ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปีนี้ เราจะเห็นการขยับของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่กับการลงทุนในเทคโนโลยี AI เช่น Microsoft ที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์และบริการของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Cloud Service ไปจนถึงระบบ Video-conference การเดินเกมแบบนี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ภาคธุรกิจจะได้รับจากการใช้เทคโนโลยี AI เห็นได้ชัดจากตัวเลขการจ้างงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา AI ที่กำลังเพิ่มมากขึ้น
ประกอบกับกระแสการใช้งานของ DALL-E และ ChatGPT ที่เปิดให้ใช้งานโดยผู้คนทั่วไป ทำให้รู้สึกว่านี่เป็นเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดด้วยประสิทธิภาพของมัน ถึงแม้ว่าช่วงแรกจะเป็นการใช้งานแบบฟรี แต่ทางผู้สร้างอย่าง OpenAI ก็ออกมาให้ความเห็นว่าสุดท้ายแล้วหากจะใช้งานในระยะยาวก็จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บเงิน
ในแง่ของธุรกิจ การทำเงินจากเทคโนโลยี AI มีสองแนวทาง หนึ่งคือแบบ “โยนหินถามทาง” คือการลงทุนนิดหน่อยเพื่อดูกระแสตอบรับจากสังคม จริยธรรม รวมไปถึงองค์กรเ นื่องจากมนุษย์อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดได้ไม่นาน แบบที่สองคือการ “เทหมดหน้าตัก” คือบริษัทที่เชื่อมันใน AI และพร้อมที่จะลงทุนในจำนวนเงินที่มากเพื่อที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมใหม่นี้
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปัญญาประดิษฐ์อย่าง Tom Davenport และ Nitin Mittal ได้เขียนหนังสือ All-in On AI เกี่ยวกับการเดิมพันของบริษัทที่ใช้ประโยชน์จาก AI และทำให้ประสบความสำเร็จในด้านเทคโนโลยี
บริษัทที่กำลัง “ทุ่มสุดตัว” เหล่านี้ใช้กลยุทธ์อะไรบ้างในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับ AI และมีใครบ้างที่ลงมาเล่นในอุตสาหกรรมนี้
ยักษ์ใหญ่อย่าง Alphabet ที่เป็นบริษัทแม่ของ Google คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการเดิมพันกับ AI หลายๆ บริการของ Google ไม่ว่าจะเป็น Maps หรือ Gmail ต่างใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้งานมาโดยตลอด รวมไปถึงบริษัทเทคฯ อื่นๆ อย่าง Apple, Meta, Amazon, Microsoft ต่างก็ใช้ AI
แต่กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึงบริษัทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่บริษัทเทคโนโลยีโดยตรง (Non-Tech) ว่ามีการเดิมพันอย่างไรบ้างกับ AI อะไรคือแรงจูงใจและความท้าทายที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นมาลงสนามนี้ และทำไมถึงมีไม่กี่บริษัทที่กล้าจะเดิมพันกับ AI? ผู้เขียนอย่าง Davenport ได้ให้ความเห็นว่า
เพราะมันจำเป็นต้องมีการลงทุนที่เยอะและต้องการผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ คุณจะเดิมพันหมดหน้าตักกับ CEO ที่ไม่หนุนเรื่อง AI ไม่ได้หรอก
อีกเรื่องที่ภาคธุรกิจควรโฟกัสก่อนที่จะเดิมพันหรือใช้ AI คือเรื่องของ “จริยธรรม” เพราะบริษัทส่วนใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ AI พยายามที่จะพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างโปร่งใสและมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อโมเดลธุรกิจด้วย
Davenport และ Mittal ได้จำแนกรูปแบบกลยุทธ์ในการดำเนินงาน (strategic archetypes) ออกเป็น 3 รูปแบบ
สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือเทคโนโลยีนี้ไม่ได้ถูกผูกขาดอยู่แค่ในแวดวงบริษัทใน Silicon Valley แต่อย่างใด ไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทเทคโนโลยีถึงจะต้องลงทุนกับ AI เห็นได้จากบริษัท Non-Tech ที่เข้าร่วมถนนสายนี้เช่นเดียวกัน เพราะประโยชน์ของมันนั้นมหาศาล
อย่างไรก็ดี นอกจากการทำความเข้าใจด้านเทคโนโลยีแล้ว การทำความเข้าใจด้านมนุษย์ก็สำคัญไม่แพ้กัน กล่าวคือนอกจากจะมีตัวเทคโนโลยี เราต้องเข้าใจถึงกลยุทธ์ในการนำสิ่งนี้มาใช้ และต้องตระหนักถึงความสำคัญของ ‘ข้อมูล’ ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีนี้
All In On AI: How Smart Companies Win Big With Artificial Intelligence
McKinsey State of AI 2022 highlights stubborn adoption plateau
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด