สรุปเรื่องที่ SMEs ต้องรู้กับการทำบัญชียุคใหม่

ปัญหาของการทำบัญชีหลายคนคงต้องนึกถึงการคำนวน แต่ใช่ว่าไม่ชอบคำนวณแล้วจะทำบัญชีไม่ได้ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางมากมายสามารถเข้ามาช่วยให้เราทำบัญชีได้ง่ายขึ้น และควร มองการทำบัญชีให้ง่ายว่า จะจัดการเงินในกระเป๋าอย่างไร ให้มีกำไรเพิ่มขึ้นโดยที่เราไม่จำเป็นต้องทำได้ทุกอย่างเเต่เเค่ต้องดูให้เป็น เพื่อปรับความคิดใหม่เปลี่ยนอุปสรรคด้านตัวเลขให้กลายเป็นโอกาสเริ่มต้นใหม่ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจที่ต้องเริ่มหันมาจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

Techsauce ได้มีโอกาสได้ร่วมพูดคุยและนำความรู้ดีๆ จากคุณจักรกฤษณ์ กิจการรัฐบุตร CFP® ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Money Buffalo เว็บไซต์ด้าน "การเงิน การลงทุน" อันดับต้นของประเทศไทย มาให้ได้ติดตามกันซึ่งได้มาบรรยายเรื่องการทำบัญชีที่ถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สามารถขอ soft loan ได้สะดวกขึ้น รวมถึงข้อควรพึงระวัง Do and Don't ในการทำบัญชี และการใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ในการจัดการ 

หากเป็นการจัดทำรายรับรายจ่ายของบุคคลเเบบทั่วไปอาจไม่วุ่นวายนัก แต่สำหรับกลุ่มธุรกิจ หรือ เจ้าของธุรกิจที่ต้องทำบัญชีจะค่อนข้างมีความยากขึ้นมาอีกระดับ ตั้งเเต่การทำเอกสารที่มีปริมาณมาก การเชื่อมโยงกับลูกค้า 

ปัญหาอีกหนึ่งอย่างที่พบ คนส่วนมากมักไม่ย้อนกลับไปดูรายละเอียดของบัญชีที่ผ่านมาว่ารายรับ รายจ่าย มีที่มาที่ไปอย่างไรซึ่งเราจะเน้นดูเเค่ว่า เรามีรายรับเเละกำไร เพิ่มขึ้นเท่านั้น การกระทำเเนวนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างปัญหาเรื้อรังด้านการเงินที่เรามองข้ามไปจนสร้างปัญหาให้องค์กรได้ จนอาจกลายเป็น “ขายดีจนเจ้ง”  แบบไม่รู้ตัวได้เเละสิ่งที่ต้องระวังหากไม่ได้ตรวจสอบบัญชีดีๆ คือ รายจ่ายเเฝง ที่อาจมีผลในภายหลัง ดังนั้นการสร้างระบบการทำบัญชีที่มีระเบียบจะช่วยให้องค์กร สามารถดูแลการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งลดปัญหาการขาดทุนระยะยาวได้ดี

การขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำขององค์กรในช่วยลำบาก การเข้ามาของ Covid-19 ทำให้หลายธุรกิจประสบปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะ SME หรือธุรกิจขนาดเล็กที่ค่อนข้างมีทุนค่อนข้างน้อย ทำให้เกิดภาวะขาดสภาพคล่อง  ทำให้สินเชื่อกลายเป็นตัวเลือกสำคัญที่จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ ซึ่งหากพูดถึงสินเชื่อหรือเรียกอีกอย่างว่า เงินเสริมสภาพคล่องและปรับโครงสร้างหนี้ให้ดีขึ้น นั้นมีหลายประเทศไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อของต่างประเทศหรือในประเทศไทย เเต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือสินเชื่อเหล่านี้ถูกออกแบบโครงสร้างมาเพื่อช่วยให้กลุ่มบริษัทสามารถหมุนด้านการเงินเพื่อให้ดำเนินกิจการต่อได้ในระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นการขอสินเชื่อจึงไม่ง่าย และก็ไม่ยากซึ่งเเต่ละที่จะมีข้อกำหนดเเตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของสินเชื่อ 

สิ่งที่ควรรู้ จะได้ไม่ “งง” ว่าทำไมถึงกู้ไม่ผ่าน

  • บริษัทต้องไม่เคยเป็นหนี้เสีย หรือ NPL 
  • บริษัทยังมีกำไรในปีปัจจุบัน อาทิ ปี 62-63 หากจะขอสินเชื่อปีนี้ 
  • เคยมีประวัติการกู้ยืม หรือ เคยมีหนี้ 

สิ่งที่บริษัทควรเริ่มทำ!

ควรจัดระบบการทำบัญชีให้ถูกต้องเพื่อให้ประวัติการเงินในสรรพกรไม่เสีย และบัญชีเป็นเหมือนสิ่งบ่งชีว่าบริษัทเรามีความน่าเชื่อถือมากเเค่ไหน การทำระบบให้ชัดเจนจะช่วยให้เราตรวจสอบสภาพการเงินของเราในทุกขั้นตอนได้ง่ายขึ้น เเละมีเวลาเหลือเพื่อไปทำอย่างอื่น เช่น ขยายกิจการ

เอกสารหนึ่งในปัญหาวุ่นวายที่หลายองค์กรเจอเมื่อต้องทำบัญชี แต่ในยุคปัจจุบันมี Solution ที่สามารถทำให้ปัญหาการจัดการบัญชีของบริษัทง่ายขึ้นผ่านเทคโนโลยี ซึ่งสามารถลดการใช้เอกสาร เเต่สามารถทำงานผ่านระบบดิจิทัลได้ ทั้งฝ่ายบริษัทเองและฝ่ายลูกค้า ทำให้ลดขั้นตอนการทำบัญชีได้ ดังนั้น บริษัทต้องหาสิ่งที่ต้องการหรือปัญหาหลักๆ ของบริษัท เพื่อให้สามารถหาและเลือกใช้ เทคโนโลยี ที่มี Solution ที่ต้องการได้

สำหรับผู้อ่านที่พลาด session ไลฟ์นี้ไป สามารถชมย้อนหลังได้ที่เพจ Techsauce Thailand

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

นักวิทยาศาสตร์สร้าง Brain Map ละเอียดที่สุดในโลกจากสมองหนู

ค้นพบครั้งประวัติศาสตร์ นักวิทย์สร้างแผนที่สมองที่ละเอียดที่สุดจากสมองหนู ข้อมูลทะลักกว่า 500 ล้านจุด เชื่อมโยง AI-แพทย์อนาคต...

Responsive image

ถอดบทเรียน 3 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ไทย-ศรีลังกา-บังกลาเทศ จากงานสัมมนา BIMSTEC Young Gen Forum

สรุปจาก 'Innovation & Growth Drivers' หัวข้อเสวนาจากงาน BIMSTEC Young Gen Forum : Where the Future Meets ที่มีผู้นำรุ่นใหม่จาก 3 ประเทศ BIMSTEC มาเล่าวิสัยทัศน์ ความท้าทาย บนเวทีสั...

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...