รายงานและ Infographic นี้ ชี้ว่า "จีน" ได้ก้าวเป็นผู้นำ Fintech ของโลก | Techsauce

รายงานและ Infographic นี้ ชี้ว่า "จีน" ได้ก้าวเป็นผู้นำ Fintech ของโลก

จีนได้กระโดดข้ามเมืองผู้นำอย่าง London, New York และ Silicon Valley และกลายเป็น "ศูนย์กลางของนวัตกรรม Fintech ทั่วโลกและได้รับการยอมรับอย่างไม่ต้องสงสัย" ตามรายงานโดยธนาคาร EY และ DBS

the-rise-of-fintech-in-china-ey-dbs-bank-1440x564_c

รายงานเรื่อง "การตื่นขึ้นของ Fintech ในประเทศจีน: นิยามใหม่ของบริการทางการเงิน" ได้มองเห็นไดนามิก และการพัฒนาอย่างรวดเร็วของ Fintech ในประเทศจีน และมองลงไปว่าอะไรคือสิ่งที่ขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้

Neal Cross ผู้นำฝ่ายนวัตกรรมของ DBS กล่าวว่า "Fintech Ecosystem ของจีน ได้พัฒนาด้วยความเร็วที่สูงมาก"

“เขามาได้ไกลขนาดนี้ เพราะว่า Sandbox ของจีนดำเนินการในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต Fintech รวมกับการมีตลาดในประเทศที่แข็งแกร่ง ควบคู่กับการผลักดันอย่างต่อเนื่องสำหรับการพัฒนานวัตกรรมและการทดลองขับเคลื่อนโดยยักษ์ใหญ่ชั้นนำ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถนำมาประกอบกับนโยบายและกฎระเบียบของรัฐบาลได้ดี”

เหล่า Fintech ชั้นนำของจีนได้การกระจายไปต่อสู้ในการแข่งขันทั่วโลก Cross กล่าว และเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเริ่มพูดถึงการที่จีนจะมาเป็นศูนย์กลาง Fintech ในระดับโลก

Yu’e Bao จาก Ant Financial คือหนึ่งในกองทุนออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดจัดการเงิน 9.6 หมื่นล้านสำหรับลูกค้ามากกว่า 295 ล้านคน อ้างอิงจากกลางปี 2016 Ant Financial คือผู้ให้บริการทางการเงินซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba และยังบริหาร Alipay แพลตฟอร์มการจ่ายเงินออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีผู้ใช้มากกว่า 400 ล้านคนอีกด้วย

จีนเป็นตลาดกู้ยืมเงินแบบ Peer-to-peer ที่ใหญ่ที่สุด รุดหน้ามากถึง 3 เปอร์เซ็นของระบบสินเชื่อรายย่อยเมื่อเทียบกับ 0.7 เปอร์เซ็นของตลาดเดียวกันในสหรัฐอเมริกา Lufax แพลตฟอร์มระบบปล่อยเงินกู้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศมีผู้ใช้งานถึง 23.3 ล้านคนในเดือนกรกฎาคมปี 2016 เป็นตัวเลขที่มากกว่าสองเท่าตัวของปี

ปี 2016 มีการลงทุนใน Fintech ในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก โดยคาดว่าเงินลงทุนที่ลงในบริษัทจีน รวมๆ แล้วน่าจะมีมากถึง 1 พันล้านดอลล่าร์ โดยเป็นการลงทุนในสองบริษัทการเงินผ่านอินเทอร์เนตที่ใหญ่ที่สุดในจีนอย่าง Lufax และ JD Finance

ในไตรมาสที่สองของปี 2016 Ant Financial ระดมทุนได้ 4.5 พันล้านดอลล่าร์ กลายเป็นแพลตฟอร์ม Fintech ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยมูลค่าถึง 7 หมื่นล้านดอลล่าร์

เหล่าบริษัท Fintech สัญชาติจีนระดมเงินกันไปทั้งหมด 8.8 พันล้านดอลล่าร์ในระหว่างเดือนกรกฎาคม ปี 2015 ถึงเดือนมิถุนายน ปี 2016 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในเซคเตอร์เดียวกัน นั่นแสดงให้เห็นถึงการเติบโต 252 เปอร์เซ็น ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา

ตามรายงาน อุตสาหกรรม Fintech ของจีน เป็นผู้นำที่มีขนาดใหญ่ของโลกในเอเซียแปซิฟิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ Payment, Insurance และการให้กู้ยืมแบบ Peer-to-peer

ข้อมูลที่ได้จากธนาคาร DBS ชี้ให้เห็นว่า 40% ของลูกค้าธนาคาร/สถาบันการเงินจีนจะใช้การชำระเงินและการบริการส่งเงินโดยใช้ Fintech เทียบกับ 20% ในอินเดีย และเพียง 4% ในสิงคโปร์

ประมาณ 35% ของลูกค้าชาวจีนใช้บริการ Insurtech เทียบกับเพียง 2% ในประเทศอินเดียและ 2% ในสิงคโปร์

เเผนภาพที่ 1 เเสดงเปอร์เซ็นของธุรกรรมธนาคาร/การเงินที่ลูกค้าทำผ่านบริการ Fintech

กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนความเป็นผู้นำด้าน Fintech ของจีน

การเติบโตของ Fintech ได้รับการผลักดันจากจำนวนขององค์ประกอบโดยรวมหลายอย่าง รวมไปถึงความจริงที่ว่าสถาบันการเงินของจีนตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้น้อยลง ทั้ง SME และกลุ่มลูกค้ารายย่อย

การสำรวจลูกค้าธนาคารดำเนินการโดย EY พบว่า ลูกค้าต้องการใช้บริการที่ไม่ใช่ของธนาคาร เพราะพวกเขามีราคาและค่าธรรมเนียมที่น่าสนใจกว่า การใช้งานและการทำงานระบบออนไลน์ดีขึ้น มีคุณภาพของการบริการและมีนวัตกรรมของสินค้ามากขึ้น

เเผนภาพที่ 3 แสดงถึงเหตุผลที่ลูกค้าเลือกที่จะไม่ทำธุรกรรมที่ธนาคาร

รายงานกล่าวว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐและยุโรป โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลของจีนมีความสมบูรณ์มากกว่า พร้อมกับความนิยมในการใช้สมาร์ทโฟนของพวกเขาสำหรับการธนาคารบนมือถือก็มีอยู่มาก

ประเทศจีนมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 710 ล้าน มากกว่าสหรัฐและยุโรปรวมกัน ซึ่งนี่เพิ่งเป็น Penetration rate อยู่ที่ 51.7 ของประชากรทั้งหมด ยังมีพื้นที่การเติบโตอีกมาก

แผนภาพที่ 4 แสดงจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เนตต่ออัตราผู้ใช้อินเทอร์เนตในจีน

นอกจากนี้สมาร์ทโฟนได้กลายเป็นอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตที่แพร่หลาย ในเดือนกรกฎาคมปี 2016 ผู้คนจำนวน 656 ล้านคนหรือ 92.5% ของผู้ใช้ออนไลน์เข้าใช้ผ่านเชื่อมต่อผ่านมือถือ

ผู้ใช้มือถือสำหรับการชำระเงินออนไลน์คิดเป็น 358 ล้านคนภายในปี 2015 จำนวน 57.7% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีนบอกว่าใช้มือถือในการชำระเงิน

แผนภาพที่ 5 แสดงจำนวนผู้ใช้และอัตราผู้ใช้การจ่ายเงินออนไลน์และการจ่ายผ่านโทรศัพท์ในจีน ปี 2014-2015

"การพัฒนา Fintech สัญชาติจีนนั้น มีลักษณะโดดเด่นคือเข้าใจความต้องการที่ยังไม่ได้รับการเต็มเติมและเป็นโอกาสที่พวกเขาสามารถนำเสนอ นอกจากนี้ผู้ให้บริการหน้าใหม่มักจะไม่ถูกจำกัดด้วยโครงสร้างพื้นฐานเดิมๆ หรือข้อบังคับที่มีอยู่ในตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้ว " James Lloyd ผู้นำ Fintech ของ EY เอเชียแปซิฟิกได้กล่าวไว้

"เอกลักษณ์ของจีนคือมีการผสมผสานระหว่าง 'การเข้าสู่สังคมเมืองอย่างรวดเร็ว', 'ตลาดใหญ่ยักษ์ที่ยังไม่ได้รับการรองรับอย่างเต็มที่', 'การเข้าถึงในโลกออนไลน์และโทรศัพท์' และ 'ความเต็มใจของลูกค้าในการปรับตัวยอมรับเข้ากับนวัตกรรมในการค้า การธนาคาร และบริการทางการเงิน' "

ยักษ์ใหญ่ด้านอินเทอร์เน็ตของจีนทั้ง Alibaba และ Tencent ได้มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของ Fintech สองบริษัทใหญ่นี้ตอนนี้กำลังไปทั่วโลก

Alibaba Group ในปัจจุบันมีรายได้มากกว่า 86% จากประเทศจีน แต่มีเป้าหมายที่จะสร้างครึ่งหนึ่งของยอดขายทั้งหมดมาจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน Baidu ได้รับการขยายการให้บริการในต่างประเทศ Baidu Wallet ในประเทศไทย รวมถึงบริการเพิ่มขึ้นมาเพื่อที่จะขยายไปเกาหลี, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, มาเก๊าและไต้หวัน สังคมสื่อยักษ์อย่าง Tencent ได้ลงทุนในระดับนานาชาติกับบริษัทที่มุ่งเน้นที่ การเติมเงินมือถือ ปัญญาประดิษฐ์ และเกมมิ่ง

Infographic สรุปข้อมูลจาก EY และ DBS china-the-worlds-largest-fintech-market_fa_long-1-1

แปลและเรียบเรียงจาก fintechnews.sg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...