AI, Blockchain และ BioTech จะเปลี่ยนชีวิตของเราไปอย่างไร จับตาดู 5 เทรนด์จาก Emerging Technology ที่เตรียมจะพลิกโลกนับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป
เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีที่จะพลิกชีวิตเราในอนาคต เรามักจินตนาการถึง Taxi ที่ไม่เพียงแต่เรียกได้ด้วย Smartphone แต่ยังขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือไปไกลกว่านั้นคือขึ้นเฮลิคอปเตอร์ที่ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติไปเลย
อันที่จริง จินตนาการเหล่านี้ก็น่าสนใจ แต่ในทางปฏิบัติมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น การให้ AI เรียนรู้จนชี่ยวชาญยังต้องใช้เวลา แถมในปัจจุบัน การหาผู้เชี่ยวชาญระดับ Master ของ Deep Tech ไม่ว่าจะเป็น Blockchain, Data Science หรือ Artificial Intelligence เพื่อพัฒนาให้ใช้งานได้จริงอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อยเป็นสิบปี
ถึงแม้เราจะไม่มียานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติรับส่งเราในเวลาอันใกล้นี้ แต่เรายังมีเทคโนโลยีอื่นที่พร้อมก่อ Impact กับชีวิตของเราให้ได้จับตากันมากมาย ซึ่ง Gartner บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำพบว่าในปี 2018 จะมี 17 เทคโนโลยีด้วยกัน โดยได้กระจายเทคโนโลยีเหล่านี้เป็น 5 เทรนด์หลักที่ต้องจับตามองตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป
5 เทรนด์หลักนี้ ประกอบด้วย Democratize AI ปัญญาประดิษฐ์แทรกซึมสู่ทุกส่วน, Digitalized Ecosystem เชื่อมทุกส่วนในระบบด้วย Digital, Do-it-yourself Biohacking จุดเริ่มต้นของยุค “มนุษย์ดัดแปลง”,Transparently immersive experiences เทคโนโลยีรายล้อมผู้คนอย่างแนบเนียนกว่าเคย และUbiquitous infrastructure โครงสร้างพื้นฐานใหม่ทาง Digital ที่แพร่หลายกว่าเดิม
ปัญญาประดิษฐ์เป็น Disruptive Technology ที่แพร่หลายที่สุด เราสามารถพบได้ใน Cloud Computing, แจกฟรีแบบ Open Source และใน Maker Community แม้ว่าบรรดา Early Adopter จะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ไปแล้ว แต่จุดเปลี่ยนของเทคโนโลยีนี้ยังเป็นเรื่องความแพร่หลาย ที่ทำให้บรรดานักพัฒนา, Data Scientist และ AI Architecture สนใจอยากทำ Solution ที่พัฒนาด้วย AI มากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การสร้างหุ่นยนต์พร้อม AI หรือ Smart Robot นำมาทำงานร่วมกับมนุษย์ ช่วยคนทำความสะอาดห้อง จัดเรียงของในพื้นที่เก็บสินค้า การใช้หุ่นยนต์ทำงานเหล่านี้จะช่วยเหลือ แทนที่ และส่งให้มนุษย์ไปทำงานที่เกิดคุณค่ามากกว่า
Autonomous Driving Level 4 คือระดับที่หุ่นยนต์ควบคุมรถได้อย่างสมบูรณ์ เกือบทุกสถานการณ์ ส่วน Level 5 คือมีสามารถขับขี่ได้ทัดเทียมมนุษย์ สามารถขับขี่ได้เต็มประสิทธิภาพทุกสถานการณ์ แม้ขั้นนี้จะต้องใช้เวลาอีกราว 10 ปี แต่ก็มีเป้าหมายเหมือนกับ Smart Robot ที่ต้องการปลดล็อกให้มนุษย์ได้ทำงานที่มีคุณค่ามากกว่าเดิม
อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือ Artificial General Intelligence (AGI) หมายถึงปัญญาประดิษฐ์ที่มีความฉลาดเหมือนกับมนุษย์ สามารถส่งมอบผลผลิตได้ด้วยความสามารถและคุณสมบัติระดับเดียวกับมนุษย์ AGI จะเหมาะกับการเรียนรู้ข้อมูลภาษาที่ต้องอาศัยความเข้าใจมากกว่ารู้จักรูปแบบ และการจัดการเรื่องเหนือความคาดหมายอื่นๆ
นวัตกรรมหลายๆ อย่างจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดเทคโนโลยีพื้นฐาน ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นตัวปลดล็อกให้มนุษย์เชื่อมโยงกับนวัตกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยสิ่งที่จะเป็นพื้นฐานสำคัญในปี 2018 หนีไม่พ้น Blockchain โดยถือเป็น Game Changer ในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล จากคุณสมบัติด้านความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และความยั่งยืนของชุดข้อมูล
อีกนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นคือ Digital Twin หรือแนวคิดการสร้างฝาแฝด Digital จากสิ่งของบนโลกกายภาพ ช่วยในการตรวจสอบคุณภาพของต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดย Gartner มองว่าจะมีสิ่งของหลักร้อยล้านชิ้นถูกสร้าง “ฝาแฝด” ขึ้นมาภายใน 5 ปีข้างหน้า และยังมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจคือ IoT Platform ที่รองรับการทำงานของ Internet of Things บนระบบขนาดใหญ่ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งเริ่มมีให้เห็นที่เมืองใหญ่ของโลกในปัจจุบัน
การเอาชนะขีดจำกัดทางกายภาพของมนุษย์เป็นฝันอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งปี 2018 การพัฒนา Biology Technology ทั้งหลายทำให้ความฝันนี้ใกล้ความจริงมากขึ้น โดยเฉพาะในการยืดอายุและรักษาร่างกายให้แข็งแรง ผ่านการตรวจอาการแบบพื้นฐานที่สะดวกขึ้นไปจนถึงเทคโนโลยีซ่อมแซมระบบประสาทอันซับซ้อน รวมถึง Biohacking ที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมและความเหมาะสมในปัจจุบันอย่างการฝัง Chip เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสมองจะนำไปสู่การควบคุมสติสัมปชัญญะของคนหรือไม่
Biohack แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่ Technology Augmentation เทคโนโลยีเสริมศักยภาพของมนุษย์, Nutrigenomic การวิจัยสารอาหารป้องกันโรคถึงระดับยีนส์, Experimental Biology การทดลองทางชีววิทยา และ Grinder Biohacking การผสาน Biohack อื่นๆ จนเป็นนวัตกรรมเดียว ตัวอย่างของแนวคิด Biohack ที่เกิดขึ้นแล้ว ได้แก่
การคิดค้นเทคโนโลยีเป็นไปเพื่อเติมเต็มความสะดวกของมนุษย์แต่อาจจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดตั้งต้น โดยในปี 2018 Emerging Tech ทั้งหลายจะคิดบนพื้นฐานการเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric) มากกว่าแต่ก่อน ด้วยการลบเส้นแบ่งระหว่างคน ธุรกิจ และสิ่งของให้ใกล้ชิดและประสานงานกันได้ง่ายกว่าเดิม ทั้ง Smart Workplace และ Smart Home ที่จะค่อยๆ พาเราไปสู่จุดของ Smart Living
Smart Workplace จะช่วยให้การทำงานของเราสะดวกยิ่งขึ้น เช่น อุปกรณ์อย่าง Smart Whiteboard ที่ช่วยเก็บข้อมูลการประชุมหรือระดมความคิดได้ดีกว่าเดิม หรือชั้นวางเครื่องใช้สำนักงานที่มี IoT Sensor สามารถแจ้งสั่งซื้อเมื่ออุปกรณ์หมดได้ ส่วน Smart Home ก็สามารถใช้นวัตกรรมเดียวกันเพื่อตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ และยังเพิ่ม AI เพื่อเรียนรู้ลักษณะนิสัยการใช้อุปกรณ์ในบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกภายในบ้านได้ดีขึ้น
ปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานอย่าง Internet หรือแม้แต่ Cloud Computing ที่เปิดอยู่ตลอดเวลาได้ง่ายขึ้น ทำให้แนวคิดการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจเปลี่ยนไปจากเดิมมาก แต่ในอนาคตอันใกล้ เรายังจะมีเทคโนโลยีที่จะเป็น New Digital Infrastucture ให้ได้ใช้งานอีกมาก ซึ่งก็จะนำความเปลี่ยนแปลงมาให้เราเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น Quantum Computing ที่ทำงานได้รวดเร็วและกว้างขวางกว่า Computer แบบเดิม จะนำไปสู่การยกเครื่อง AI, การเข้ารหัสที่ปลอดภัยกว่าเดิม, การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ไปจนถึงการวิเคราะห์รูปภาพที่ซับซ้อนขึ้น
อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่จะเป็นมีโอกาสเป็นเครื่องมือพื้นฐานคือ Neuromorphic Hardware หรือ Computer ที่ออกแบบการทำงานจำลองระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต ซึ่งรองรับการทำงานขั้นสูงที่ซับซ้อนมากกว่า รวดเร็วกว่า และใช้พลังงานน้อยกว่า Computer ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังมีเครือข่ายไร้สายยุค 5G ที่รวดเร็วกว่าเดิมกับรองรับระบบ IoT มากขึ้น และ Carbon Nanotube สายไฟจากคาร์บอนเล็กระดับนาโนเมตรที่คงความแข็งแรงของ Carbon และคุณสมบัติถ่ายทอดข้อมูลและพลังงานไฟฟ้าไว้อย่างครบถ้วน
จะเห็นได้ว่าเทรนด์เทคโนโลยีข้างต้นไม่ได้กระทบที่ Lifestyle ของคนเท่านั้น แต่ยังส่งแรงกระเพื่อมไปถึงภาคธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น Business Model ที่ต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงตามนิสัยผู้ใช้ รวมถึง Operation และ Production ที่ต้องปรับตัวตามเทคโนโลยี ซึ่งปัญหาไม่ใช่แค่เรื่องจังหวะเวลา แต่ยังมีความซับซ้อนเชิงเทคนิคจากการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีใหม่มากมาย เพราะเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ ไม่สามารถนำเข้ามาทั้งก้อนและใช้ดำเนินธุรกิจได้เลยเหมือนก่อน ต้องอาศัยการปรับปรุง (Adaptation) ให้เข้ากับรูปแบบเฉพาะของตลาดด้วย
ดังนั้น กลุ่มคนที่มีทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือ Tech Talent จึงมีความสำคัญในการไล่ตามเทรนด์ที่เรากล่าวถึงอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทยยังคงขาดแคลนบุคลากรกลุ่มนี้อย่างมาก โดยเฉพาะทาง Emerging Tech อย่าง AI, Blockchain, BioTech, Data Science และ Quantum Computing ทั้งแนวกว้าง (ความรู้หลากหลายของสาขา) และแนวลึก (ความรู้ความเชี่ยวชาญ) อันจะช่วยให้การ Adaptation ทำได้อย่างง่าย ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
ในระยะสั้น ประเทศไทยอาจต้องเปิดโอกาสให้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศหรือดึงบุคลากรในสาขาใกล้เคียงที่มีความสนใจเข้ามาร่วมขับเคลื่อนเพื่อให้เกิด Community อย่างเข้มแข็งก่อน จากนั้นจึงค่อยวางแผนบ่มเพาะบุคลากรที่ตรงสาขาในระยะกลางและระยะยาวขึ้นมา ผ่านทั้งด้านการศึกษา การทำงาน ในส่วนนี้อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐด้วย
Tech Talent มีส่วนสำคัญในกระบวนการ Digital Transformation และจะสำคัญมากกว่าเดิมในยุคที่ Deep Technology กลายเป็น Fundamental Technology ในนวัตกรรมต่างๆ การตระหนักถึงคุณค่าและเริ่มวางแผนปฏิบัติตั้งแต่ตอนนี้จะช่วยให้ธุรกิจไทยใช้ประโยชน์จาก Trend ของ Emerging Tech ได้เต็มที่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Gartner และ Humanizing.tech
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด