สรุป 5 ประเด็นสำคัญ 'The Future of Work' จากสุดยอดผู้นำยุโรปที่การประชุมดาวอส | Techsauce

สรุป 5 ประเด็นสำคัญ 'The Future of Work' จากสุดยอดผู้นำยุโรปที่การประชุมดาวอส

การประชุมประจำปีของ World Economic Forum เพิ่งเสร็จสิ้นไป ณ เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งนับเป็นเวทีสำคัญมาตั้งแต่ปี 1971 โดยมีผู้นำทางการเมืองและเศรษฐกิจโลก รวมถึงบุคคลสำคัญระดับโลกหลายพันคน มารวมตัวกันเพื่อหารือถกเถียงเกี่ยวกับเทรนด์ และการเดินหน้าอนาคตเศรษฐกิจโลก มาดูกันว่ามีข้อคิดหรือประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้าง

1. จ้างคนที่ 'ฉลาดกว่าคุณ'

Jack Ma at WEF annual meeting in Davos 2019

หนึ่งในวาทะที่สำคัญจาก แจ๊ค หม่า ที่มักจะได้ยินกันบ่อย ๆ คือ ให้จ้างคนที่มีทักษะเก่งกว่าและฉลาดกว่าตนเองเสมอ

เวลาผมจ้างใครก็ตาม ผมจะมองหาคนที่ฉลาดกว่าผม คนที่มีแนวโน้มว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้าจะขึ้นมาเป็นนายผม ผมชอบคนที่มีทัศนคติที่ดี และคนที่ไม่ยอมแพ้ต่ออะไรง่าย ๆ

"คนที่ดีที่สุดในนิยามของผม คือคนที่มองโลกในแง่บวก และไม่เคยปริปากบ่น"

ซึ่งการที่เขาสามารถรอดพ้นจากโลกการทำงานในองค์กรมาได้ 20 ปี นั่นเพราะเคยเป็นอาจารย์มาก่อน

"ในการเป็นครูนั้น แน่นอนว่าจะต้องการให้นักเรียนพัฒนาไปได้ไกลกว่า กฎที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องผลักดันให้คนอื่นพัฒนาไปได้ไกลกว่าตัวคุณเอง"

2. กลุ่ม New collar คืออนาคตของโลกธุรกิจ

จินนี โรเมตตี (Ginni Rometty) ผู้ดำรงตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็ม (IBM) พูดถึงความสำคัญของทักษะที่จำเป็นต่องานในโลกอนาคตว่า "ระบบ Automation กำลังมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานอย่างรวดเร็ว มันสร้างช่องว่างของทักษะแรงงาน อีกทั้งความไม่มั่นคงในอาชีพที่นับวันยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ"

เมื่อพูดถึงเรื่องการรับมือกับวิกฤตทักษะขาดแคลน ฉันเชื่อว่างานกว่า 100 เปอร์เซ็นต์จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม เราทุกคนสามารถรอดพ้นจากวิกฤตนี้ไปได้

สิ่งที่โรเมตตี้ต้องการเห็นในอนาคตคือการพัฒนารูปแบบการศึกษาและอาชีพใหม่ อย่างการเข้ามาแทนที่ตลาดแรงงานจาก 'กลุ่ม New Collar' ไม่ใช่พวก White collar กับ Blue collar หรือกลุ่มมนุษย์เงินเดือนหรือผู้ใช้แรงงาน

ซึ่งนี่หมายถึงการลงทุนพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อตลาดแรงงาน ฝึกและปรับเปลี่ยนไปตามนั้น พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การหลุดออกจากโมเดลเดิม ๆ อย่างการจ้างบัณฑิตที่ร่ำเรียนมาหลายปี บุคคลที่ฝึกทักษะที่เป็นที่ต้องการจนชำนาญ และมีประสบการณ์ก็สามารถเข้าสู่โลกการทำงานได้เช่นกัน อย่างกรณีของไอบีเอ็มเอง 1 ใน 3 ของพนักงานก็ไม่มีดีกรีปริญญา

3. การเปิดโอกาสให้ 'ผู้หญิง' เข้ามามีบทบาทในด้าน Technical มากขึ้น จะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ของเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อัลเลน บลู (Allen Blue) ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ LinkedIn พูดถึงบทบาทของเทคโนโลยีทั้ง AI และ Machine Learning ที่เข้ามากระทบในทุกส่วนของชีวิต อีกทั้งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างเทคโนโลยีแทบจะทุกอย่าง ทั้งเครื่องมือสื่อสาร ระบบการเงิน ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

นอกจากนี้ เขายังมีความการให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมมากขึ้น โดยกล่าวว่า "ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ ในการออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง" ซึ่งนี่เป็นการสะท้อนถึงการที่ระบบ Algorithm (อัลกอรึทึม) ที่ในปัจจุบันยังมีอคติ (biased) เพราะส่วนใหญ่แล้วมันถูกสร้างโดยผู้ชายนั่นเอง

เขาเชื่อว่า เทคโนโลยีสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในที่ทำงานได้ อย่างการเรียนรู้ออนไลน์แบบเรียลไทม์ อีกทั้งสามารถช่วยสร้างบาลานซ์ระหว่างชีวิตและการทำงาน อย่างการสามารถทำงานที่ไหนก็ได้

4. ลงทุนพัฒนาทักษะที่จำเป็นในคนรุ่นใหม่และคนว่างงาน

มูคิแอล เปอนิโก (Muriel Penicaud) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานฝรั่งเศส พูดถึงความจำเป็นของการฝึกอบรมให้ประชากรมีทักษะใหม่ (Re-Skilling Program) โดยฝรั่งเศสได้มีการมอบทุน 500 ยูโร (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 18,000 บาท) ต่อปีแก่พนักงาน ในการเลือกโปรแกรมพัฒนาทักษะที่จำเป็นเอง

"ปัจจุบันการเข้าถึงเงินทุนนั้นง่ายกว่าการมีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานเสียอีก"

ประชาชนฝรั่งเศสจำนวนมากมีความคิดว่าพวกเขาตกเป็นเหยื่อของกระแสโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยี เมื่อใดก็ตามที่คุณไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นเรื่องน่ากลัวเสมอ ดังนั้นคุณต้องทำตัวให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเลือกอนาคตของตัวเองได้

5. ผู้ที่รอดพ้นจากวิกฤตสุขภาพจิตมาได้ถือเป็น Asset ที่มีค่าที่สุดของบริษัท

ไม่ใช่เรื่องโลกสวยแต่อย่างใด แต่เรื่องสุขภาพจิตหรือ Mental Health นั้นถือเป็นอีกประเด็นสำคัญในเวทีการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนต่อสุขภาพจิตของพนักงานได้ โดยจอห์น ฟลินท์ (John Flint) ซีอีโอของธนาคาร HSBC กล่าวว่า ผู้ที่รอดพ้นจากภาวะนั้นมาได้คือกุญแจสำคัญของโลกธุรกิจ

พนักงานที่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตสุขภาพจิตมาได้ มักจะเป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานและอุดมไปด้วยปัญญามากกว่า

ฟลินท์ ยังมีความต้องการให้วงการธนาคารเป็น 'The Healthiest Human System' ซึ่งเรื่องสุขภาพจิตควรจะเป็นสิ่งที่นำมาพิจารณาในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานด้วย

 

อ้างอิง: World Economic Forum

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...