รู้จักโครงการ Code Their Dreams กับเหตุผลที่ CDG Group อยากให้เด็กไทยได้เรียนเขียนโค้ด | Techsauce

รู้จักโครงการ Code Their Dreams กับเหตุผลที่ CDG Group อยากให้เด็กไทยได้เรียนเขียนโค้ด

การเขียนโค้ด (Coding) เป็นการเขียนชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำตามสิ่งที่เราต้องการ ด้วยการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้การเขียนโค้ดมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ในทุกมิติ เพราะไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ของแอปพลิเคชัน เกม หรือเว็บไซต์  ล้วนถูกสร้างมาจากการเขียนโค้ดทั้งนั้น อาจกล่าวได้ว่าการเขียนโค้ดเป็นหนึ่งเบื้องหลังของการสร้างโลกยุคใหม่ นั่นก็คือโลกที่ขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี ทั้งการผลิตโทรศัพท์มือถือ การขนส่ง การเงินการธนาคาร การผลิตรถยนต์ ฯลฯ  ทั้งหมดนี้ล้วนต้องพึ่งพาโค้ดดิ้ง ภาษาที่จะกลายเป็นภาษาสากลแห่งโลกอนาคต

Code Their Dreams

นอกจากนั้น ยิ่งเทคโนโลยีดิจิทัลถูกพัฒนามากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ที่มีทักษะการเขียนโค้ดก็จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้นด้วย หลายประเทศจึงให้เด็กเริ่มเรียนเขียนโค้ดพื้นฐานเป็นวิชาบังคับ เพราะความรู้นี้นอกจากจะเป็นประตูสู่อนาคตของพวกเขาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างทักษะสำคัญที่โลกการทำงานยุคใหม่ต้องการ 

หลายประเทศให้เด็กเรียนเขียนโค้ดเป็นวิชาบังคับ

วันที่ทุกอุตสาหกรรมเศรษฐกิจจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี  นอกจากการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลแล้ว หลายประเทศเล็งเห็นความจำเป็นกับการลงทุนพัฒนาศักยภาพของคนในชาติ ให้มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่จะเป็นอนาคต 

  • สหราชอาณาจักร :  ในปีพ.ศ. 2557 สหราชอาณาจักรเป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่กำหนดให้ นักเรียนที่มีอายุระหว่าง 5-16 ปี เรียนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือวิธีการเขียนโปรแกรมขั้นพื้่นฐาน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรที่มีทักษะทางเทคโนโลยีในระยะยาว 
  • สิงคโปร์ :  ในปีพ.ศ. 2563  กระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ได้กำหนดให้วิชาการเขียนโค้ดขั้นพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในโรงเรียนประถมศึกษา
  • เกาหลีใต้ : รัฐบาลได้เพิ่มการเขียนโปรแกรมเป็นวิชาเรียน โดยเริ่มต้นจากระดับชั้นมัธยมศึกษาก่อน 
  • แอฟริกาใต้ : เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความต้องการ Software engineer สูง แอฟริกาใต้จึงเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่นำการเขียนโค้ดมาอยู่ในหลักสูตรของโรงเรียน  โดยในปีพ.ศ. 2563 เริ่มจาการฝึกอบรมครูก่อน เพื่อให้พวกเขาสามารถถ่ายทอดให้เด็ก ๆ ได้ นอกจากนั้นรัฐบาลยังได้ส่งเสริมภาคเอกชนให้มีการเปิดโรงเรียนสอนเขียนโค้ดด้วย  
  • ไทย :  ในปีพ.ศ. 2561 กระทรวงศึกษาธิการและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้กำหนดให้วิชาวิทยาการคำนวณหรือการเขียนโค้ดขั้นพื้่นฐานเป็นวิชาบังคับ 

ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นความตื่นตัวและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องเร่งผลิตบุคลากรที่มีทักษะ นอกจากนั้นยังเป็นการมอบโอกาสให้เด็กได้รู้จักพื้นฐานการเขียนโค้ด

ทำไมเด็กไทยจะต้องเรียนเขียนโค้ด

ในปี 1995 อัจฉริยะวงการเทคโนโลยีที่พลิกโฉมโลกอย่าง Steve Jobs ได้กล่าวไว้ว่า “ทุกคนควรเรียนทักษะการเขียนโปรแกรม เพราะมันสอนให้คุณรู้จักวิธีคิด” เด็กที่เรียนเขียนโค้ดในวันนี้ ไม่จำเป็นต้องมีอาชีพโปรแกรมเมอร์ในวันหน้า เพราะการเขียนโค้ดไม่ได้สอนให้พวกเขามีทักษะคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่เป็นการเรียนที่จะสะท้อนวิธีคิดของเขา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่เขาจะเอาไปใช้ได้ในชีวิตจริงทั้งในและนอกห้องเรียน 

หลายคนอาจมองทักษะการเขียนโค้ดเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะกับเด็ก ผู้ปกครองอาจมองไม่เห็นความสำคัญของการเรียนเขียนโค้ดในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม ในโลกดิจิทัลรูปแบบการทำงานได้เปลี่ยนไป ทักษะที่ตลาดต้องการจากคนทำงานก็เปลี่ยนไปด้วย และการเขียนโค้ดก็เป็น Hard skill สำคัญที่จะเป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพที่มั่นคง อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม Soft skills ที่เป็นทักษะแห่งอนาคตมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving), ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking), ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity),  การคิดเชิงคำนวณ (Computional thinking) ที่จะช่วยให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์อย่างเป็นมีตรรกะ สามารถหาวิธีแก้ปัญหาเองได้ ทักษะเหล่านี้สามารถนำไปบูรณาการได้กับหลาย ๆ ศาสตร์ ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับคอมพิวเตอร์เท่านั้น  

จากผลสำรวจของ Stack overflow’s developer ที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม Developer ทั่วโลก พบว่า กว่า 54 % ของ Developer เริ่มต้นเขียนโค้ดตั้งแต่อายุ 16 ปี และ  8.9 % เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนอายุ 10 ปี แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันการให้เด็กเรียนเขียนโค้ดเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ยิ่งในโลกยุคใหม่ที่ความรู้ทางเทคโนโลยีเป็นเรื่องจำเป็น  

นอกจากนั้น หากเราพิจารณาจากมุมมองการพัฒนาประเทศ ทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัลถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องสร้างเสริมให้บุคลากรของตัวเองมี เพื่อจะเพิ่มประสิทธิภาพให้เราแข่งขันกับชาติอื่นได้

ในทุก ๆ ปี  IMD (International Institute for Management Development) จะมีการประกาศอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก ปรากฎว่าในปี 2565 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 63 เขตเศรษฐกิจ ลดลงมา 5 อันดับจากปีก่อนหน้า และจากการวัดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 40 จาก 63 ประเทศ (ลดลง 2 อันดับจากปีก่อนหน้า) เป็นสัญญาณเตือนให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พยายามเพิ่มทักษะทางดิจิทัลให้กับบุคลากรของตัวเองเป็นวาระเร่งด่วน เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ และการเริ่มสอนให้เด็กเขียนโค้ดก็เป็นหนึ่งในวิธีการที่จะพาเราไปถึงจุดนั้น 

รู้จัก  Code Their Dreams โครงการสอนโคดดิ้งของ CDG Group 

กลุ่มบริษัทซีดีจี (CDG Group) ผู้เชี่ยวชาญในการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจรแก่หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ยาวนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ออกแบบ พัฒนา จัดหาอุปกรณ์พร้อมติดตั้งระบบ จนไปถึงการฝึกอบรมให้บุคลากรพร้อมนำไปใช้งานได้ทันที

ด้วยความเชื่อว่าโค้ดดิ้งจะกลายเป็นภาษาสากลแห่งโลกอนาคต เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจ สร้างสิ่งใหม่ให้กับโลก และทำให้ฝันเป็นจริง กลุ่มบริษัทซีดีจีจึงได้จัด โครงการ  Code Their Dreams โครงการ Workshop ให้ความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นแก่นักเรียน ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์และสนุกสนาน ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ รู้จักภาษาคอมพิวเตอร์ สนใจฝึกฝนทักษะความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น เพื่อให้น้อง ๆ ได้จุดประกายความคิดและนำไปต่อยอดในอนาคต

Code their Dreams มีเป้าหมายในการสร้างแรงบันดาลใจและถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านของโค้ดดิ้งและอื่น ๆ ให้กับเด็กไทย  นอกจากนี้ยังถ่ายทอดความรู้ไปยังครู ผู้ปกครอง และบุคคลอื่น ๆ ที่สนใจ ที่จะเข้าไปสอนเด็กหรือนักเรียน และในอนาคตเราจะต่อยอดในการสอนโค้ดดิ้งและจะสอนเทคโนโลยีและโซลูชันต่าง ๆ เพื่อให้ก่อเกิดประโยชน์กับผู้เรียนและภาคอุตสาหกรรม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กไทยจะตระหนักในความสำคัญของโค้ดดิ้งและเทคโนโลยีเพื่อจะเป็นบุคลากรทางด้านนี้ต่อไป โดยกลุ่มบริษัทซีดีจีได้ริเริ่มโครงการ Code Their Dreams ตั้งแต่ปี 2559 ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น 

  • Code Their Dreams Workshop @Orientation : จัดฐานกิจกรรมโค้ดดิ้งในโรงเรียน เชิญชวนพนักงานใหม่ C&G และผู้บริหาร มาร่วมกิจกรรม
  • Train the Trainer : โครงการสอนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานให้แก่ ครูอาจารย์หรือครูอาสาสมัคร เช่น โปรแกรม Scratch เพื่อให้บุคลากรเหล่านี้เตรียมความพร้อมในด้านการสอน
  • In House Training : โครงการสอนโค้ดดิ้ง โดยใช้โปรแกรม Scratch ให้กับบุตรหลานพนักงาน CDG & G-Able
  • Public Training : โครงการความร่วมมือระหว่าง CDG Code Their Dreams กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม ภาควิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา และจัดทำคอร์สอบรมหลักสูตรอบรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
  • โรงเรียนต้นแบบ :  โรงเรียนต้นแบบแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดราชสิงขร ที่ทางโครงการได้ไปสอน โปรแกรม Scratch ใน คาบวิชาคอมพิวเตอร์ เป็นระยะเวลา 1 เทอม


โดยกลุ่มบริษัทซีดีจีได้ริเริ่มโครงการ Code Their Dreams ตั้งแต่ปี 2559 และได้รับผลตอบรับอย่างดีมากจากนักศึกษาและผู้สนใจผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ในบรรยากาศสนุกสนานทั้งรูปแบบออนไลน์และออนไซต์ ตลอดระยะเวลาโครงการมีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมกว่า 5000คน ครูผู้สอนจำนวน 400 คน และมีโรงเรียนเข้าร่วมแล้วกว่า 500โรงเรียน ซึ่งถือเป็นก้าวแรกสำคัญในการสร้างบุคลากรทักษะสูงให้กับประเทศ

ร่วมมือกับภาคการศึกษาเพื่อขยายโอกาสการเรียนรู้ 

นอกจากโครงการสอนโค้ดดิ้งให้กับหลากหลายกลุ่มคนแล้ว กลุ่มบริษัทซีดีจียังได้ทำ MOU กับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีและทางวิชาการ รวมถึงแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิเช่น 

  • คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล : โดยโครงการ Code Their Dreams ได้จัดอบรมทักษะโปรแกรม Scratch, WordPress, Chatbot ให้กับนักศึกษาในคณะ เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดในการพัฒนา Website และ Facebook Chatbot ให้กับชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ 
  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ : ได้ร่วมกันจัดทำโครงงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในด้านต่าง ๆ และพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน หรือกิจกรรมที่สนับสนุนงานวิจัย อาทิ โครงการ Public Training หลักสูตรอบรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) : ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือล่าสุดที่เกิดขึ้น โดยกลุ่มบริษัทซีดีจีร่วมกับสถาบัน 42 Bangkok สถาบันปั้นโปรแกรมเมอร์แห่งแรกในอาเซียนและแห่งที่ 3 ของเอเชีย โดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดโครงการ “Code Their Dreams by CDG x 42 Bangkok Virtual Hack Event”  Virtual Hack รวมทั้งสิ้น 3 โจทย์ 3 Episodes การแข่งขัน ซึ่งจัดขึ้นสำหรับโปรแกรมเมอร์ เยาวชนรุ่นใหม่ และบุคคลทั่วไป ที่สนใจการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์นวัตกรรมดิจิทัล ท้าประลองในโจทย์การแข่งขันจากบริษัทในกลุ่มซีดีจรวมเงินรางวัลการแข่งขันทั้งสิ้น 200,000 บาท ซึ่งการแข่งขันได้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 250 คน ซึ่งถือว่าได้ผลตอบรับและไอเดียนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับอนาคตบุคลากรไอทีรุ่นใหม่ของประเทศ ที่มี Skill และแนวคิดที่ทันสมัยต่อยอดได้

ในอนาคตกลุ่มบริษัทซีดีจียังมีแผนที่จะขยายความร่วมมือสร้างเครือข่ายครูอาจารย์และนักเรียนที่เคยร่วมโครงการ CDG Code Their Dreams มาจัดแข่งขันผลงานด้านโค้ดดิ้ง โดยจัดเป็นหลายหมวดหมู่ เช่น 

  • ทำสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Scratch
  • การแข่งขันการเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์
  • การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python
  • สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์หรือเว็บไซต์ ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่มีเครื่องมือการเรียนการสอน เพื่อให้เป็นช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ความร่วมมือทั้งหมดนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการช่วยพัฒนาการศึกษาและความพร้อมด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมนวัตกรรม และช่วยให้ประเทศไทยเข้าสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยนวัตกรรม (Innovation-Driven Economy) เป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ประเทศสามารถก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ได้

โดยสรุปแล้ว โครงการ Code Their Dreams ของกลุ่มบริษัทซีดีจี นับเป็นฟันเฟืองหนึ่งที่จะช่วยเปิดโอกาสและสร้างองค์ความรู้การเขียนโค้ดดิ้งให้กับเยาวชนไทย เป็นการเสริมแกร่งทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรที่จะกลายเป็นอนาคตของประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันในโลกเทคโนโลยีได้ เหนือสิ่งอื่นใด โครงการนี้จะเป็นเส้นทางสู่การสร้างฝันที่เป็นจริงให้กับโลก ไม่แน่ว่าเยาวชนเหล่านี้อาจจะเป็นคนที่สร้างสิ่งใหม่ด้วยการเขียนโค้ดและพลิกโฉมโลกเราก็ได้

อ้างอิง : robogarden, imd, techbootcamps

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สงครามห้างไทย: ใครจะครองตำแหน่ง Landmark แห่งกรุงเทพ?

ห้างสรรพสินค้าในประเทศไทยนั้นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว บทความนี้ Techsauce จึงอยากชวนมาจับตามองสงครามห้างใหญ่ใจกลางเมืองของไทยจาก 4 ผู้เล่นหลักอย่าง Siam Piwat , Central, เครือ TCC ...

Responsive image

จาง อีหมิง เจ้าของ TikTok ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งในจีน!

ปี 2024 ดูเหมือนเศรษฐกิจจีนจะไม่สู้ดีนัก ส่งผลให้จำนวนมหาเศรษฐีจีนเติบโตช้าที่สุดในรอบ 20 ปี รายงานจากสถาบันวิจัย Hurun เผยว่าในปีนี้มีเศรษฐีหน้าใหม่เพียง 54 คนที่ได้เข้าสู่รายชื่อ...

Responsive image

PwC นำประสบการณ์ผสานเทคโนโลยี SAP สร้างเครื่องมือ ‘ESG Solution’ ช่วยลูกค้าเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน

PwC ร่วมมือกับ SAP สร้างโซลูชันด้าน ESG เพื่อช่วยลูกค้าองค์กรเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่ความยั่งยืน ชื่อว่า ‘SAP Sustainability Control Tower’...