Startup 101: 4 เหตุผลที่ Startup ควรต้องรู้กฎหมาย | Techsauce

Startup 101: 4 เหตุผลที่ Startup ควรต้องรู้กฎหมาย

สิ่งที่ Startup ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญช่วงเริ่มต้น มักจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาสินค้าและบริการ การสร้างทีม การสร้างยอด ให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ “กฎหมาย” ก็เป็นเรื่องที่ Startup ไม่ควรละเลย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้น ระหว่างทาง หรือช่วงที่กำลังเติบโต

ไม่รู้กฎหมาย แต่ทำผิด ก็คือ “ผิด”

ยกตัวอย่างใกล้ตัว เช่น เรื่องพนักงาน การสร้างทีมเป็นเรื่องที่ Startup ต้องพบเจออยู่แล้ว ส่วนใหญ่มักจะดูแลกันแบบ “ครอบครัว” เหมือนพี่เหมือนน้อง มีอะไรช่วยเหลือกัน แต่พอขนาดครอบครัวแห่งนี้เริ่มใหญ่ขึ้น การดูแลก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย เราจะอ้างว่าไม่รู้ ไม่ได้ เพราะถึงไม่รู้ แต่ทำผิด ก็คือผิด เช่น เรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่พนักงานควรจะได้รับ

รู้ข้อดี-ข้อเสีย ของสิ่งที่กำลังจะทำ

เช่น การระดมทุนจากนักลงทุน หาก Startup มีพื้นฐาน รู้ลักษณะการระดุมทุน รู้รูปแบบของนักลงทุน และรู้รายละเอียดโครงสร้างการทำสัญญาอยู่แล้ว จะทำให้มีภูมิต้านทานในการรับมือ และเจรจาต่อรองมากกว่า

วางแผนรับมือได้

เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ใครเป็นเจ้าของ หรือถือกรรมสิทธิใน ทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ก่อตั้ง(Founder) พนักงาน หรือบริษัท และควรจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ใช้ในการประกอบธุรกิจหรือไม่ ถ้าหากรู้เรื่องข้อกฎหมายก็จะทำให้วางแผนรับมือได้ดียิ่งขึ้น

โตได้ ขยายง่าย

เช่น เรื่องการเงิน การบัญชี ถ้าเราจัดการอย่างถูกวิธี และถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากจะดีต่อเรื่องการจัดการภาษีแล้ว ยังดีต่อการตัดสินใจของนักลงทุนด้วย เพราะบัญชีการเงิน คือประวัติชั้นดีของบริษัท หากเราวางโครงสร้างและจัดการไว้อย่างถูกต้อง การจะขยายขนาดองค์กรก็ไม่ใช่เรื่องยาก

สรุปเนื้อหาจากการบรรยายเรื่องกฎหมาย ในโครงการ The Future of Startup อนาคต Startup ไทย ณ สำนักงาน Baker McKenzie ประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...