E-commerce ข้ามพรมแดน อีกโอกาสคนไทยส่งสินค้าขายต่างประเทศกับ Amazon | Techsauce

E-commerce ข้ามพรมแดน อีกโอกาสคนไทยส่งสินค้าขายต่างประเทศกับ Amazon

E-commerce ข้ามพรมแดน  (Cross border e-commerce) โมเดลการทำการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งจะมีการจัดการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศเพื่อให้สินค้าไปถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย

คุณเจมี่ เบรนแนน หัวหน้าทีม Amazon Global Selling ประจำประเทศไทย ได้เปิดเผยสถิติและกลยุทธ์ของ Amazon ประเทศไทยกับ Techsauce ใน Group Interview ว่า ในช่วงโควิดเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนและทุกธุรกิจได้มีการปรับตัวค่อนข้างมาก Amazon มองเห็นเทรนด์การเติบโตของ E-commerce ทั่วโลก โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า E-commerce ข้ามพรมแดนจะมีการเติบโต 2.3 เท่า ของการเติบโตของE-commerce ทั้งหมด และจะมีการเติบโตสูงถึง 458,000 ล้านบาท จากปัจจุบัน  110,000 ล้านบาท 

นับตั้งแต่กันยายน ปี 2020 ต่อเนื่องจนถึงสิงหาคม 2021 พบว่า ในช่วงระยะเวลานั้นผู้ขายชาวไทยได้มีการขายสินค้าไทยผ่าน Amazon กว่า 7 ล้านชิ้นในทุกวินาทีจะมีสินค้าประมาณ 14 ชิ้น ถูกขายผ่านช่องทางของ Amazon ทั้งนี้ในแง่ของผู้ขายชาวไทย ที่มียอดขายเกินกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้มีการเติบโตขึ้นถึง 30% 

E-commerce ข้ามพรมแดน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเติบโตสูง โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งตามรายงานของ JP Morgan ระบุว่า E-commerce ข้ามพรมแดน จะมีสัดส่วนถึง 30%  ในประเทศไทย โดยกว่าครึ่งของผู้ซื้อได้ทำการสั่งซื้อจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นศักยภาพทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย 

ทั้งนี้ประเภทสินค้าไทยที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ง 65% ของ GDP มาจากการส่งออก และพบว่าในไทยมีการค้าขายและส่งออกไปในเอเชียถึง 61% , 18% ในอเมริกา และ 13% ในยุโรป ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าเป็นการขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

อาหาร-เครื่องประดับ-สิ่งทอ หมวดสินค้ายอดฮิต

Amazon ได้มีการ Research พบว่าไทยมีการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามูลค่ากว่า 34,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสินค้าที่ส่งออกที่ติดหมวดหมู่ยอดฮิตได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องประดับ สิ่งทอ ของใช้ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต่างชาติให้ความสนใจ

ดังนั้นจึงมองว่าทั้งหมดนี้เป็นเทรนด์ที่สอดคล้องกับผู้ขายหรือผู้ซื้อใน Amazon ต่างประเทศด้วยเช่นกัน หากผู้ประกอบการไทยสามารถจับโอกาสทางธุรกิจนี้ได้ และนำ Amazon มาเป็นส่วนช่วยให้ธุรกิจของผู้ประกอบการไทยเติบโต เนื่องจาก Amazon มีการให้ความสำคัญกับธุรกิจต่างประเทศอย่าง ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป จึงทำให้ประเทศเหล่านี้กลายเป็นแหล่งลูกค้าสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยได้เช่นกัน

แผนงานของ Amazon Global Selling Thailand ปี 2565

แผนงานของ Amazon Global Selling Thailand ในปีนี้กลยุทธ์ที่ช่วยผู้ประกอบการไทย ได้แก่

1.จัดตั้งทีมงานไทยเพื่อคนไทยโดยเฉพาะ เพื่อลดอุปสรรคทางด้านภาษาในการทำธุรกิจร่วมกัน

2.พัฒนาเครื่องมือในการช่วยวิเคราะห์ทางการตลาด โดยได้มีการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ง่ายยิ่งขึ้นสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ 

3.เครื่องมือช่วยในการพัฒนาสินค้าและค้นหาสินค้าในหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อให้โดนใจผู้ซื้อต่างชาติ 

4.การเทรนนิ่งผู้ประกอบการผ่าน Amazon Seller University ซึ่งเป็นเว็บไซต์ คลังความรู้สำหรับผู้ขายอย่างผู้ประกอบการไทย 

รวมทั้งได้มีการทำงานร่วมกันและหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการไทย รวมทั้งการมีพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการด้านต่างๆ อาทิ ด้านการสร้างแบรนด์ ด้านการตลาด และด้านโลจิสติกส์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการไทย จะมีเครื่องมือที่สามารถขยายตลาดผ่านอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนกับ Amazon ค่อนข้างมาก 

ซึ่งผู้ประกอบการชาวไทยสามารถลงทุน และให้เวลากับตัวเองในการสร้างแบรนด์ผ่านการใช้เครื่องมืองของ Amazon ในการวิเคราะห์ตลาดและดีมานด์ต่างๆของตลาด และค้นหาโปรดักท์ที่ยังมีช่องว่างทางการตลาด เนื่องจาก Amazon มีฐานลูกค้าค่อนข้างกว้างครอบคลุมถึง 200 ประเทศ มีฐานสมาชิกถึง 300 ล้านคนโดยในปี 2020 ทาง Amazon ได้มีการขยายพื้นที่จากการจัดเก็บสินค้ากว่า 50% ทั่วโลก หรือที่เรียกว่า fulfillment by amazon

นอกจากนี้ Amazon ยังได้มีการพัฒนาเครื่องมือและการบริหารจัดการทางด้าน E-commerce ข้ามพรมแดนค่อนข้างมากเพื่อให้ผู้ขายชาวไทยได้เข้าไปเรียนรู้และหาโอกาสทางธุรกิจในการทำอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน โดยในปี 2020-2021 ได้มีการลงทุนสร้างเครื่องมือการบริการกว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้ผู้ขายได้ใช้งานรวมกว่า 250 เครื่องมือเพื่อการจัดการการขายผ่าน Amazon และช่วยเพิ่มมูลค่าผ่านการส่งออกทางอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

และเมื่อทุกธุรกิจต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอีคอมเมิร์ซเป็นหนึ่งในนั้นได้รับผลกระทบ ดังนั้นอีคอมเมิร์ซข้างพรมแดนจึงถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้และสามารถปรับตัว ขยายตลาด พร้อมกับสร้างยอดขายได้ในที่สุด

ความท้าทายของผู้ประกอบการไทย ในการขายผ่าน E-commerce ข้ามพรมแดน

1.ในช่วงโควิดทุกคนต้องมีการปรับตัวและเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจผ่าน E-commerce ข้ามพรมแดน

2.ในเรื่องของภาษากับต่างประเทศ ซึ่งทางทีมได้มีการจัดเตรียมสื่อและการสื่อสาร พร้อมเคล็ดลับต่างๆ พบว่า 75% ของผู้ประกอบการชาวไทยมองว่าภาษาเป็นอุปสรรคลำดับต้นๆในการขยายธุรกิจไปยังตลาดต่างประเทศ 

3.เครื่องมือวิเคราะห์คำค้นหาของผู้บริโภค เพื่อเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อที่ผู้ขายจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปพัฒนาโปรดักท์

4.การพัฒนาทำความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP และจะมีการหารือกับหอการค้าอเมริกาในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการมากขึ้น

5.พาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการต่างๆในแง่ของการทำธุรกิจ อาทิ ผู้ให้บริการทางด้านกฎหมาย โลจิสติกส์ และจะมีการพาร์ทเนอร์กับ Service Provider Network

6.ส่งเสริมสินค้าเพื่อความยั่งยืน หรือ โมเดล BCG เป็นแนวคิดการนำนวัตกรรมเพื่อมายกระดับการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืนผ่านช่องทาง E-commerce ข้ามพรมแดน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...