วิเคราะห์ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีนในโลกหลัง COVID-19 หลัง GDP โตสวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก | Techsauce

วิเคราะห์ความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจจีนในโลกหลัง COVID-19 หลัง GDP โตสวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ขึ้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน และเป็นเหตุที่ทำให้จีนต้องตัดสินใจปิดประเทศภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดในครั้งนี้ หลังจากนั้นจีนก็สามารถที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศได้ ภายในระยะเวลา 1 ปี และได้ทำการปลดล็อกดาวน์ ซึ่งก็ได้ส่งผลให้ เศรษฐกิจจีน เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน โดยมีการรายงานว่า GDP ของของจีนเติบโตขึ้นกว่า 2.1% ในปี 2020 ที่ผ่านมา ในขณะที่ข้อมูลจาก World Bank ได้เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาผลผลิตทั่วโลกตกไป 4.2% แต่กลับผลักให้ส่วนของจีนเพิ่มเป็น 14.5% ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 2 ปีเลยทีเดียว

เศรษฐกิจจีน

จีนอาจจะเตรียมขึ้นแท่น ผู้นำเศรษฐกิจโลกแทนสหรัฐ 

รายงานของ Bloomberg ระบุว่า ทั่วโลกต่างก็ได้มีการคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจของจีนว่าจะเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์ต่างคาดการณ์ว่าในปี 2021 นี้ GDP ของจีนจะเติบโตขึ้นอีก 8.2% และจะกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้ามหาอำนาจดั้งเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาภายในปี 2028 

ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่จะมีสงครามไวรัสกับมนุษย์ ทั่วโลกก็ได้ประสบปัญหาจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ ในสมัยที่มีโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี ในจังหวะนั้นทำให้จีนได้เข้าไปตีตลาดอื่นอย่างตลาดเอเชีย และยุโรป รวมถึงได้มีการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคภายในประเทศมากขึ้นเพื่อเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจ และยิ่งจีนสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ได้รวดเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจของจีนมากเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่า ทำไมในโลกหลัง COVID-19 ที่กำลังจะมาถึงนี้ จีนเนื้อหอมกับธุรกิจจากฝั่งอเมริกาและยุโรปในการที่จะเข้ามาลงทุน 

ไม่ว่าจะเป็น General Motors บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของอเมริกา และ Volkswagen บริษัทรถยนต์ชื่อดังเชื้อสายเยอรมัน ที่ตกลงจะทำการขายรถในจีนในจำนวนที่มากกว่าในบ้านของตัวเอง นอกจากนี้ทาง Starbucks ยังวางแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นในจีนอีก 600 สาขาภายในปี 2021 และทาง Nike ยังออกมารายงานอีกว่ายอดขายในจีนปีนี้พุ่งขึ้น 2 พันล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก

นอกจากการเติบโตของ GDP แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญของเศรษบกิจจีนใน 2020 ที่ผ่านมา 

  • เศรษฐกิจของจีนขยายตัวเท่ากับของอเมริกาในระยะเวลาที่เร็วมาก โดยระดับ GDP ของจีนเป็น 73% ของอเมริกาในปี 2020 และเพิ่มขึ้น 4.5% จากปีก่อน

  • จีนได้กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลก จากการเพิ่มขึ้น 3.6% ของการส่งออกในปี 2020 

  • จีนกลายเป็นประเทศที่นักลงทุนอยากมาลงทุนมากที่สุด ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 1.29 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าประเทศ 30-40% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า

  • จีนเป็นประเทศที่มีฐานบริษัทมากที่สุดในโลก จากรายได้ของกลุ่มบริษัททำให้จีนติดเป็น 1 ในลิสต์ของ The Fortune Global 500

  • พันธบัตรของจีนได้ถูกนำเข้าไปรวมในดัชนี FTSE Russell ซึ่งเป็นผู้จัดทำดัชนีหุ้นระดับโลก

เศรษฐกิจจีน

นอกจากนี้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมาจีนและอีก 14 ประเทศในเอเชียได้ดำเนินการเซ็นสัญญาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เพื่อลดมาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชีย และในขณะเดียวกันเดือนต่อมาทาง EU ก็ได้ตกลงทำสัญญาการลงทุนกับจีนเช่นกัน

ทั้งนี้จีนยังได้ออกมาประกาศว่า GDP ของจีนจะต้องเติบโตขึ้นอีก 2 เท่าให้ได้ภายในปี 2035 

แต่อย่างไรก็ตาม จีนไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ขนาดนั้น ตราบใดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องความพันธ์กับโจทย์เดิมอย่างสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านเทคโนโลยี เครดิตการลงทุน และที่สำคัญจีนยังเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเยอะอีกด้วย

อ้างอิง Bloomberg 




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...