ในยุคที่ใครๆ ก็มีโทรศัพท์มือถือเป็นของตนเอง แม้การใช้งานจะสะดวกรวดเร็ว แต่ในแง่ขององค์กรธุรกิจนั้น โทรศัพท์ประเภท fixed line ยังคงมีความสำคัญอยู่เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของค่าบริการที่คุ้มค่า สะดวกต่อการบริหารจัดการแต่ละหน่วยงานภายในองค์กร และการสนทนาทางธุรกิจผ่านช่องทางนี้บางครั้งอาจเหมาะสมและถูกกาลเทศะมากกว่าการติดต่อโดยตรงไปยังโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะผู้บริหาร และหนึ่งในผู้นำที่ให้บริการด้านนี้มาอย่างยาวนานในประเทศไทยคือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานั้นเทคโนโลยีด้านสื่อสารโทรคมนาคมได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานตามพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และเฉกเช่นเดียวกับรูปแบบการใช้งาน business fixed line หรือบริการโทรศัพท์พื้นฐานที่นำมาประยุกต์ใช้กับสำนักงาน
ในยุคเริ่มต้นของโลกสื่อสาร เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ส่งสัญญาณจะอยู่ในรูปแบบของ Analog โดยหนึ่งคู่สายสามารถรองรับได้ครั้งละหนึ่งคู่สนทนา และคุณภาพของเสียงอาจจะยังไม่ดีนัก
และเมื่อโลกสื่อสารเข้าสู่ยุคระบบดิจิตอลที่รูปแบบความต้องการที่หลากหลายขึ้น เช่น ต้องประชุมทางไกลผ่าน Video Conference ต้องส่งภาพ และข้อมูลไปด้วยนั้น เทคโนโลยีอย่าง ISDN (Integrated Services Digital Network) จึงถูกนำเข้ามาใช้ ทั้งรูปแบบของ ISDN-BRI (Basic Rate Interface) และ ISDN-PRI (Primary Rate Interface) โดย CAT เปิดให้บริการ ISDN-PRI ส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายที่เชื่อมต่อแบบระบบ E1 เชื่อมตรงกับชุมสายโทรศัพท์ของ CAT ถึงสถานที่ติดตั้งของสำนักงาน โดยสามารถให้บริการ 30 ช่องสัญญาณ/วงจร หรือหมายถึง 30 คู่สนทนาพร้อมๆ กันนั่นเอง นอกจากคุณภาพเสียงที่คมชัดแล้ว ยังมีส่วนลดตามยอดการใช้งานอีกด้วย
และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาที่อินเทอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานเป็นอย่างมาก ในฟากของโลกสื่อสารก็เช่นเดียวกัน ที่หลายแห่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการส่งสัญญาณเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือที่เรามักเรียกกันติดปากว่า VoIP หรือ Voice over IP (Voice over Internet Protocol), ด้วยอัตราค่าบริการที่ไม่สูง สะดวกในการติดตั้งเพียงแค่มีอุปกรณ์และอยู่ในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึง ทำให้องค์กรทั้งขนาดกลางและขนาดเล็กในปัจจุบันหลายแห่ง หันมาใช้บริการรูปแบบนี้กันมากขึ้น
โครงสร้างของการให้บริการแบบนี้คือการเชื่อมต่อระหว่าง VoIP Server ของผู้ให้บริการอย่าง CAT และอีกด้านเชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ปลายทางของบริษัทที่เป็น IP PABX หรือ SIP Server นั่นเอง ผ่านทางโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบการใช้งานดังกล่าวนี้เรียกว่า SIP Trunk โดย CAT ให้บริการ 1 เลขหมายเริ่มต้นใช้ที่ 5 ช่องสัญญาณ (Concurrent) หรือ เลือกใช้แบบ DID number 30เลขหมาย/30 ช่องสัญญาณ
ข้อดีของรูปแบบ SIP Trunk
และสำหรับองค์กรใดที่เดิมมีตู้สาขา PABX แบบเก่ามาก่อน ต้องการเปลี่ยนมาใช้ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบ SIP Trunk ก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เพียงแค่จัดหาอุุปกรณ์ Voice Gateway มาช่วยแปลงสัญญาณเสียงให้สามารถส่งผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถใช้บริการดังกล่าวได้ทันที ซึ่งการเชื่อมต่อแบบ SIP Trunk สามารถประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย เช่น การใช้งานร่วมกับระบบ Call Center หรือ บริษัทที่มีสาขาในต่างประเทศ และต้องการมีเบอร์ของไทยไว้ใช้งาน
จะเห็นว่าทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่, ขนาดกลางและขนาดเล็ก สามารถใช้บริการ CAT business fixed line ได้หมด โดยผู้ที่สนใจสามารถปรึกษาโซลูชั่นการใช้บริการ ได้ที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์โทรศัพท์ โทร 0-2104 3546 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด