อุปสรรคในการเป็นสุดยอดองค์กรแห่งนวัตกรรม คือวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ | Techsauce

อุปสรรคในการเป็นสุดยอดองค์กรแห่งนวัตกรรม คือวัฒนธรรมที่ไม่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์

อะไรคือสิ่งที่ขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร? ทำไมวัฒนธรรมของบางองค์กรดูเหมือนจะผลักดันองค์กรไปข้างหน้า ในขณะที่วัฒนธรรมบางองค์กรดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนองค์กร?

Andrew Grant ผู้เขียนหนังสือ ‘Who Killed Creativity?... And How Can We Get it Back? เขามีประสบการณ์การสอนและทำงานร่วมกับบริษัทในกลุ่ม Fortune 500 มากกว่า 20  ปี เพื่อช่วยในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ การสร้างความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม จะมาเผยคำตอบนี้ให้ได้ทราบกัน

“การแข่งขันเพื่อเป็นที่หนึ่งในด้านนวัตกรรมขององค์กรกำลังทำลายความคิดสร้างสรรค์”

เขาให้ความเห็นว่า “การแข่งขันเพื่อเป็นที่หนึ่งในด้านนวัตกรรมขององค์กรนั้นกำลังทำลายความคิดสร้างสรรค์”

"ทุกวันนี้เราได้ยินคำว่า ความคิดสร้างสรรค์ การมีนวัตกรรมดิจิทัลในองค์กรไปแทบจะทุกแห่ง แต่สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดในเรื่องการสร้างนวัตกรรม คือการกระโจนเข้าสู่การสร้างนวัตกรรมโดยละเลยความคิดสร้างสรรค์ที่มาพร้อมกัน เพราะการที่จะเกิดนวัตกรรมได้นั้น ก่อนอื่นคนจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการทำให้นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นภายในองค์กร"

การที่จะเกิดนวัตกรรมได้นั้น ก่อนอื่นต้องเริ่มจาก 'คน' จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการทำให้นวัตกรรมนั้นเกิดขึ้นภายในองค์กร"

"ผมมีความเห็นว่า หลายบริษัทได้ตระหนักว่า ความคิดสร้างสรรค์ หรือการมีนวัตกรรมดิจิทัลในองค์กร นั้นเป็นสิ่งสำคัญ แต่พวกเขาพยายามแก้ปัญหาโดยใช้ทางลัด ทั้งสร้าง Innovation lab การจัด Hackathon หรือให้วันศุกร์เป็นวันทำงานแบบสบายๆ ทั้งหมดนี้ผมมองว่ามันเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หากคุณต้องการสร้างองค์กรที่สร้างสรรค์ คุณต้องเริ่มจากการสร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์"

"หากคุณต้องการสร้างวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ในองค์กร คุณจะต้องเริ่มจากการจุดความคิดสร้างสรรค์ขึ้นในตัวพนักงานก่อน อีกทั้งเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทของคุณมี Talent ที่ใช่ ก็ต้องเริ่มจากการมองหาคนที่มีลักษณะแบบนั้นตั้งแต่ขึ้นตอนการจ้างงาน"

"ผมกังวลว่าหากองค์กรใช้ทางลัดด้วยความคิดที่ว่าพวกเขาจะสามารถสร้างฮาร์ดแวร์ แลปทดลอง หรืออะไรก็ตาม แต่ละเลยเรื่องของซอฟท์แวร์ ซึ่งมันเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะทำการวัดประสิทธิภาพของมัน"

"เราต้องทำให้คนสามารถคิดอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างวัฒนธรรมที่อำนวยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ วัฒนธรรมที่จะช่วยให้กระบวนการนวัตกรรมเกิดขึ้นในองค์กร ไม่ใช่กีดกัน"

เรามีประสบการณ์ทำงานกับองค์กรต่างๆ กว่า 20 ปีในเรื่องวิธีคิดแบบ Design Thinking ช่วยองค์กรในการแก้ปัญหา ยกตัวอย่างปัญหาที่เราเจอคือ เมื่อลูกค้าถามว่า 'เราจะสร้าง engagement ในที่ทำงานได้อย่างไร?' สิ่งที่เราพบก็คือลูกค้าที่มาปรึกษาจ่ายเงินเดือนให้พนักงานในเรทขั้นต่ำเท่านั้น ดังนั้นมันไม่ใช่แค่ว่าจะลงไปแก้ปัญหานั้นได้อย่างไรในทันทีน่ะครับ แต่เราต้องเปิดกว้างในการตีความ และมองหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหานั้นๆ ด้วยเพื่อที่จะได้โซลูชั่นออกมา

พบกับ Andrew ได้ที่งาน Techsauce Culture Summit 2019

ร่วมฟัง Keynote ในหัวข้อ “Who Killed Creativity?... And how can we get it back? (Saving Creativity in the Age of Innovation)” ในเซสชั่นนี้ Andrew จะพาไปค้นหาคำตอบของสถานที่ทำงานที่สร้างสรรค์ และสิ่งที่จำเป็นในการเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นการรับประกันว่าความคิดสร้างสรรค์จะยังคงเป็นหนึ่งในดีเอ็นเอขององค์กรที่งาน Techsauce Culture Summit 2019 วันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรม เอส 31 สุขุมวิท กรุงเทพฯ รายละเอียดเพิ่มเติมและซื้อบัตรเข้างานได้ที่ http://bit.ly/31SKMl8


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

สรุปเทคโนโลยีในปี 2025 เทรนด์ไหนกำลังจะมา ? ฟังความเห็นจาก 3 มุมมองสำคัญ : นักพัฒนา ผู้ประกอบการ และนักอนาคตศาสตร์

ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมแ...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...