี้
บ้านปูสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ประกาศเป้าหมายระยะยาวด้าน ESG ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ทั้ง 7 ข้อ โดยมุ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับ 3 เป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อม ได้แก่
ข้อที่ 7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ (affordable and clean energy) โดยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้มากกว่า 1.1 GW ภายในปี 2568
ข้อที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate action) โดยภายในปี 2568 จะลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับการดำเนินธุรกิจตามปกติสำหรับธุรกิจเหมือง และร้อยละ 20 สำหรับธุรกิจไฟฟ้า
ข้อที่ 15 ระบบนิเวศบนบก (life on land) ภายในปี 2568 บ้านปูกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุผลกระทบสุทธิเชิงบวกหลังสิ้นสุดการทำเหมือง สำหรับเหมืองที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (หลังสิ้นสุดการทำเหมืองจะฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้ดีกว่าก่อนเริ่มทำเหมือง)
บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ Greener & Smarter เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและพลังงานเชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น และการสร้างธุรกิจใหม่ๆ ที่ตอบสนองแนวโน้มและความต้องการพลังงานแห่งโลกอนาคต โดยบ้านปูได้วางเป้าหมายว่าภายในปี 2568 EBITDA มากกว่าร้อยละ 50 จะมาจากธุรกิจพลังงานที่สะอาดขึ้นและเทคโนโลยีพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการดำเนินโครงการต่างๆ ได้แก่
โครงการ “ฐานผลิตแห่งอนาคต” (Pad of the future) ติดตั้งอุปกรณ์วัดปริมาณก๊าซ และอุปกรณ์ดักจับคาร์บอนอัตโนมัติ และลดขนาดสาธารณูปโภครวมที่ปล่อยของเสียในพื้นที่ ในแหล่งก๊าซธรรมชาติมาร์เซลลัส (Marcellus) บริเวณฐานผลิต Trecoske North ส่งผลให้ประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซ GHG ออกสู่ชั้นบรรยากาศ
การลดการปล่อย GHG ของโรงไฟฟ้า Zouping และโรงไฟฟ้า Luannan โดยติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบของพัดลมที่ปล่องระบายความร้อนและที่เครื่องบดถ่านหิน
ทำให้สามารถลดรอบการหมุนได้ในช่วงเวลาที่กำลังการผลิตต่ำ ส่งผลให้ประหยัดพลังงาน
ลดการปล่อยก๊าซ GHG ออกสู่ชั้นบรรยากาศ
การดำเนินโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ซึ่งเป็นโครงการะยะยาวที่เหมืองในอินโดนีเซีย เป็นกิจกรรมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของ ITM เช่น การสำรวจ การศึกษาภาคสนาม และการรวบรวมพืชพันธุ์ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการวิจัยที่พัฒนาขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาอนุรักษ์พืชพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซีย
การจัดตั้ง Decarbonization Project Working Group เพื่อศึกษาแนวทางการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ของบริษัท
บ้านปูมุ่งสร้างและขยาย Social Impact ตั้งแต่ระดับภายในองค์กรจนถึงภายนอกองค์กร สังคม ตลอดจนประเทศชาติ (Inside to Outside)
บ้านปูมุ่งเน้นเรื่องการจัดการและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน การจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การทำงานชุมชนสัมพันธ์ และการพัฒนาชุมชน
บ้านปูมีวัฒนธรรมองค์กร Banpu Heart ที่เชื่อมโยงและหลอมรวมพนักงานจากหลากหลายเชื้อชาติและต่างวัฒนธรรมใน 10 ประเทศที่บ้านปูดำเนินธุรกิจ และการดำเนินโครงการชุมชนสัมพันธ์ งานพัฒนาชุมชน และโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ได้แก่
โครงการด้านชุมชนสัมพันธ์และการพัฒนาชุมชน
งานส่งเสริมและพัฒนาชุมชนรอบเหมืองในอินโดนีเซีย
งานพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในจีน
งานชุมชนสัมพันธ์ของบริษัทย่อยในออสเตรเลีย
การเตรียมแผนงานชุมชนสัมพันธ์สำหรับธุรกิจในเวียดนามและสหรัฐฯ
โครงการเพื่อสังคม
โครงการด้านการศึกษา : โครงการสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (BES) สนับสนุนให้มีครูภาษาอังกฤษเจ้าของภาษาเข้ามาสอนในโรงเรียนทั้ง 6 แห่งในจังหวัดลำพูน ลำปาง และพะเยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่บ้านปูเคยดำเนินธุรกิจ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษแก่นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาครู พัฒนาการบริหารจัดการ และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน และเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตให้กับผู้เรียน รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
โครงการ Banpu Champions for Change (BC4C) โดยความร่วมมือระหว่างบ้านปูกับ Change Fusion มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมซึ่งเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้ต่อยอดไอเดียธุรกิจให้เติบโตทั้งในด้านรายได้และผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม
โครงการ Power Green Camp (PWG) โดยความร่วมมือระหว่างบ้านปูและคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้แก่เยาวชน
โครงการออกแบบเกม ออกแบบสังคม โดยความร่วมมือระหว่างบ้านปูและคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนอาชีวศึกษาให้มีทักษะของนวัตกรรุ่นใหม่ผ่านกระบวนการสร้างบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้
กองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19 จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส
โควิด-19 ให้แก่โรงพยาบาลและหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมถึงช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบเชิงเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 โดยปัจจุบันกองทุนฯ มีงบประมาณรวม
1,000 ล้านบาท
บ้านปูมุ่งเน้นประเด็นการกำกับดูแลกิจการอย่างยั่งยืน การดูแลจริยธรรมทางธุรกิจ การจัดการ
คู่ค้าและผู้รับเหมา การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการจัดการความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Data Privacy & Cybersecurity)
การจัดตั้งทีมงาน Incident Management Team หรือ IMT ในการบริหารจัดการในสภาวะวิกฤต ทำให้การดูแลความปลอดภัยของพนักงานและการดำเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์
โควิด-19 ที่ผ่านมาเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
การจัดตั้งหน่วยงาน Digital Center of Excellence (DCOE) เพื่อขับเคลื่อนบ้านปูให้พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) โดยนำนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวคิดแบบดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้อย่างชาญฉลาดทั่วทั้งองค์กร ควบคู่ไปกับการทำงานรูปแบบใหม่
ที่รวดเร็วและคล่องตัว "Agile Working" มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานในทุกส่วน
การจัดตั้งคณะกรรมการ ESG สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการกำกับดูแล เพื่อช่วยให้ภารกิจสู่การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนมีความชัดเจนและ
เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
การยกระดับความรับผิดชอบด้าน ESG ใน Supply Chain โดยผนวกเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการคู่ค้า โดยได้ใช้ระบบ ESG Audit Performance ในกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าและผู้รับเหมารายใหม่ก่อนเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และคู่ค้าที่ร่วมงานกันอยู่ในปัจจุบัน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด