เมื่อความสำคัญของ UX UI เข้ามาเปลี่ยนซอฟแวร์โซลูชั่นยุคเก่า พบกรณีศึกษา DRVR ผู้พัฒนาโซลูชั่นวิเคราะห์ติดตามรถยนต์ขนส่ง | Techsauce

เมื่อความสำคัญของ UX UI เข้ามาเปลี่ยนซอฟแวร์โซลูชั่นยุคเก่า พบกรณีศึกษา DRVR ผู้พัฒนาโซลูชั่นวิเคราะห์ติดตามรถยนต์ขนส่ง

ถ้าใครทำงานสายไอที/โทรคมนาคมมาก่อน เวลาพูดถึง Vehicle Telemetic บ้าง Fleet Management บ้าง (ระบบติดตามรถยนต์ขนส่ง และการวิเคราะห์ต่างๆ เช่น รายงานพฤติกรรมคนขับ การจอดรถ เปิด/ปิดประตูรถ เป็นต้น) อาจจะไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นมากนัก เพราะโซลูชั่นกลุ่มนี้มีมากว่า 15 ปี ไม่น่ามีอะไรใหม่แล้ว แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า บริษัทต่างๆ จะพอใจกับสิ่งเหล่านี้ ซอฟแวร์แบบเก่าที่ใช้งานยาก อาจทำให้คนเลิกล้มไม่ใช้บริการได้ แต่เมื่อเราอยู่ในยุคที่การพัฒนาซอฟแวร์ต้องเน้นผู้ใช้เป็นหลัก การให้ความสำคัญกับ UX และการนำแนวคิดด้าน Lean Startup และ Agile มาประยุกต์ใช้ อาจช่วยเปลี่ยนแปลงวงการซอฟแวร์ด้านนี้ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น

ทำความเข้าใจภาพรวมของ Vehicle Telemetic หรือ Fleet Management ก่อนว่าทำงานอย่างไร

DRVR

บริษัทต่างๆ ที่สนใจการติดตามรถยนต์ โดยเฉพาะภาคขนส่งสินค้า หรือแม้แต่รถขนเงินธนาคาร ที่ต้องการติดตามดูว่า รถจอดที่ไหน ถูกเปิดประตูไปกี่ครั้ง ควบคุมการใช้ความเร็ว, น้ำมัน, ความปลอดภัยด้านต่างๆ และเมื่อไปขั้นตอนวิเคราะห์ advance มากขึ้น คือการวางแผนเส้นทางเมื่อมีรถหลายๆ คัน ต้องปรับจูนอย่างไรเพื่อให้ใช้ resource ที่มีคุ้มค่าที่สุด โดยรถนั้นต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ระบุพิกัดได้ มีระบบเซนเซอร์คอบตรวจจับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรถ และทำ pack ข้อมูลด้วยกันส่งเดต้าออกไปผ่านยังเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ซึ่งในอดีตมีตั้งแต่การส่งผ่านข้อความแบบ SMS (ยามที่โครงข่ายเน็ตใช้ไม่ได้) , ส่งผ่านโครงข่ายเดต้า (แล้วตั้งแต่ยุคสมัย GPRS/EDGE, 3G,4G) ข้อมูลเหล่านี้จะขึ้นไปประมวลผลและนำแสดงข้อมูล (Fleet Analytic) ให้กับ Fleet Manager คนที่ดูแลและควบคุมรถดังกล่าวอีกที

แต่แน่นอนว่า Fleet Manager จะอยากใช้เครื่องมือนั้นๆ หรือไม่ อยู่ที่ระบบ Fleet Analytic เลย ว่าใช้งานง่ายไหม ดูแล้วเข้าใจเดต้าที่ได้มาหรือเปล่า จึงทำให้ DRVR เข้ามาอุดช่องโหว่จุดนี้ ที่ผู้ให้บริการ Fleet Analytic แบบเดิม ไม่ได้นำเสนอให้ดีพอ ลองไปพูดคุยกับทีมงาน DRVR กัน

DRVR คือโซลูชั่นด้าน Fleet Analytic พวกเราเห็นเทคโนโลยีต่างๆ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาตลอด อะไรคือจุดเด่นของคุณ

เราเห็นโซลูชั่นด้าน Telematic มานานแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากรายอื่นโดยเฉพาะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ส่วน User Experience (UX) และ User Interface (UI) ของโซลูชั่นเรา เราให้ความใส่ใจในส่วนของ User Interface ที่เป็น Front-end มากๆ โดยโซลูชั่นอื่นๆ ในตลาดนี้ที่อยู่มานาน ตัวบริการของเค้าใช้งานค่อนข้างยาก และต้องได้รับการเทรนนิ่งเยอะมากเพราะความซับซ้อนของตัวระบบ ทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ขายยาก และในยุคที่ UX/UI เป็นเรื่องสำคัญเราจึงแก้ปัญหาในจุดนี้ จึงทำให้เราสามารถเติบโตสู่ระดับภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลาการเทรนนิ่งไม่กี่ชม. ก็สามารถกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญใช้ซอฟแวร์นี้ได้เลย

Screen Shot 2559-08-02 at 10.41.24 PM

คิดค่าใช้จ่ายยังไง?

รูปแบบการหารายได้ของเราไม่ซับซ้อน เราไม่ได้มุ่งหารายได้จากอุปกรณ์ตัวเซนเซอร์ที่ติดตั้งที่รถ โมเดลของเราคือระบบ Subscription-based ลูกค้าของเราจ่ายเราเป็นราคาต่อคัน/ต่อเดือน ทำให้พวกเขาสามารถขยายการใช้งานไปได้ตามความต้องการ หรือกำลังใช้บริการของเราเพื่อต้องการ Optimize ปรับแต่งการจัดการ Fleet ของพวกเขาให้คุ้มค่าที่สุด บางทีเค้าอาจพบว่าใช้จำนวนรถมากเกินไปก็ได้

คุณเปลี่ยนข้อมูลเดต้าเป็น Insight และกลายเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ได้จริงอย่างไร

คุณสามารถเก็บข้อมูลได้ตามที่คุณต้องการ และแปลงข้อมูลเหล่านั้นเพื่อมาแสดงผลเป็นความรู้ให้กับผู้ที่ดูแล อย่างไรก็ตามการที่จะดึงประโยชน์ให้กลายเป็น action คือนำไปใช้ได้ต่อนั้นเป็นกุญแจสำคัญเลย และนี่คือสิ่งที่ DRVR เข้ามาตอบโจทย์ด้วย คือการนำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าของเรา

บริการของเราไม่ได้อยู่แค่ตัวแพลตฟอร์ม แต่มันเกี่ยวข้องกับกระบวนการและบริการหลังการขายของพวกเราด้วย เราจะพูดคุยกับลูกค้าของเราสม่ำเสมอ และช่วยอธิบายในการดึงศักยภาพของเดต้าที่มีมาใช้ให้ได้มากที่สุดจากแพลตฟอร์มของเรา เราจะเริ่มตั้งแต่การเทรนนิ่งระบบ ฟังเสียงลูกค้า รวมถึงพร้อมปรับแต่งระบบให้ตอบโจทย์กับความต้องการเฉพาะทางให้ด้วย โดยการนำ Agile development process มาประยุกต์ใช้ในการปล่อยซอฟแวร์เวอร์ชั่นใหม่ๆ ออกมา

การนำ Cloud Platform (Microsoft Azure) มาใช้ช่วยให้ธุรกิจ DRVR ขยายสู่ต่างประเทศอย่างไรได้บ้าง?

DRVR ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Microsoft Azure และ Bizspark ตลอดช่วงเวลา 18 เดือน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยเราได้อย่างมากเลย ถ้าไม่มีแพลตฟอร์มดังกล่าวก็คงทำให้เราไม่สามารถขยายธุรกิจไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้  ซึ่ง Azure portal ก็ใช้งานง่าย และสามารถ deploy service ใหม่ๆ ขึ้นไปได้เร็ว โดยไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายเยอะ

13901999_10209711049031561_127929625_o

ความท้าทายของ IoT Startup ในแถบภูมิภาคนี้ แล้วคุณแเก้ปัญหามันอย่างไร

โห! มีเยอะมากเลย IoT ตอนนี้กำลังเป็นเรื่องร้อนแรง แต่สำหรับเราแล้ว ความท้าทายที่สุดจะเป็นเรื่องการทำอย่างไรให้ลูกค้าเข้าใจว่า DRVR นั้นแตกต่างจากระบบ Telematics แบบเดิมอย่างไร เราเลยต้องทำการ educate ตลาดให้มากในช่วงนี้

และในช่วงเวลาเดียวกันการที่ตลาดยังไม่ค่อยรู้ในเรื่องนี้มากนัก ก็ทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดนี้เช่นเดียวกัน และผลักดันให้แบรนด์ DRVR แข็งแรงขึ้น

คุณขยายบริการไปยัง 4 ประเทศในช่วงเวลาไล่ๆ กันได้อย่างไร

การขยายธุรกิจไปยังภูมิภาค คือต้องมีความต้องการในแต่ละตลาดก่อน ถ้ามีความต้องการขึ้นมาการทำธุรกิจก็จะเติบโตได้ไวขึ้น โดยเราหา Strategic Partner เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ ซึ่งสายสัมพันธ์เหล่านั้นจะเกิดขึ้นมาจากความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการหา Partner ผู้ที่จะมาช่วยเราในแต่ละตลาดและดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดียวกับเราได้

ข้อดีและความท้าทายในการทำธุรกิจในไทย

สิ่งดีๆ นั้นมีเยอะเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่มีความสวยงาม ผู้คนที่จิตใจดี และอาหารที่สุดแสนอร่อย ไม่ใช่เรื่องยากที่จะดึงดูดคนเก่งให้หลั่งไหลเข้ามาในประเทศนี้ แต่แน่นอนทุกอย่างก็มีความท้าทายในตัว สำหรับชาวต่างชาติที่จะตั้งบริษัทก็ยังมีกระบวนการต่างๆ มากมายและบางทียังดูไม่โปร่งใส... มีความแตกต่างในเชิงวัฒนธรรมการทำงานค่อนข้างมาก แต่เราก็พร้อมที่จะปรับจูนและเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส

===================================================

Startup เรียนรู้อะไรจากจุดนี้

ในยุคที่ครั้งหนึ่งเทคโนโลยีด้าน Vehicle Telemetic/ Fleet Management ถูกมุ่งไปที่การพัฒนาอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนรถ และการส่งสัญญาณข้อมูลกลับมาที่เซิร์ฟเวอร์ผ่าน Infrastructure ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในรูปแบบต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น และเมื่อเรามาถึงวันที่ทั้ง 2 ส่วนได้ถูกพัฒนาไปมากแล้ว

แต่การที่จะทำให้ลูกค้าอยากใช้งานนั้นไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงการเข้าใจผู้ใช้ที่ทุกอย่างต้องง่าย ดังนั้น UX/UI จึงเป็นศาสตร์ที่จำเป็น และนี่คือสิ่งที่ DRVR นำมาเพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า (Value Proposition) ด้วย Dashboard ที่ใช้จัดการและดูข้อมูล Fleet ที่ง่ายขึ้น และนำแนวคิดแบบ Subscription ที่กำลังได้รับความนิยมแบบ SaaS (Software as a Service) มาประยุกต์ใช้ คงต้องติดตามกันต่อกับการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคของโซลูชั่น B2B ลักษณะนี้

อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่ายังมีอีกหลายภาคธุรกิจที่ใช้ซอฟแวร์รูปแบบเดิม แล้วเกิดการติดขัด ซอฟแวร์ที่ใช้ไม่ได้อย่างใจ ใช้งานก็ยาก ไม่มีตัวไหนตอบโจทย์ และนี่คือปัญหาที่เกิดขึ้น และรอวันที่จะมีคนเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้  ไม่มีคนทำก็ทำเสียเอง เพราะมั่นใจว่าเราเข้าใจตลาดนี้ดีพอ .....ซึ่งหลาย Startup ก็เกิดขึ้นจาก Pain Point ที่เจอกันตรงๆ แบบนี้แหล่ะ :)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...