บทสรุปภารกิจเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน | Techsauce

บทสรุปภารกิจเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน

การแข่งขัน Virtual Hackathon ระดับประเทศในหัวข้อ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน ของโครงการ “JUMP THAILAND 2021” ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง AIS NEXT และ Techsauce กับภารกิจเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนาและต่อยอดในการแก้ไขปัญหาพร้อมยกระดับคุณภาพอากาศ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย โดยได้จัดการแข่งขันขึ้นเมื่อวันที่ 5 - 7 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา และมีไอเดียนวัตกรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมายจากผู้เข้าเเข่งขันทั้งหมด 20 ทีม ซึ่งในวันนี้ Techsauce จะมาสรุปภาพรวมบรรยากาศงานซึ่งอัดแน่นไปด้วยความรู้และความสนุกจากกิจกรรมมากมายตลอดทั้งสามวัน

รวมพลังระดมไอเดียนวัตกรรมกับโครงการ “JUMP THAILAND 2021”

AIS NEXT 'JUMP THAILAND 2021'

เริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดงานต้อนรับเข้าสู่การแข่งขัน Virtual Hackathon ระดับประเทศ ที่ได้รับเกียรติจาก คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และ Intouch โดยคุณกานติมาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเติบโตของทุกภาคส่วนในสังคม และมองว่านี่เป็นโอกาสที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน และเป็นส่วนหนึ่งของการต่อยอดความคิดเพื่อยกระดับการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า

“เรามีความเชื่อว่าในฐานะองค์กรที่อยู่ในสังคมไทย การเติบโตเพียงผู้เดียวนั้นทำไม่ได้ แต่การเติบโตของทุกคนพร้อมกันไป เป็นเรื่องสำคัญ” คุณกานติมา เลอเลิศยุติธรรม กล่าวเปิดงานต้อนรับเข้าสู่การแข่งขัน

ในส่วนของศาสตราจารย์ นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งให้เกียรติมาร่วมกล่าวเปิดการแข่งขันด้วย ได้กล่าวในฐานะตัวแทนจากหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบในการพัฒนาคนรุ่นใหม่ผ่านกลไกทางการศึกษา และเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการวิจัยนวัตกรรมในสังคม โดยมองว่างานนี้เป็นการผนึกกำลังของคนรุ่นใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง พร้อมผลักดันโครงการอันเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศให้เกิดขึ้นจริง

Workshop เตรียมความพร้อมให้กับทีมผู้เข้าแข่งขันก่อนลุยวัน Pitching

ช่วงแรกของโครงการได้มีการจัด Workshop หลากหลาย session จากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ที่มาร่วมแชร์ความรู้ เทคนิคและประสบการณ์ต่าง ๆ พร้อมให้คำแนะนำกับทีมผู้เข้าแข่งขัน สำหรับนำไปปรับใช้ในวัน Pitching โดย Workshop แรกพบกับ คุณชวยศ ป้อมคำ CEO จาก Codekit Innovation ในหัวข้อ Problem & Customer Validation and Lean startup เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันได้นำเทคนิคต่าง ๆ ไปต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด ด้วย Lean Startup และทำความเข้าใจถึงความต้องการและปัญหาที่ลูกค้าต้องเจอ เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมแนะแนวทางในการสัมภาษณ์และการทดสอบประสบการณ์ของลูกค้าเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการที่จะทำให้ได้เปรียบกว่าคู่แข่ง 

Workshop ถัดมาเป็นหัวข้อเกี่ยวกับ UX Design & Rapid prototype โดย คุณลินดา ไกรวาณิช UX/UI/Web designer ผู้ร่วมก่อตั้ง Magnetolabs Co., Ltd. ซึ่งเป็นการอธิบายให้ผู้เข้าแข่งขันเห็นถึงประโยชน์ของการทำ Prototype พร้อมเทคนิคการเลือกเครื่องใช้มือต่าง ๆ  รวมถึงมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำ Prototype อย่างละเอียดอีกด้วย

AIS NEXT 'JUMP THAILAND 2021'

ต่อเนื่องกันในวันที่สองของการแข่งขัน กับกิจกรรม Workshop โดย คุณพชร ยงจิระนนท์ Managing Director จากบริษัท SpeakPro Training ที่ได้มาเผยเทคนิคสำหรับวัน Pitching ให้กับเหล่าผู้เข้าแข่งขันในหัวข้อ Pitching Techniques ซึ่งคุณพชรก็ได้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันเห็นองค์ประกอบที่สำคัญในการ Pitching พร้อมเคล็ดลับ “การพูดเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ฟัง” ซึ่งเป็นด่านแรกที่จะสร้างความประทับใจให้กับผลงานนวัตกรรมของแต่ละทีม

รวมตัวผู้เชี่ยวชาญ ให้คำปรึกษาและตอบทุกความสงสัย ใน Mentoring Session 

ตามมาติด ๆ กับ Mentoring Session ที่ได้รวมตัวของเหล่า Mentor กว่า 32 ท่าน จากทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญอยู่ในหลากหลายวงการ ตั้งแต่ Marketing Automation, Data Analytics, AI, Machine Learning Pediatric Allergist, Account Firebase, Climate Change, Startup Ecosystem, SDGs, User Experience, Business Transformation, Entrepreneurship และอื่น ๆ อีกมากมาย มาร่วมให้การสนับสนุนผู้เข้าแข่งขัน โดยผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมจะได้แบ่งกันไปตาม Breakout Rooms ผ่านทาง Zoom เพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านอย่างใกล้ชิด เรียกได้ว่าคลายทุกความสงสัย สามารถนำคำแนะนำที่ได้ไปต่อยอดไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพอากาศประเทศไทยได้อย่างแน่นอน

AIS NEXT 'JUMP THAILAND 2021'

จุดหมายปลายทางของการเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรม

ในวันสุดท้ายของ Virtual Hackathon ช่วงเช้าได้มีการแข่งขันรอบ Semi-final ของทั้ง 20 ทีม เพื่อคัดเลือกเพียง 10 ทีม เท่านั้น ที่จะมีโอกาสได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบ Final โดยทุกทีมก็ได้นำประสบการณ์ ความรู้ เทคนิค และคำปรึกษาที่ได้รับมาปรับใช้กับการ Pitch ในวันนี้อย่างเต็มที ซึ่งมีเหล่าคณะกรรมการตัดสินทั้ง 5 ท่าน ดังนี้ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), คุณโทนี่วิลเลี่ยม กองสมบัติ CEO GP Solutions and Network Thai Co., Ltd., ดร.ณรงค์พนธ์ บุญทรงไพศาล หัวหน้าโครงการบริษัทร่วมทุนอินเว้นท์ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ (INTOUCH), คุณกฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้ง ENRES (Energy Response), คุณอภิญญา สิระนาถ Head of Exploration, UNDP Accelerator Labs 

และทีมที่ได้เป็นสุดยอดไอเดียนวัตกรรม ได้แก่ ทีม DUN DOO DEE ตามมาด้วย ทีม Reporight และทีม MERL ตามลำดับ พร้อมรางวัลชมเชยอีก 7 รางวัล

DUN DOO DEE กับสุดยอดไอเดียนวัตกรรมลดฝุ่น PM 2.5 

ทีม DONE DO DEE ได้นำเสนอผลงานนวัตกรรมมุ่งลด PM 2.5 จากการเผาไร่ของเกษตรกร ด้วยแนวคิด “เลิกเผาด้วยคาร์บอนเครดิต” ลด PM 2.5 และปัญหาดินเสื่อมจากการเผาไร่ของเกษตรกร ผ่าน 4 ขั้นตอน “ลง ลด รับ แลก” เริ่มต้นด้วยการชวนเกษตรกร ลงทะเบียนเลิกเผา จากนั้นใช้ข้อมูลดาวเทียมตรวจสอบว่าเกษตรกรเลิกเผาจริงหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  IPCC คำนวณว่า การลดการเลิกเผา ของเกษตรกรคิดเป็นเท่าไหร่ และนำคาร์บอนเครดิตไปขายให้กับภาคเอกชน เพื่อนำเงินกลับคืนสู่เกษตรกรในรูปแบบ Carbon Coin โดยเหรียญดังกล่าวเกษตรกรสามารถนำไปแลกเป็นเงินสด หรือใช้ค้ำประกันในการกู้ยืมก็ได้ อีกทั้งยังสามารถนำไปแลกเป็นเครื่องมือทางการเกษตรได้อีกด้วย ที่สำคัญเศษฟางที่เหลือจากการทำการเกษตร ทางทีมพร้อมเป็นตัวกลางในการนำไปขายเป็นเศษพืชให้กับโรงงานถ่านหินชีวภาพและโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อสนับสนุนและช่วยสร้างรายได้ให้กับเหล่าเกษตรกรอีกทางหนึ่ง

AIS NEXT 'JUMP THAILAND 2021'

“ภารกิจเฟ้นหาสุดยอดไอเดียนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนาและต่อยอด เพื่อแก้ไขปัญหาพร้อมยกระดับคุณภาพอากาศ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทย การแข่งขันในครั้งนี้นับว่าเป็นเวทีที่สำคัญในการสร้างสังคมนวัตกรรมให้กับคนไทย ในขณะที่โลกยังคงหมุนต่อไปและไม่มีวันที่เราจะหยุดก้าวไปข้างหน้า วันนี้ AIS พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ และพร้อมรับมือกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดด” คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายงานขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวทิ้งท้าย

ถึงแม้ว่าการแข่งขันในครั้งนี้จะจบลงไปแล้ว แต่การเดินทางของทุกทีมยังคงดำเนินต่อไป ขอให้ทุกท่านติดตามผลงานและร่วมสนับสนุนทั้งทีมผู้ชนะและทุกทีมที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงใจให้เกิดนวัตกรรมที่จะเข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยต่อไป สามารถติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่น่าสนใจเช่นนี้ได้ทางเพจ Jump Thailand และ Techsauce

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...