IBM เผย 5 นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมห่วงโซ่การผลิตอาหารในอีก 5 ปีข้างหน้า

IBM เผย 5 นวัตกรรมที่จะพลิกโฉมห่วงโซ่การผลิตอาหารในอีก 5 ปีข้างหน้า

ในอีก 5 ปีข้างหน้า ประชากรโลกจะแตะระดับ 8 พันล้านคนเป็นครั้งแรก วงจรการผลิตอาหารที่ซับซ้อนและกำลังเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง รวมถึงปริมาณน้ำที่มีจำกัด จะต้องเจอบททดสอบที่หนักหน่วงกว่าเดิม ทำให้เราต้องเริ่มมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เครื่องมือก้าวล้ำ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงแนวคิดใหม่ๆ ในเรื่องการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่กำลังเพิ่มขึ้น
ที่ผ่านมานักวิจัยไอบีเอ็มทั่วโลกได้เริ่มศึกษาถึงแนวทางการแก้ปัญหาในทุกระยะของวงจรการผลิตอาหาร ตั้งแต่การช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร การรับมือกับผลผลิตด้อยคุณภาพที่ทำให้เราต้องสูญเสียปริมาณอาหารที่มีไปถึง 45% การพัฒนาใยดักจับจุลินทรีย์ก่อโรคและสิ่งปนเปื้อนก่อนที่สิ่งเหล่านี้จะทำให้คนป่วย หรือแม้แต่การคิดค้นแนวทางการแยกขยะพลาสติกออกจากหลุมฝังกลบขยะและมหาสมุทร

นับตั้งแต่ปี 2549 ศูนย์วิจัยไอบีเอ็มได้เริ่มเผยแพร่รายงาน 5 นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนชีวิตคนในอีก 5 ปีข้างหน้า (IBM 5 in 5) เพื่อแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมและความก้าวล้ำทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การทำงาน และการปฏิสัมพันธ์ของคนในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยนวัตกรรมทั้ง 5 ที่นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้ทำนายไว้ในปีนี้ ประกอบด้วย

การเติบโตเป็นเท่าตัวของเกษตรกรรมดิจิทัลจะช่วยให้สามารถรับมือกับปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้นได้ด้วยทรัพยากรที่น้อยลง

ธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ให้แก่เกษตรกรที่ไม่เคยไปธนาคารได้อย่างไร? ในอีก 5 ปีข้างหน้า การนำระบบดิจิทัลมาใช้ และการเก็บข้อมูลในทุกมิติของการทำการเกษตร ตั้งแต่คุณภาพของดิน ทักษะของคนขับรถแทรกเตอร์ ไปจนถึงราคาผลผลิตที่ขายในตลาด หรือที่เรียกว่าดิจิทัลทวิน (Digital Twin) จะทำให้เรื่องนี้เป็นไปได้ การนำเอไอ (AI) มาใช้กับข้อมูลเหล่านี้จะทำให้สามารถคาดการณ์ปริมาณผลผลิตได้อย่างแม่นยำ ขณะที่ธนาคารและสถาบันการเงินก็จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประกอบการพิจารณาให้กู้แก่เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ต่อไป

Blockchain จะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร

ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะสามารถลดค่าใช้จ่ายแสนแพงอันเกิดจากการขาดความรู้เกี่ยวกับวงจรการผลิตอาหารได้ โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ชาวนาไปจนถึงซัพพลายเออร์ร้านขายผักผลไม้สด จะรู้ว่าต้องปลูก สั่งสินค้า และจัดส่งสินค้าปริมาณเท่าใด การผสานรวมเทคโนโลยี Blockchain, Internet of Thing, AI  จะช่วยลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตได้อย่างมาก และผลผลิตที่อยู่ในรถเข็นของผู้บริโภคก็จะสดใหม่กว่าเดิม

การทำแผนที่ Micro Biomes มจะช่วยป้องกันแบคทีเรียที่ไม่ดี

ภายใน 5 ปี ผู้ตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารทั่วโลกจะสามารถใช้เชื้อจุลินทรีย์นับล้านเพื่อปกป้องอาหารที่เราทานได้ เชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ กำลังถูกนำมาใช้ในการผลิตอาหารที่ฟาร์ม โรงงาน และร้านขายของชำ โดยเทคนิคใหม่ในการวิเคราะห์เชิงพันธุกรรม จะช่วยให้เชื้อจุลินทรีย์สามารถบ่งบอกได้ว่าอาหารที่เราทานปลอดภัยแค่ไหน

AI sensor จะช่วยให้เราสามารถตรวจจับเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษได้แม้อยู่ที่บ้าน

ภายใน 5 ปี เกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร และคนขายผักผลไม้สด รวมถึงพ่อบ้านแม่บ้านหลายพันล้านคน จะสามารถตรวจจับสารปนเปื้อนอันตรายในอาหารได้อย่างง่ายดาย ด้วยโทรศัพท์มือถือหรือโต๊ะครัวที่ติดเซ็นเซอร์เอไอ โดยนักวิจัยไอบีเอ็มกำลังพัฒนาเซ็นเซอร์เอไอพกพาที่สามารถตรวจจับเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาหารเป็นพิษอย่างเชื้ออีโคไลและเชื้อซาลโมเนลลาได้ทุกที่ทุกเวลา จากเดิมที่ใช้เวลาตรวจเป็นวันเหลือเพียงไม่กี่วินาที

กระบวนการรีไซเคิลแบบใหม่จะช่วยต่ออายุให้กับเศษพลาสติกเก่า

ในอีก 5 ปีข้างหน้า กระบวนการกำจัดขยะและการผลิตพลาสติกใหม่จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เราจะสามารถรีไซเคิลทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นลังใส่นม กล่องคุกกี้ ถุงช็อปปิง หรือแม้แต่ผ้ากรองอาหาร จากนั้นบริษัทผู้ผลิตโพลีเอสเตอร์จะแปรรูปสิ่งเหล่านี้ให้เป็นของที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยอาศัยเทคโนโลยีโวลแคท (VolCat) ซึ่งเป็นกระบวนการเร่งปฏิกิริยาทางเคมีที่ช่วยย่อยพลาสติกบางชนิด (โพลีเอสเตอร์) ให้เป็นสสารที่สามารถป้อนกลับเข้าไปในเครื่องผลิตพลาสติกได้โดยตรง เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...