ผลการศึกษาชี้ 'คุณภาพอากาศ' เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อ 'ความสุขของประชาชน'

ผลการศึกษาชี้ 'คุณภาพอากาศ' เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อ 'ความสุขของประชาชน'

ทุกวันนี้นอกจากจะต้องเช็คคุณภาพอากาศแล้ว อาจจะต้องเช็คความสุขของตัวเองด้วย โดยล่าสุด World Economic Forum ได้เผยผลการศึกษาจากทั่วโลก พบว่า ระดับคุณภาพอากาศอาจส่งผลต่อระดับความสุขด้วยเช่นกัน

ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่า GDP นั้นไม่ได้เป็นตัววัดคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี การพัฒนาทางเศรษฐกิจ อาจไม่ได้มาพร้อมกับความสุขที่มากขึ้นของประชาชน

อาจจะได้เห็นตัวอย่างกันแล้วในหลายประเทศ ยิ่งมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าไร ทั้งสิ่งแวดล้อม พื้นที่สีเขียวกลับถูกคุกคาม และส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนอย่างเรา ๆ อย่างการจะไปเดินเล่นสูดฝุ่น PM 2.5 หรือวิ่งในสวนสาธารณะ ก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าดึงดูดอีกต่อไป

ผลกระทบจากคุณภาพอากาศที่เลวร้ายนั้นส่งผลทั้งต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการทำงาน อีกทั้งมันยังส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิตของทารก และระบบทางเดินหายใจ การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าในแต่ละปี ได้มีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศกว่า 7 ล้านคน

แม้จะเห็นตามข่าวว่ามีผู้เสียชีวิต มีอาการป่วย หรือแพ้อากาศมากขึ้น การอ้างว่ามีสาเหตุมาจากคุณภาพอากาศที่เลวร้าย ก็อาจจะเป็นการกล่าวถึงต้นทุนสวัสดิการที่แท้จริงน้อยไปหน่อย แต่นี่ก็เป็นหลักฐานชัดเจนที่เราได้รับผลกระทบโดยตรง ว่าคุณภาพอากาศที่แย่ลงทุกวันนั้น ส่งผลกับสุขภาพจิต และความสุขของเราจริง ๆ

ภาพจาก WHO

ตัวอย่างผลการศึกษาจากทั่วโลก

หนึ่งกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากประเทศเยอรมนี ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 30,0000 คน โดยได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อลดการปล่อยมลพิษในโรงไฟฟ้า ในบริเวณจุดที่กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ พบว่าภายหลังจากที่ได้มีการติดตั้ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใต้ลมมีระดับความสุขเพิ่มขึ้น ต่างจากผู้ที่อยู่เหนือลมที่ความสุขไม่ได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง แม้การเปรียบเทียบและการทดลองนี้ จะดูไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมเท่าไร แต่มันก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจได้ว่า คุณภาพอากาศมีผลต่อระดับความสุข เช่นเดียวกับปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อระดับความสุขเช่นกัน

อีกตัวอย่างจากประเทศจีน นักวิจัยได้ทำการศึกษากลุ่มผู้ใช้ Sina Weibo (Twitter ของจีน) ใน 144 เมือง โดยได้ทำการติดตามดูข้อความของกลุ่มตัวอย่างออนไลน์ ว่าได้แสดงให้เห็นถึงระดับความสุขที่เพิ่มขึ้น หรือลดลง จากระดับคุณภาพที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวันอย่างไร ซึ่งก็พบว่า ระดับความสุขของประชาชนได้ลดลงในวันที่ระดับมิลพิษมีค่าสูง

การพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ของประชาชนนั้น แน่นอนว่าควรจะเป็นเป้าหมายที่สำคัญของนโยบายสาธารณะ แต่ปัจจุบันยังเห็นได้ชัดว่าส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญที่ความเป็นอยู่ที่ดีในด้านวัตถุอยู่ แม้จะมีหลายคนออกมาแสดงความเห็นว่าเราควรจะใส่ใจในความคิด และความรู้สึกของประชาชนว่าพวกเขามีความคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตอย่างไร บางทีการนำเรื่อง 'ความสุขของประชาชน' เข้าไปเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม น่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้มั่นใจว่า ทุกคนได้ให้ความใส่ใจในเรื่องมลพิษทางอากาศจริง ๆ  เช่นนี้ คุณภาพชีวิตของเราก็น่าจะดีขึ้นตามไปด้วย

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...