5 วิธีช่วย SMEs รบชนะในสมรภูมิออนไลน์ | Techsauce

5 วิธีช่วย SMEs รบชนะในสมรภูมิออนไลน์

ยุคปัจจุบันการขายออนไลน์เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะการนำเข้า และส่งออกของจากต่างประเทศแต่ในขณะเดียวกันยิ่งได้รับความนิยมมากเท่าใดการเเข่งขันยิ่งเพิ่มสูงขึ้น แต่ปัจจุบันนอกจากพ่อค้า เเม่ค้ารายย่อยที่หันมาทำธุรกิจ SMEs ออนไลน์กันมาขึ้น ยังมีผู้เล่นรายใหญ่อย่างกลุ่มบริษัทหันมาลงทุนในตลาดออนไลน์ ทำให้การเเข่งขันในตลาดออนไลน์ยิ่งดุเดือด มากขึ้น

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ศูนย์กระจายสินค้าของ Alibaba Group  ตัดสินใจทุ่มเงินมูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ลงทุนจัดตั้งศูนย์ Smart Digital Hub ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พร้อมจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าเพื่อเป็นช่องทางในการจัดเก็บและกระจายสินค้าจากแพลตฟอร์ม Lazada และ AliExpress เท่ากับว่าอนาคตของพ่อค้าคนกลางที่สั่งสินค้ามาจากจีน เพื่อขายต่อในไทยและการค้าแบบพรีออเดอร์จากจีนก็ถึงกับต้องกุมขมับในทันทีเพราะด้วยเงื่อนไขเวลาที่แต่เดิม สั่งสินค้าจากจีนจากผู้ผลิตโดยตรงอาจใช้เวลาดำเนินการจนถึงมือผู้รับไม่ต่ำกว่า 14 วัน ในขณะที่ปัจจุบันอาลีบาบามีสินค้าสต๊อกไว้ที่ศูนย์กระจายสินค้า สามารถย่นเวลาจัดส่งเหลือแค่ 3 วันเท่านั้น

จากประเด็นนี้ย่อมกระทบผู้ค้าออนไลน์ในส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าสินค้ากว่าร้อยละ 80 ทั้งใน Lazada และ AliExpress เป็นสินค้าจีน ทั้งราคาถูกกว่าสินค้าประเภทเดียวกันที่ผลิตหรือจำหน่ายในประเทศไทย เกิดเป็นสงครามราคา แถมสั่งสินค้าราคาไม่เกิน 1,500 บาทจากต่างประเทศได้รับการยกเว้นภาษีอีกด้วยแล้วเราสามารถสร้างเกมของเราเอง และกติกาของเราเองด้วยได้อย่างไร

  1. สร้างสินค้าแบรนด์เราเอง : คือนอกจากมีสินค้า ซึ่งต้องเป็นสินค้าที่แตกต่างจากท้องตลาด ไม่ใช่ของโหลๆ ที่ผลิตขึ้นจำนวนมากๆ เป็นของดีมีคุณค่าในตัวเองและต้องมีแบรนด์ นี่คือการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีซึ่งเป็นกติกาสากลที่ตลาดทั่วไปยอมรับ
  2. ขายออนไลน์ในแพลตฟอร์มของคนไทยด้วยกัน : เพราะแน่นอนว่ามีการทำการทำการตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคได้มากกว่า ใกล้ชิดกว่า มีลูกเล่นในการใช้อินฟลูเอนเซอร์รีวิวและแนะนำสินค้าในราคาแพง
  3. บุกตลาดจีนบ้าง : คนจีนนิยมสินค้าไทยหลายประเภท อาทิสินค้าเกี่ยวกับความสวย ความงาม สินค้าสุขภาพ ผลิตจากธรรมชาติ อาหารเสริม แม่และเด็ก สินค้าสปา เช่น ลูกประคบ สินค้าพื้นเมือง หัตถกรรมท้องถิ่น คือของที่ไม่มีในจีนและไม่ใช่ของโหลๆ ทั่วไปคนจีนจะชอบ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ผู้ค้าออนไลน์ที่จะเจาะตลาดจีนต้องรู้ คือคนจีนเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าต่างประเทศว่า ‘ดีกว่าสินค้าในประเทศ’ และการบริโภคสินค้านำเข้าเป็นการสะท้อนคุณภาพชีวิตที่ดีของพวกเขา
  4. สร้างความน่าเชื่อถือของร้านค้า
  5. พัฒนามาตรฐานการจัดส่งสินค้า ด้วยการใช้โลจิสติกที่ได้มาตรฐาน วางใจได้

จาก 5 วิธีข้างต้น เราจึงพบว่าทุกวันนี้เรามีแพลตฟอร์มออนไลน์ด้านนี้เกิดขึ้นมากมาย ทาง สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จึงมี 4 Startup ไทยด้านธุรกิจ E-COMMERCE มาแนะนำให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักเพื่อเป็นอีกทางเลือกเพื่อใช้บริการกัน

4 Startup ไทยด้านธุรกิจ E-COMMERCE

BentoWeb

Startup Platform ที่ช่วยให้ผู้ค้าออนไลน์สามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์จาก E-COMMERCE ได้อย่างเต็มที่ถึงแม้ไม่มีความรู้ในด้านนี้ก็หมดปัญหา ด้วยคุณสมบัติของ Solution ที่ทาง Platform ได้ศึกษาและรวบรวมมาไว้ในที่ระบบช่วยให้สามารถเตรียมร้านออนไลน์ และเครื่องมือทุกอย่าง ที่ช่วยให้คุณขยายธุรกิจอย่างมั่นใจได้ ซึ่งภายในระบบจะมีความรู้ด้านการบริการและ BEST PRACTICES ต่าง ๆ เข้ามาในระบบร้านค้าออนไลน์สำเร็จรูป เพื่อให้ทุกคนสามารถเริ่มต้นใช้ประโยชน์จาก E-COMMERCE ได้อย่างเต็มที่ ช่วยประหยัดเวลา ในการบริหารออเดอร์ที่เข้ามาในแต่ละวัน ช่วยต่อยอดและวิเคราะห์ข้อมูลการขาย ทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงบริการที่ครบวงจรตั้งแต่การสร้างคอนเทนต์ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า

SOKOCHAN

Startup Platform ด้านการบริการ FULFILLMENT เพื่อธุรกิจ E-COMMERCE และระบบจัดการรายการสินค้าคงคลังที่เข้ามาเป็นจำนวนมากได้ ช่วยเเก้ปัญหาของผู้ที่มาใช้ E-COMMERCE FULFILLMENT ที่ไม่มีเวลา และพบข้อผิดพลาดบ่อย บริหารจัดการเองไม่ได้ซึ่ง Solution นี้สามารถช่วยลดปัญหาทุกอย่างได้ แถมยังทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำผ่านรูปแบบการบริหารจัดรายการตั้งเเต่เริ่มสั่งของจนถึงส่งของให้ลูกค้า โดยมีบริการอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. E- COMMERCE FULFILLMENT คือ ผู้ประกอบการ E-COMMERCE ที่ไม่ต้องการบริหารด้วยตนเอง ซึ่งบริการจะช่วยลดเวลาในการ เก็บ - แพ็ค - ส่งสินค้า และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี 2. ORDER MANAGEMENT SYSTEM คือผู้ประกอบการที่มีคลังสินค้าอยู่แล้วแต่ยังไม่มีระบบการบริหารจัดการคลังที่ดีพอ 

XSelly

Startup Platform ที่ช่วยให้การบริหารระบบหลังบ้านเเบบครบวงจร ตั้งเเต่บริหารการขาย สต๊อกสินค้า และการจัดส่ง ช่วยให้ร้านค้าและแบรนด์ สามารถจัดการออเดอร์ไม่ว่าจะหลักร้อยถึงหลักพันต่อวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จากช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook Line IG Shopee Lazada รองรับเรื่องการรับชำระไม่ว่าจะเป็นการแนบสลิบโอนเงิน หรือ QR Code สามารถพิมพ์ใบปะหน้าพัสดุได้หลากหลายขนาด พร้อมเลขติดตามพัสดุจากขนส่งชั้นนำ พร้อมการตรวจสอบสถานการณ์จัดส่ง และการกระทบยอดเก็บเงินปลายทางให้อัตโนมัติ เมื่อเงินเข้าบัญชี 

ZWIZ.AI

Startup Platform ที่มีบริการด้านระบบ AI Chatbot และ วิเคราะห์ข้อมูลสำหรับธุรกิจ สามารถนำไปใช้ในการช่วยตอบคำถาม และ บริการลูกค้าผ่านทางช่องทาง Facebook Messenger และ LINE โดยระบบ AI สามารถช่วยทำการตอบคำถามและให้บริการแบบอัตโนมัติ ทั้งตอบแชท และตอบคอมเมนต์ ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลบทสนทนาและข้อมูลลูกค้าได้อีกด้วย จุดเด่นคือสามารถเชื่อมต่อระบบสต๊อกสินค้า และ เก็บออเดอร์การขายให้สามารถขายผ่านช่องทาง Social ได้ง่าย สามารถปิดการขายได้เลยทันทีในแชท 

สามารถติดตามสตาร์ทอัพไทยที่มีโซลูชั่นและบริการดีๆ ได้ใน “STARTUP MARKETPLACE IS LIVE NOW” รายการที่จะช่วยสร้างช่องทางการตลาดให้กับสตาร์ทอัพไทย ในช่วงสถานการณ์วิกฤต โดย สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA  และข้อมูลข่าวสาร ได้ที่ FB PAGE: STARTUP THAILAND และ FB GROUP: STARTUP THAILAND MARKETPLACE

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขรหัสลับ AI จีนฝ่า "สงครามชิป" ผ่าน Deepseek สูตรลับความสำเร็จจาก Open Source

DeepSeek AI สัญชาติจีนที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ตาม แต่กำลังก้าวขึ้นมาท้าทายผู้นำในวงการ ด้วยโมเดล AI ประสิทธิภาพสูงและแนวคิด Open Source บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกการพัฒนา AI สัญชาติจ...

Responsive image

รู้จัก Spatial Intelligence เทคโนโลยีที่ช่วยให้ AI ‘มองเห็น’ และ ‘เข้าใจ’ โลกได้เหมือนมนุษย์

AI กำลังก้าวข้ามขีดจำกัดที่เคยมี ไม่เพียงแต่สามารถคิดคำนวณหรือให้คำตอบได้เท่านั้น แต่ยังมีความสามารถในการ 'มองเห็น' และ 'เข้าใจ' สภาพแวดล้อมรอบตัวเหมือนมนุษย์ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า...

Responsive image

จากแรงงานสู่นวัตกรรม ยกระดับ SMEs และสตาร์ทอัพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยุคใหม่ สู่ประเทศรายได้สูง

Mr. Cristian Quijada Torres ร่วมอภิปรายในหัวข้อ Innovation in a Changing World: Empowering SMEs And Startup วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน อุปสรรคที่ทำให้การพัฒนานวัตกรรมแ...