สิ้นปี 2018 Mobile Application จะอยู่หรือจะไป? | Techsauce

สิ้นปี 2018 Mobile Application จะอยู่หรือจะไป?

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกวด Tech Saucier of The Year 2018 โดยคุณวิภาณี วชิระศรีสุนทรี
  • โลกธุรกิจแอปพลิเคชันนี้มันยังไง ? ทําไมใครๆก็ทํา ?
  • แอปพลิเคชันอะไรบ้างที่ทํารายได้สูงเป็นอันดับต้นๆในเมืองไทย
  • กรณีศึกษาแอปพลิเคชัน

โลกธุรกิจแอปพลิเคชันนี้มันยังไง ? ทําไมใครๆก็ทํา ?

นี่มันก็จะครบสิบปีแล้วที่แอปพลิเคชั่นกลายเป็นนวัตกรรมทางซอฟท์แวร์อย่างหนึ่งของโลก ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนจาก หน้ามือเป็นหลังมือ คงไม่มีใครปฎิเสธได้ว่าทุกวันนี้ เราอยู่ในโลกธุรกิจของแอปพลิเคชันอย่างแท้จริง แอปพลิเคชันเป็นช่องทางการเข้าถึงคนในยุคปัจจุบัน โดยมีเจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอยู่สามเจ้า IOS Android Amazon โดย Amazon ยังคงตามหลัง IOS กับ Android อยู่มากในด้านของการใช้งานและตัวเลขแอปพลิเคชันในแพลตฟอร์ม

Fun Facts

  • Facebook ยังคงเป็นแอปฯ ที่ครองโลก (comScore)
  • คนใช้แอปฯ เฉลี่ยประมาณ 9 แอพพลิเคชั่นต่อวัน 30 ต่อเดือน (TechCrunch)
  • 2.2 ล้าน คือตัวเลขของแอปพลิเคชันทั้งหมดในระบบปฎิบัติการ IOS (Statista)
  • 3 ล้าน คือตัวเลขของแอปพลิเคชันทั้งหมดในระบบปฎิบัติการ Android
  • ยอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากปี 2016-2017 (Statista)
  • 8/10 ของแอปฯ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก อยู่ในมือของสองค่ายดังอย่าง Facebook และ Google
  • (comScore)
  • ผู้บริโภคใช้แอปฯ เพียงแค่หยิบมือ และมีการลบแอปฯเรื่อยๆเมื่อไม่ใช้งาน
  • Amazon ได้รับเลือกให้เป็นแอปพลิเคชันที่จําเป็นต่อชีวิตมากที่สุด จากการสํารวจคนช่วงอายุ 18-34 ปี
  • คนไทยใช้เวลาเฉลี่ยเกือบ 5 ชั่วโมงต่อวันกับโทรศัพท์

ใครจะไปรู้ว่าอยู่ๆ เราก็เหมือนจะวาปข้ามาอยู่ในจุดที่เราสั่งอาหารโดยไม่รู้ด้วยซ้ําว่าร้านหน้าตาเป็นยังไง เรากดเงินโดยไม่ต้องใช้บัตร เราหาคู่โดยการเลื่อนซ้ายขวา เราคุยกับเพื่อนโดยไม่ต้องเสียค่าโทรสักบาท ตั้งแต่สั่งอาหาร กดเงิน หาคู่ เข้าสังคม จะเห็นได้ว่าแอปฯเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตคนตั้งแต่เรื่อง เล็กๆไปจนถึงเรื่องใหญ่ จะว่าไปชีวิตเราดูจะง่ายขึ้น เร็วขึ้น สะดวกสะบายมากขึ้นจากโลกของแอปพลิเคชัน ที่ทุกอย่าง ทําได้ด้วยปลายนิ้ว

แอปพลิเคชันจึงถือเป็นธุรกิจ B2C รูปแบบใหม่ของคนในยุคปัจจุบัน ที่สเกลได้โดยที่ต้นทุนค่อนข้างคงที่ เข้า ถึงคนได้อย่างไม่จํากัด ในไทยเองช่วงที่ผ่านมาหลายอุตสาหกรรมในธุรกิจ B2C ต่างก็ถูก disrupt ผ่านแอปพลิเคชันกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง โทรคมนาคม ไปจนถึงเมื่อไม่นานมานี้ที่เห็นชัดๆกันก็คือ การเงินและธนาคารที่เปลี่ยนตัวเองครั้งใหญ่เข้าสู่ยุคของ Mobile banking

แอปพลิเคชันอะไรบ้างที่ทํารายได้สูงเป็นอันดับต้นๆในเมืองไทย

จากการจัดอันดับของเว็บ apptrace.com ในหมวดหมู่แอปพลิเคชันที่มีรายได้มากที่สุดของวันที่ 22 พฤศจิกายน

2561โดยแบ่งออกเป็นแอปพลิเคชันที่อยู่ในหมวดเกม และ หมวดอื่นๆ

หมวดเกม จากเกมที่สร้างรายได้มากที่สุดในประเทศไทยในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า สามในห้า เป็นบริษัทลูกของ Tencent ซึ่งเป็นบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีฐานที่ประเทศจีน นอกจากนี้ยังเรายังเห็นได้ถึงความพยายามของ กลุ่ม LINE กับการเข้าลงมาให้ความสำคัญกับธุรกิจเกมโทรศัพท์มือถือ หมวดอื่นๆ สิ่งที่เห็นหลักได้จากความนิยมและการทำรายได้ของแอปพลิเคชันในประเทศไทยก็คือ เทรนด์พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนตามโลกธุรกิจแอปฯ ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์การอ่านหนังสือ E-Book ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆและผู้นำตลาดการอ่านอย่าง Meb และ แพลตฟอร์มการอ่านการ์ตูนอย่าง Comico นอกจากนี้อีกเทรนด์หนึ่งที่น่าสนใจก็คือ Online Video ที่ Netflix ที่มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่เปิดให้บริการในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และ เทรนด์ Live stream อย่างแอพพลิเคชั่น BIGO กับกระแสให้หนุ่มสาวไลฟ์ถ่ายทอดชีวิตที่สามารถสร้างรายได้จากผู้เข้าชม โดย ที่ผ่านมา BIGO เปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งานกว่า 16 ล้านคนต่อเดือน 4 แสนคนต่อวัน

Case Studies

1. เพิ่มประสบการณ์การดื่มกาแฟที่ดีผ่านแอปพลิเคชัน

ภาพจาก Techcrunch

แอปพลิเคชันของสตาร์บัคส์เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะการสร้างแอปพลิเคชันของสตาร์บัคส์ เป็นสิ่งที่มาเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้แก่ผู้ใช้อย่างแท้จริง มีตัวเลขผู้ใช้ และ MAU (Monthly Active User) เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

ข้อมูลจาก eMarketer ระบุว่า จากคนในสหรัฐอเมริกากว่า 55 ล้านคน กว่าร้อยละ 40 ใช้งานแอปพลิเคชันสตาร์บัคส์

เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งใน E-payment ที่ได้รับความนิยมสูงกว่า Apple Pay, Google Pay หรือ Android Pay ความสำเร็จของสตาร์บัคส์มาจากปัจจัยหลัก 3 เรื่อง 1.) การใช้ Loyalty Program

2.) การเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาบริการและประสบการณ์ของลูกค้า

3.) การเสนอโปรโมชั่นส่วนลด ตามสถานที่ที่ลูกค้าอยู่

2. การตลาดผ่านแฮชแทช

Bejeweled

ภาพโดย Oursocialtimes

แอปฯ เกมเพชรที่เคยติดอันดับเกมยอดนิยม โดยบริษัทเกมอย่าง PopCap Games ใช้วิธีการโปรโมทแอปฯ ผ่านการใช้ #shinyplace ในอินสตาแกรมผ่าน Influencer กับการโฆษณาผ่านยูทูป ผลตอบรับถือว่าค่อนข้างประสบความสำเร็จ ยอดดาวน์โหลดเพิ่มขึ้น และ เลื่อนอันดับขึ้นจาก 702 ไป 182 จากการจัดอันดับเรทติ้งของ Apple Store

การใช้ # เป็นการสร้างความสนุกกับผู้เล่น โดยใช้จิตวิทยาการที่คนเล่นได้อวดคะแนนกับเพื่อน เพื่อเป็นการเกทับไปทับมา ยิ่งคนเห็นข้อความเยอะก็เป็นการเพิ่ม Awareness ให้กับเกม

Moral of the story 1.) โลกธุรกิจแอพพลิเคชั่น ไม่ใช่แค่เทรนด์ที่ผ่านมาและผ่านไป แต่เป็นอีกนวัตกรรมที่จะอยู่ คนจะทำแอปฯ ต่อไปประหนึ่งการเปิดร้านกาแฟ 2.) แอปฯ ยอดนิยมเป็นอีกสิ่งที่บอกเทรนด์พฤติกรรมคนในประเทศได้กลายๆ ว่าคนในสังคมมีแนวโน้มทำอะไร 3.) จะทำแอปฯ ต้องคิดถึงประสบการณ์ผู้ใช้ให้มากที่สุด

 

ภาพ Cover โดย Rami Al-zayat

อ้างอิง

Business of apps.com, Techcrunch.com (1),  Techcrunch.com (2), DZone.com, Mobileaction.co, Mediakix.com

 

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...