คนรุ่นใหม่ในอาเซียนตื่นเต้นกับผลของเทคโนโลยีต่องานในอนาคต แต่ยังอยู่ในโหมด "ตั้งรับ" มากกว่า "ปรับตัว"

คนรุ่นใหม่ในอาเซียนตื่นเต้นกับผลของเทคโนโลยีต่องานในอนาคต แต่ยังอยู่ในโหมด "ตั้งรับ" มากกว่า "ปรับตัว"

ผลการสำรวจ ASEAN Youth and the Future of Work ของ World Economic Forum (WEF) และ Sea Group (ชื่อเดิม Garena) จากสิงคโปร์ พบว่า คนหนุ่มสาวในภูมิภาคอาเซียนมีทัศนคติในเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่องานในอนาคต อีกทั้งมีความปรารถนาที่จะเป็นนายตัวเอง

ผลการสำรวจพบว่า กว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของคนหนุ่มสาวอายุที่มีต่ำกว่า 35 ปี เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มจำนวนงานในอนาคต และอีก 67 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มศักยภาพของพวกเขาในการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลึกไปยังผลสำรวจในแต่ละประเทศ คนหนุ่มสาวก็ไม่ได้มีทัศคติเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีในแง่บวกไปเสียหมด

(Photo: World Economic Forum)

การสำรวจนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Sea Group โดยทำการสำรวจผู้ใช้แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ของ Garena และ Shopee เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซสัญชาติสิงคโปร์กว่า 64,000 คน จากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

เป็นที่น่าสนใจว่าทัศนคติเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่องานมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ

จากผลสำรวจ คนหนุ่มสาวประเทศสิงคโปร์มีทัศนคติในเชิงบวกเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีต่องานน้อยที่สุด โดยมีเพียง 31 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนประเทศอินโดนีเซียมี 54 เปอร์เซ็นต์ และประเทศฟิลิปปินส์ 60 เปอร์เซ็นต์ ผลการสำรวจเผยเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่งาน World Economic Forum on Asean ในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

(Source: Perceptions of the future: Will technology increase jobs? by WEF)

ผลสำรวจยังคงต่างกันไปตามระดับการศึกษา โดย 56 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่ระบุว่าไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาเชื่อว่าเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มงาน ในขณะที่คนที่มีการศึกษาสูงในระดับมหาวิทยาลัยหรือสูงกว่า มีเพียง 47 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อเรื่องนี้

(Source: Perceptions of the future: Education and income levels by WEF)

Justin Wood หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิกของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) กล่าวว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างการเกิดขึ้นของ AI, หุ่นยนต์และรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ จะส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อตลาดแรงงานในอนาคต ในตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าผลกระทบที่เทคโนโลยีมีต่องานและรายได้ในอนาคตคืออะไร ทั่วโลกต่างกังวลว่าเทคโนโลยีจะมีผลกระทบต่องาน ส่งผลให้เกิดเกิดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้งมีอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น แต่คนในภูมิภาคอาเซียนกลับมีทัศนคติในเชิงบวกต่อเรื่องนี้”

สามารถกล่าวได้ว่า ผู้ประกอบการจำนวนมากในภูมิภาคนี้จะต้องเจอความท้าทายในเรื่องการหา Talent เข้ามาทำงานอย่างแน่นอน ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ได้ช่วยให้เห็นภาพรวมของตลาดแรงงานในภูมิภาคอาเซียนในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า

ผลการสำรวจยังสอบถามถึงบริษัทประเภทไหนที่คนหนุ่มสาวกำลังทำและอยากที่จะทำในอนาคต

ปัจจุบันกว่า 58 เปอร์เซ็นต์ทำงานให้กับบริษัทขนาดเล็ก หรือสำหรับธุรกิจ SME ทั้งที่เป็นของตนเองและเป็นธุรกิจครอบครัว โดยหนึ่งในสี่ของผู้ทำแบบสำรวจต้องการที่จะเป็นนายตัวเองและเริ่มธุรกิจของตนเอง

อย่างไรก็ตาม คนที่ทำงานให้กับ SME กล่าวว่าพวกเขาต้องการทำงานให้กับองค์กรประเภทอื่นๆ ด้วย โดย 17 เปอร์เซ็นต์ทำงานใน SME แต่มีเพียง 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่มีความต้องการทำงานให้กับ SME ต่อไปในอนาคต

ในตรงกันข้าม ผลการสำรวจยังพบว่าคนหนุ่มสาวมีความต้องการอย่างชัดเจนที่จะทำงานให้กับบริษัทข้ามชาติ (ปัจจุบันมี 10 เปอร์เซ็นต์ทำในบริษัทข้ามชาติ ส่วนอีก 17 เปอร์เซ็นต์ ต้องการทำกับบริษัทข้ามชาติในอนาคต) อีกทั้งทำงานให้กับรัฐบาล (ปัจจุบันมี 13 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับ 16 เปอร์เซ็นต์ที่อยากจะทำในอนาคต)

ผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นถึงความพึงพอใจส่วนตัวในเรื่องความมั่นคงและรายได้ ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ในการจ้างงานในองค์กรขนาดเล็กและและขนาดใหญ่ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศแสดงให้เห็นถึงความต้องการที่คนอยากจะเป็นผู้ประกอบการมีมากขึ้นและเริ่มที่จะกล้าลงมือเสี่ยง โดยในประเทศไทยมีคนหนุ่มสาวจำนวน 26 เปอร์เซ็นต์ที่ทำงานจ้างตัวเอง ส่วนอีก 36 เปอร์เซ็นมีความต้องการที่จะเป็นนายตัวเองในอนาคต

ซึ่งผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่า SME จะประสบกับอุปสรรคในการหาคนที่มีความสามารถมาทำงานในอนาคต เนื่องจากมีคนหนุ่มสาวเพียงจำนวนน้อยที่ต้องการทำงานให้กับพวกเขา จะเป็นการดีที่จะมีการสนุบสนุนและและพัฒนา SME ในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยผู้ประกอบการหน้าใหม่และธุรกิจขนาดเล็กให้มีทรัพยากรที่เพียงพอต่อความต้องการของพวกเขา

นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบกว่า คนหนุ่มสาวในภูมิภาคอาเซียนใช้เวลา 4-6 ชั่วโมงโดยประมาณบนโลกออนไลน์ โดยใช้เวลา 61 เปอร์เซ็นต์ในเวลาว่าง และ 39 เปอร์เซ็นต์ไปกับการทำงาน

โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากที่สุด คิดเป็นประมาณ 7 ชั่วโมงโดยเฉลี่ย ส่วนประเทศที่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์น้อยที่สุดคือเวียดนาม คิดเป็นประมาณ 5 ชั่วโมง

เราพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับตลาดแรงงานในอนาคต?

คนหนุ่มสาวกว่า 700 ล้านคนในเอเชียกำลังเข้าสู่วัยแรงงานเร็วกว่าที่ระบบเศรษฐกิจจะสามารถสร้างงานให้พวกเขาเสียอีก

ในขณะที่อัตราการว่างงานยังน้อยอยู่ (คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์) ในปัจจุบันคนหนุ่มสาวกว่า 220.5 ล้านคนไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาหรือระบบแรงงาน

นอกจากนี้ในภูมิภาคนี้ยังเข้าสู่ยุคผู้สูงอายุค่อนข้างเร็ว ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ภูมิภาคนี้จะเข้าสู่ยุคของผู้สูงอายุมากกว่าที่จะรุ่งเรือง

จากรายงานล่าสุดของ United Nations Development Programme (UNDP) แนะนำว่า ความรู้และทักษะเกี่ยวกับผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องได้รับการให้ความสำคัญและต้องอยู่ในนโยบายหลักของรัฐ

คนหนุ่มสาวในภูมิภาคนี้กำลังเผชิญกับความท้าทายในการมีธุรกิจของตนเอง โดยเฉพาะในช่วง scale โดยผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-34 ปีเป็นกลุ่มที่ทำสตาร์ทอัพอีกทั้งยังเติบโตรวดเร็วที่สุดโนโลก โดย 40 เปอร์เซ็นของคนกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่จะสร้างงานให้ผู้อื่นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม แตกต่างจาก Jack Ma และ Mark Zuckerberg คนหนุ่มสาวในภูมิภาคนี้มีความต้องการที่จะเริ่มทำงานในบริษัทขนาดเล็กมากกว่าที่จะเริ่มสร้างอาณาจักรขนาดใหญ่ของตัวเอง

แน่นอนว่าความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้ความช่วยเหลือจากคนอื่น คนหนุ่มสาวจำเป็นที่จะต้องได้รับความรู้และทักษะผู้ประกอบการ เพื่อเตรียมพร้อมรับกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

บริษัทที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่นั้น นำโดยคนที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และเป็นผู้ได้รับการศึกษาสูง ในการที่จะผลักดันให้เกิดผู้นำที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนทำธุรกิจ จึงมีความสำคัญที่คนในภูมิภาคนี้จะต้องช่วยกันพัฒนาทักษะที่จำเป็น สร้างความเป็นผู้ประกอบการ และให้แน่ใจว่าทักษะที่พวกเขาจะได้รับนั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

รัฐบาลในบางประเทศได้ประสบความสำเร็จในปูเส้นทางนี้ ยกตัวอย่างกรณีของ Singapore’s Action Community for Entrepreneurship (ACE) หน่วยงานของรัฐบาลที่สนับสนุนสตาร์ทอัพโดยเฉพาะ ที่ได้ประสบความสำเร็จในการบ่มเพาะและสร้างสตาร์ทอัพให้ประสบความสำเร็จมากว่า 15 ปี และสามารถสร้างงานได้จำนวนมหาศาล

นอกจากนี้ในประเทศจีน China’s Know About Business (KAB) ได้พัฒนาหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการ ถูกสร้างโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO (International Labour Organization) ในกว่า 50 ประเทศ ประสบความสำเร็จไม่เพียงเฉพาะช่วยเหลือธุรกิจใหม่ๆ ในการเติบโตเท่านั้น แต่ยังได้สร้างสถาบันที่ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ โดยเปิดให้มีสอนหลักสูตรผู้ประกอบการใน 100 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

อ้างอิง: World Economic Forum, Sea Group, Straitstimes, Nation Media 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...