3 บทเรียนจาก "Steve Wozniak" ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple Inc. สรุปจากงาน BDL accelerate 2016 ประเทศเลบานอน | Techsauce

3 บทเรียนจาก "Steve Wozniak" ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple Inc. สรุปจากงาน BDL accelerate 2016 ประเทศเลบานอน

ในช่วงปลายปีของทุกปี ประเทศเลบานอนจะมีการจัดงาน Tech Conference ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมถึงมีงาน Hackathon ที่ใหญ่ที่สุดรวมอยู่ด้วยเช่นกัน โดยปีนี้ผู้จัดได้นำ tech star ระดับโลกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Tony Fadell ผู้สร้าง iPod และ iPhone, Brett King ผู้ที่ได้ยกย่องว่าเป็น American Banker's Innovator of the Year, Renaud Visage Co-Founder & CTO ของ Eventbrite และรวมถึงพระเอกของงานนี้ Steve Wozniak Co-Founder of Apple Inc. เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ 3-5 พฤษจิกายนที่ผ่านมา

โดยในปีนี้ Techsauce ได้รับเชิญให้ไปเข้าร่วมงาน BDL accelerate 2016 และไม่ลืมที่จะเก็บ Highlight จากวอซรวมถึงงานในครั้งนี้มาฝากชาว Techsauce อีกเช่นเคย

steve-wozniak-3

3 บทเรียนจาก Steve Wozniak

1. Be Geek!

วอซคือตัวจริงในด้านนี้ ลองคิดดูว่าหากสตีฟ จ๊อป ไม่มีวิศวกรที่เก่งและรักในการสร้างอย่างวอซ วันนี้คงไม่มีแอปเปิ้ล บริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก และด้วยเวลาที่ประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน จนหลายคนคิดว่าวอซ จะต้องนำเงินที่มีไปลงทุนใน Startup ต่างๆ ผันตัวเองกลายเป็นนักลงทุน แต่ที่จริงแล้วนั้น ไม่มีเลย! เพราะด้วยความที่เป็น Geek จัดชัดเจน ถึงขั้นปฏิญาณกับตัวเองว่า 'Engineer for life' จึงไม่สนใจด้านการลงทุน แถมยังทิ้งท้ายฝาก Startup หน้าใหม่ไว้ภายในงานด้วยว่า หากคุณอยากให้บริษัทของคุณประสบความสำเร็จ คุณต้องหา Engineer ที่หลงใหลในการสร้าง รักการเรียนรู้ด้วยตัวเอง แม้จะไม่มีบทเรียนใดๆที่สอนในโรงเรียนเลยก็ตาม แต่ก็ยังสามารถสร้างบางสิ่งขึ้นมาได้ จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง

2. Giving Back

ไม่ลืมคนที่ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ เมื่อวันที่ Apple ประกาศขายหุ้น IPO ให้กับคนทั่วไป วอซไม่ลืมว่า พนักงานกว่า 80 ชีวิตในวันนั้น คือคนที่คอยผลักดัน ช่วยให้แอปเปิ้ลเติบโตมาได้ จึงสละหุ้นตัวเองบางส่วนเพื่อขายให้กับพนักงานแอปเปิ้ล อีกทั้งยังให้หุ้นกับกลุ่มคนที่ช่วยเหลือแอปเปิ้ลในช่วงแรก ตอนที่ยังมีกันแค่ 3 คน ไม่เพียงเท่านั้น นอกจากภายในบริษัทแอปเปิ้ลเองแล้ว วอซยังให้กลับคืนสู่สังคม บริจาคให้กับโรงเรียนต่างๆ รวมถึงสละเวลาส่วนตัวเพื่อสอนเด็กเหล่านั้น ด้วยบทเรียนที่ตัวเองคิดค้นขึ้นมาเองอีกด้วย

steve-wozniak-1

3. Don't throw away your time อย่าโยนเวลาของคุณทิ้ง

หากวันนี้คุณมีเวลาว่างให้ลงมือทำ side project เพื่อสร้างอะไรบางอย่างขึ้นมา วอซ ได้ยกตัวอย่างว่าในขณะที่เค้าอยู่ HP ทำงานประจำ ได้นำเวลาช่วงเลิกงานมาสร้างบางอย่างที่น่าอัศจรรย์ขึ้นมาได้ ดังนั้นในขณะที่คุณอยู่ในวัยที่มีทั้งพละกำลังที่แข็งแรง มันสมองที่พร้อมพัฒนา อย่าเอาเวลาไปเผาทิ้ง ด้วยการดูทีวี ปาตี้ ต่างๆ เพราะนั่นคือเวลาที่คุณจะสร้างเพื่อตัวของคุณเอง ซึ่ง Marvin Liao Partner ที่ 500 Startup ก็ได้ให้คำแนะนำเช่นเดียวกันนี้ภายในงาน โดยบอกว่า จากประสบการณ์ที่เค้าลงทุนกว่า 250 บริษัท การทำ side project นั้น นอกจากจะช่วยให้คุณสร้างบางอย่างเพื่อตัวคุณเองแล้ว ยังสร้างช่องทางรายได้เพิ่มอีกทางด้วย เมื่อคุณมีรายได้จากหลายทาง ความเสี่ยงทางการเงินของคุณจะลดลง และยังได้พัฒนาทักษะใหม่ๆ เพราะหลายๆอย่างที่คุณไม่เคยทำ คุณจะได้ทำจากการเริ่ม side project ของตัวเอง!

 

ความแตกต่างระหว่างไทยกับเลบานอน เรื่อง Startup และการสนับสนุน

โดยรวมแล้ว ถือว่า Startup ของไทยนั้นดีกว่า จับต้องได้และเติบโตมากกว่า หนึ่งสาเหตุอาจมาจากจำนวนประชากรที่น้อยกว่าอย่างชัดเจน เลบานอนมีจำนวนประชากรภายในประเทศเพียงแค่ 5 ล้านคน แต่จำนวนประชากรอาศัยภายนอกประเทศกลับมีถึง 20 ล้านคน (4 เท่าตัว) ซึ่งการเปรียบเทียบตรงๆอาจดูสู้ไม่ได้ แต่เรื่องการวางโครงสร้างสู่อนาคต ประเทศไทยยังทำได้ไม่ดีนักในจุดนี้ รัฐบาลพยายามเข้ามามีบทบาทในวงการ แต่ขาดซึ่งความเข้าใจ และ know-how จึงทำให้การทำงานต่างๆช้าลง เมื่อเทียบกับ เลบานอน ที่รัฐบาลไม่เข้ามามีบทบาทในส่วนที่ตัวเองไม่เข้าใจ และปล่อยให้ภาคเอกชนพัฒนากันเอง โดยมีธนาคารเป็นผู้สนับสนุนหลัก ทำให้เคลื่อนตัวได้เร็ว และพัฒนาอย่างที่มันควรจะเป็น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...