สิ่งที่มีค่าในปัจจุบันไม่ใช่น้ำมัน แต่คือคลังข้อมูล (Data) ดังนั้นจีนคือซาอุดิอาระเบียแห่งใหม่
Kai-Fu Lee, VC และผู้เขียนหนังสือ “AI Superpowers: China, Silicon Valley, and the New World Order” กล่าวกับสำนักข่าว CNBC
ปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลายอุตสาหกรรม จะเห็นได้จากรถที่ไม่มีคนขับ, การจับภาพบนใบหน้าที่ช่วยในเรื่องความปลอดภัย, หรือเทคโนโลยีที่สามารถตรวจหาโรคมะเร็งได้ดีกว่าหมอเสียอีก
PwC ระบุว่า GDP ของทั่วโลกถูกกำหนดให้เพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการเกิดขึ้นของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในสิบปีข้างหน้าการจ้างงานด้านเทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มมูลค่า GDP ของโลกเป็น 15.7 ล้านล้านเหรียญ โดยจีนคาดว่าจะช่วยเพิ่ม 7 ล้านล้านเหรียญ และอเมริกาเหนืออีก 3.7 พันล้านเหรียญ สำนักข่าว CNBC รายงาน
“หากคุณวัดโดยงานวิจัย สหรัฐฯ ยังคงเหนือกว่าแน่นอน และในอีกสิบปีข้างหน้าก็จะยังคงเป็นแบบนี้ แต่ถ้าวัดโดยตัวคุณค่าที่ได้, มูลค่าตามราคาตลาด, จำนวนผู้ใช้งาน, รายได้และเงินลงทุนใน AI ประเทศจีนนั้นได้นำหน้าไปแล้ว” Kai-Fu Lee กล่าว
เขายังบอกอีกว่า ในอนาคตของสหรัฐฯ อีก 15 ปีข้างหน้า AI จะเข้ามาแทนที่งานกว่า 40-50 เปอร์เซ็นต์
แผนพัฒนาด้าน AI ของจีนได้เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม 2017 ที่มีการแข่งขันโกะ ซึ่งนับว่าเป็นการแข่งขันที่ซับซ้อนและท้าทายมากเกมหนึ่งของโลก
Ke Jie ผู้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้แข่งโกะที่เก่งที่สุดในโลกจากจีน ได้พ่ายให้กับเจ้า AlphaGo บอท AI ของบริษัท Alphabel พัฒนาโดย Google
หลังจากการแข่งขันไม่กี่เดือน รัฐบาลกลางของจีนก็ได้ประกาศแผนพัฒนา AI หรือ “Artificial intelligence development plan”
โดยแผนนี้แบ่งออก 3 ช่วงได้แก่ การตามเทคโนโลยี AI ให้ทันภายในปี 2020, การพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมภายในปี 2025, และการเป็นผู้นำด้าน AI ภายในปี 2030
ในปี 2017 นักลงทุนของจีนได้ทุ่มเงินลงทุนในด้าน AI คิดเป็น 48 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนด้าน AI ทั่วโลก
ในปี 2017 สตาร์ทอัพจีนได้ระดมทุน 4.9 ล้านเหรียญ จากการลงทุน 19 ครั้ง ในขณะที่สหรัฐฯ สามารถระดมทุน 4.4 เหรียญจากการลงทุน 155 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตว่า ภาคธุรกิจนี้มีเม็ดเงินลงทุนมากเกินไปอีกทั้งยังแสดงความกังขาเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างรายได้ของอุตสาหกรรมนี้
เมื่อพูดถึงเรื่อง AI แล้ว จีนนับว่ามีข้อได้เปรียบในหลาย ๆ อย่าง แต่ที่เหนือกว่าประเทศอื่นคือการที่บริษัทในจีนสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลมหาศาล
“จากที่ได้เห็นไปแล้วว่าจีนประสบความสำเร็จในการปรับไปสู่ Cashless society ทุกคนสามารถใช้มือถือในการใช้จ่ายได้กับทุกอย่าง ซึ่งมันก็เป็นแหล่งข้อมูลมหาศาล” Thomas Friedman นักเขียนและคอลัมนิสต์บอกกับ สำนักข่าว CNBC
“เมื่อคุณได้เป็นเจ้าของข้อมูลมหาศาลนี้ แล้วนำ AI ไปปรับใช้กับมัน มันทำให้พวกเขาสามารถมองเห็นและทำนายสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้นและซับซ้อนขึ้น นี่เป็นข้อได้เปรียบมหาศาลของจีน”
มากไปกว่านั้น จีนไม่ได้มีกฎข้อบังคับความเป็นส่วนตัวที่เคร่งครัดเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งนี่ก็ทำให้มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับบริษัทที่จะทำอะไรก็ได้กับข้อมูล โดยจะเห็นได้ว่ารัฐบาลจีนได้ซื้อเทคโนโลยีเพื่อรวบรวมข้อมูลมหาศาลของพลเมืองอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
เมื่อพูดถึงเรื่อง talent จีนก็ยังไม่ได้เป็นผู้นำด้าน AI อยู่ดี
“นวัตกรรมต่างๆ นั้นยังคงมาจากสหรัฐฯ นี่เป็นเพราะที่นั่นมหาลัยระดับท็อปและเหล่าหัวกะทิก็จบจากที่นั่น วิศวกรชาวจีนก็จบจากอเมริกา อีกทั้งนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็มาจากอินเดียและที่อื่น ๆ นี่ทำให้สหรัฐยังได้เปรียบจีนอยู่ อย่างน้อยก็ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า” Ben Harburg หุ่นส่วนผู้จัดการของ MSA Capital กล่าว
อย่างไรก็ตาม จีนก็ยังมีคลังข้อมูลมหาศาลไว้ในครอบครอง อีกทั้งเด็กที่จบด้าน STEM ส่วนใหญ่ก็มาจากจีน
“ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จีนจะเป็นแหล่งทำเงินของคุณ พวกเขาจะพัฒนาไกลเหนือกว่าสหรัฐฯ”
“การแข่งขันด้าน AI นั้นยังจะเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องการเมืองด้วย โดยเฉพาะเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้แสดงจุดยืนในด้านผู้อพยพ”
“สิ่งสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก้าวไปข้างหน้า คือการที่เรามีคนกล้าที่จะเสี่ยง กล้าที่จะเริ่มทำธุรกิจ ตั้งบริษัท และสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และวิศวกรรมใหม่ ๆ แต่เมื่อทรัมป์เข้ามา เขาก็ได้ทำการปิดกำแพงนี้ไป” Thomas Friedman กล่าว
อ้างอิงจาก CNBC
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด