บทสรุป AFTERKLASS ปีที่ 4 ต่อยอดความสำเร็จกับ Challenge ใหม่เพื่อสังคมที่ยั่งยืน | Techsauce

บทสรุป AFTERKLASS ปีที่ 4 ต่อยอดความสำเร็จกับ Challenge ใหม่เพื่อสังคมที่ยั่งยืน

เทรนด์อาชีพที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจกันมากขึ้น เพราะเปี่ยมไปด้วยโอกาสและความเป็นไปได้ พร้อมได้ทั้งความท้าทายและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการในตัวเองมากขึ้น “สตาร์ทอัพ” จึงเป็นเทรนด์หนึ่งที่คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจ และมองหาพื้นที่ในการแสดงออกในการเป็นผู้ประกอบการ เช่น เวทีแข่งขันไอเดียธุรกิจในรูปแบบ Hackathon มากขึ้น เช่นเดียวกับ โครงการ AFTERKLASS by KBank

AFTERKLASS By KBank ส่งต่อความรู้ ต่อยอดไอเดียเยาวชน

AFTERKLASS ของ ธนาคารกสิกรไทย เป็นแพลตฟอร์มรวมความรู้ ด้านการเงิน อาชีพและการเรียนรู้ทักษะชีวิตอื่นๆ เพื่อยกกระดับศักยภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ให้ดียิ่งขึ้น พื้นที่ที่เป็นเสมือนสนามเด็กเล่นให้นักธุรกิจวัยมัธยมได้ทดลอง ค้นหาตัวเอง และลงมือสร้างธุรกิจจริง จนมาถึงกิจกรรมใหญ่ประจำปี AFTERKLASS Business KAMP ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 ภายใต้ธีมต่างๆ ที่ให้เยาวชนลงมือทำจริง ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน

โดย AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 ได้ต่อยอดความสำเร็จจากปี 2022 ที่มีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 140 ทีม จนคัดเหลือ 8 ทีมสุดท้ายที่สร้าง    ไอเดียธุรกิจนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้ธีม SDGs (Sustainability Development Goals) มาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างแผนธุรกิจ โดยต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ เด็กรุ่นใหม่เติบโตไปเป็นพลเมืองที่ดี หรือ Good citizenship ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนช่วยเหลือ และทำให้สังคมที่เราอยู่ดีขึ้น โดยมีเมนเทอร์ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

โจทย์ใหม่แห่งความท้าทายของปี 2023 นี้ Innovation for a Sustainable Society

ในปี 2023 ธนาคารกสิกรเดินความสำเร็จของโครงการ AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 ร่วมกับมูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา ผ่านโจทย์การนำเสนอแผนธุรกิจอย่างยั่งยืน ในธีม Innovation for a Sustainable Society Hackathon 2023        ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้วิธีการพัฒนาและต่อยอดไอเดียนวัตกรรม เพื่อช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมให้เกิดขึ้นจริง เงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท

โดยในปีนี้เป็นการแข่งขันสร้างไอเดียธุรกิจและนวัตกรรมสตาร์ทอัพในรูปแบบ Hackathon ด้วยโปรแกรมบ่มเพาะนวัตกรรม (Incubation Program) ที่ต้องเป็นแนวคิดสร้างสรรค์ และช่วยผลักดันให้นำไปปรับทดสอบเป็น MVP และพัฒนาต่อให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ความท้าทายของปีนี้มีโจทย์ด้านความยั่งยืนที่สุดใน 3 ด้านได้แก่

  • ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน (Health and well-being of people) ไอเดียนวัตกรรมที่มุ่งมั่นส่งเสริมการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคม และยกระดับผู้คนให้มีชีวิตที่ดีทั้งกายและใจ
  • ด้านคุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม และเมืองอัจฉริยะ (Quality of life, community, society and smart city) ไอเดียนวัตกรรมที่ยกระดับการอยู่อาศัยและชุมชนให้น่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ (Environment and nature) ไอเดียนวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และระบบนิเวศที่ดี

โดยผู้ถูกคัดเลือก 10 ทีมสุดท้าย ได้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะในรอบ Incubation Boot Camp จำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 25-27 ต.ค. 66 ที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในมิติต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการคิดไอเดียนวัตกรรมจากความต้องการของผู้ใช้ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดว่าน่าลงทุนหรือไม่ จนไปถึงการทำแผนธุรกิจเพื่อนำเสนอแบบ Startup Pitching ต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อขอรับเงินทุนไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นจริง ก่อนจะคัดเลือกอีกครั้งสำหรับ 6 ทีมสุดท้ายบนเวทีในวัน Hackathon Day

Hackathon Day ประชันไอเดีย สร้างนวัตกรรม เพื่ออนาคตยั่งยืน

สำหรับกิจกรรม Hackathon Day เป็นปีแรกที่ให้โอกาสน้องๆ ได้ไปพัฒนาไอเดียจนออกมาเป็น MVP ด้วยการให้ทุนเพื่อทำตัวต้นแบบออกมาใช้จริง งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ธ.ค.-3 ธ.ค. 66 เยาวชนทั้ง 6 ทีมได้เรียนรู้วิธีการ นำพานวัตกรรมเข้าถึงกลุ่มลูกค้า (Customer Acquisition) ที่มาพร้อม แผนธุรกิจ ทั้งในมุมของการผลิตและการดำเนินงาน (Production & Operation) การตลาด (Marketing) และการเงิน (Finance) ที่จะทำให้กรรมการในเวทีสุดท้ายยอมรับในคุณค่าความสามารถของนวัตกรรมเพื่อสร้าง    ผลกระทบด้านความยั่งยืนได้จริง โดยมี คุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบูรณาการความยั่งยืนองค์การ ธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้มอบรางวัลให้กับเยาวชนทั้ง 6 ทีม

โดยผลการตัดสินไอเดียวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน จาก AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 ภายใต้ธีม Innovation for a Sustainable Society Hackathon 2023 มีดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ ทีมเก๋ากี่ โดยนำเสนอไอเดียนวัตกรรมธุรกิจที่มีชื่อว่า How are you? Online Application Platform ที่จะเป็นเหมือนเพื่อนที่พร้อมรับฟัง ให้กำลังใจ และเป็นที่พักใจสำหรับทุกคน
  • างวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ทีม AngsanaNew นำเสนอไอเดียนวัตกรรมธุรกิจที่มีชื่อว่า River Ranger เรือหุ่นยนต์เก็บขยะทางน้ำเพื่อลำคลองสะอาด
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ทีม Flying Turtle นำเสนอไอเดียนวัตกรรมธุรกิจที่มีชื่อว่า Track Point Sensor หมวกกันน็อกนิรภัยและแอปพลิเคชั่นเพื่อจูงใจผู้ขับขี่จักรยานยนต์ ให้สวมหมวกกันน็อกมากขึ้นผ่านระบบสะสมแต้ม

รางวัล Inspiration for a Sustainable Society จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

  • ทีมจรวดทางเรียบ นำเสนอไอเดียธุรกิจ Heet รองเท้าให้ความอบอุ่นบรรเทา อาการหนาวข้อและขาสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าต์
  • ทีมซักเสร็จฟู่ (Successful) นำเสนอไอเดียธุรกิจ Bonny แอปพลิเคชั่นโกนิโอมิเตอร์ สำหรับวัดระยะการเคลื่อนที่ของข้อต่อในรูปแบบภาษาไทย เพื่อกระดูกที่ดีเหมือนมีหมอดีอยู่ข้างตัว
  • ทีม Passinion นำเสนอไอเดียธุรกิจ Smart Trash Point ถังขยะที่สนับสนุน การแยกขยะภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี Feature สะสมแต้ม

คุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบูรณาการความยั่งยืนองค์การ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวการถึงตัดสินและภาพรวมในปีนี้ว่า

“กรรมการพิจารณาจากตัวต้นแบบและแผนธุรกิจที่ทำได้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ไอเดีย ต้องเป็นของที่ขายได้จริงมีความแตกต่าง โดยเฉพาะ Product ที่ช่วยคน เป็นโจทย์สำคัญที่จะฝึกให้เยาวชนเก่งขึ้น และเป็นคนดีที่ได้ส่งต่อกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งในอนาคตก็สามารถนำเยาวชนในโครงการไปต่อยอดกับบริษัทอื่นๆ ของธนาคารกสิกรไทย อย่าง Katalyst หรือ KBTG เพื่อดันศักยภาพของเยาวชนให้ไปได้สุดทาง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของน้องๆ เช่นกัน”


นอกจากนี้ ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ร่วมก่อตั้ง ZTRUS หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“เยาวชนทั้ง 6 ทีมสามารถต่อยอดในอนาคตได้อย่างแน่นอน เพียงด้วยความเป็นเยาวชน อาจจะต้องมองเป้าหมายของการทำธุรกิจร่วมกับลูกค้า เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จะเป็นเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นโจทย์ในปีนี้ น้องๆ อาจจะต้องเข้าใจในผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อมองหาเป้าหมายและเดินทางไปด้วยกัน ซึ่งเป็นบาลานซ์ในอนาคตสำหรับน้องๆ ทั้ง 6 ทีม จะไปต่อได้”

“งานนี้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพ และเรียนรู้การทำธุรกิจตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ทั้ง 6 ทีมนำไปต่อยอดใช้ได้ในชีวิตจริง” คุณปรัชญา โมรา ผู้ก่อตั้งเพจ "ไปให้ถึงร้อยล้าน" เพจคนทำธุรกิจที่มีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคน กล่าวเสริม

นอกจากนี้ Hackathon Day ยังได้รับเกียรติจาก คุณธรรมสร มีรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โรบอท เมคเกอร์ จำกัด มาเป็น Inspiration Talk แชร์แนวทางเส้นทางการสร้างธุรกิจ และไอเดียนวัตกรรมเพื่อลูกค้าและผู้คน เพื่อให้น้องๆ นำความรู้ไปปรับใช้กับแผนธุรกิจอีกด้วย 

AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AFTERKLASS ที่มุ่งเน้นการให้เยาวชน ช่วงอายุ 15-20 ปี มีความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงินต่อยอดเงินออม และ การลงมือทำธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง เรียนรู้ วิธีการพัฒนาและต่อยอดไอเดียนวัตกรรมเพื่อช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมให้สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ ผู้ที่สนใจโครงการ AFTERKLASS ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.afterklass.com หรือ Facebook: AFTERKLASS


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...