ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมที่กองทัพซ่อนไว้ ปล่อยคาร์บอนมหาศาล แต่ไม่เคยรายงาน Carbon Footprint | Techsauce

ผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมที่กองทัพซ่อนไว้ ปล่อยคาร์บอนมหาศาล แต่ไม่เคยรายงาน Carbon Footprint

จากการสำรวจพบว่า กองทัพมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.5% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก แต่กลับไม่ต้องรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซพิษเหล่านี้ เราจึงไม่ได้รับรู้ถึงตัวเลขที่แท้จริง ในขณะที่ สถานการณ์ Climate Change ทั่วโลกรุนแรงจนไม่สามารถให้ข้อยกเว้นกับใครได้แล้ว 

กองทัพประเทศไหนสร้างมลพิษมากที่สุด 

ตามรายงานของ Scientists for Global Responsibility (SGR) เผยว่ากองทัพของสหราชอาณาจักรในปี 2018 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ10 ล้านเมตริกตัน กองทัพของสหภาพยุโรปในปี 2019 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 23 ล้านเมตริกตัน ซึ่งเทียบเท่าการปล่อยมลพิษของรถยนต์ประมาณ 14 ล้านคันใน 1 ปี โดยมีกองทัพของฝรั่งเศสเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุดในสหภาพยุโรป 

ทำไมกองทัพไม่ต้องรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ถึงแม้จะเห็นได้ชัดว่ากิจกรรมทางการทหารของกองทัพจะปล่อยมลพิษมหาศาล แต่การที่กองทัพเหล่านี้ไม่ต้องชี้แจ้งปริมาณการปล่อยคาร์บอนนั้นมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้

  • พิธีสารเกียวโต: ข้อตกลงระหว่างประเทศที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายโดยมีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่ได้ระบุว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางการทหารเป็นสิ่งที่ต้องรายงาน เช่น การใช้เครื่องบินไอพ่น เรือใบ และการฝึกซ้อม เป็นต้น
  • ความตกลงปารีส: ข้อตกลงใหม่นอกเหนือจากพิธีสารเกียวโต เพื่อให้มีผลผูกพันครอบคลุมประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ของโลก ยกเว้นการรายงาน เพราะเชื่อว่าการเปิดเผยข้อมูลการใช้พลังงานเหล่านี้ของกองทัพอาจจะส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ

ชี้ให้เห็นว่าการปล่อยมลพิษจากกองทัพไม่ได้นับรวมอยู่ในข้อตกลงด้วยซ้ำ ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์และกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมก็กำลังกดดันให้องค์การสหประชาชาติ (UN) ช่วยผลักดันกองทัพให้เปิดเผยข้อมูลการปล่อยมลพิษทั้งหมดที่พวกเขาก่อขึ้น เหมือนกับในอุตสาหกรรมและภาคส่วนอื่น ๆ 

ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมจึงได้เขียนจดหมายเพื่อผลักดันให้ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ระบุว่ามลพิษทั้งหมดที่เกิดจากกองทัพจะต้องถูกนำมาใช้ในการคำนวณปริมาณมลพิษโดยรวมของโลก

กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กล่าวว่า ยังไม่มีแผนที่ชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรายงานการปล่อยมลพิษทางการทหาร แต่หัวข้อนี้อาจถูกหารือในการประชุมว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ COP28 ที่ดูไบ

ท่าทีจากกองทัพ

จากกระแสเหล่านี้ทำให้กองทัพหลายหน่วยเริ่มเตรียมพร้อมถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดในการรายงาน 

  • NATO มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงความโปร่งใสและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษทางการทหารของประเทศสมาชิก
  • นิวซีแลนด์ กำลังพิจารณารวบรวมการปล่อยมลพิษจากพื้นที่ที่ไม่เคยวัดผลมาก่อน เช่น การปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานในต่างประเทศ
  • อังกฤษและเยอรมนี กำลังพยายามชี้แจงและปรับปรุงการรายงานเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษทางการทหาร
  • สหรัฐอเมริกา เริ่มลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานจำนวนมาก เช่น ถอนทหารสหรัฐฯ ออกจากอัฟกานิสถานและอิรัก ใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนมากขึ้น ใช้ยานพาหนะที่ประหยัดเชื้อเพลิงมากขึ้น ฝึกซ้อมทางทหารน้อยลง และเปลี่ยนมาใช้โดรนเพื่อลดการปล่อยมลพิษ
  • ยูเครน เข้าใจดีเรื่องการทำสงครามของประเทศที่อาจปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงถึง 109 ล้านเมตริกตัน และพร้อมสนับสนุนประเด็นการรายงานการปล่อยมลพิษทางการทหารที่โปร่งใสในการประชุม COP28

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า มลพิษที่เกิดจากกิจกรรมทางการทหารไม่ได้รับความสนใจมากพอ เนื่องจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับความมั่นคงของชาติมากกว่า กองทัพบางส่วนกล่าวว่าการเปิดเผยข้อมูลการใช้พลังงานและการปล่อยมลพิษอาจส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการทางการทหารได้ ซึ่ง Stuart Parkinson ผู้นำกลุ่ม Scientists for Global Responsibility ก็กล่าวว่า 

คงเป็นเรื่องยากในการลดมลพิษ ถ้าทุกคนพยายามปฏิบัติตามกฎ แต่กองทัพกลับไม่ต้องปฏิบัติตามกฎเดียวกัน

อ้างอิง: euronews

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

บางจาก ได้สินเชื่อรายแรกในไทย 6,500 ล้านบาทเพื่อพัฒนา SAF จากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

ธนาคารยูโอบี มอบสินเชื่อ 6,500 ล้านบาท สนับสนุนบางจากฯ พัฒนาโครงการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) แห่งแรกในไทย ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด 80% เพื่อเป้าหมาย Net Zero 20...

Responsive image

One Bangkok จับมือ 5 สถาบันการเงินชั้นนำ รับดีล Green Loan สูงสุดในประวัติการณ์เพื่อพัฒนาโครงการ

One Bangkok ประกาศลงนามสัญญาสินเชื่อสีเขียวระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการมูลค่า 5 หมื่นล้านบาทร่วมกับ 5 สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศ...

Responsive image

เจาะลึกวิกฤตน้ำกับ TCP เมื่อน้ำกำลังจะกลายเป็นของหายาก

วิกฤตน้ำทั่วโลกส่งผลกระทบหนักต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจ TCP เสนอแนวทางแก้ไขผ่าน Nature-based Solutions และกลยุทธ์บริหารจัดการน้ำ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจไทยในยุคโลกร้อน...