จีนนำ 'เครื่องตรวจคลื่นสมอง' ใช้ในห้องเรียน คุมสมาธิแบบเรียลไทม์ | Techsauce

จีนนำ 'เครื่องตรวจคลื่นสมอง' ใช้ในห้องเรียน คุมสมาธิแบบเรียลไทม์

เป็นที่ทราบกันดีว่าจีนได้ทุ่มเวลาและเงินลงทุนเพื่อเป็นที่หนึ่งด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) อีกทั้งทุ่มงบประมาณในด้านการศึกษา บริษัท Tech giant ยักษ์ใหญ่ Startup และผู้ดำรงตำแหน่งด้านการศึกษาต่างก็กระโดดเข้ามาเป็นผู้เล่นในด้านนี้ ตอนนี้มีหลายโรงเรียนที่ใช้ AI ช่วยในการเรียนรู้ไม่ว่าจะผ่านโปรแกรมการสอนพิเศษนอกห้องเรียน การนำระบบการตรวจจับใบหน้ามาใช้ในห้องเรียนเพื่อวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก

จีน เครื่องตรวจคลื่นสมอง ห้องเรียน

ล่าสุด สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานว่าในจีนได้มีการนำเครื่องวัดสัญญาณสมอง Electroencephalogram หรือ EEG มาใช้ในห้องเรียนในระดับประถมปีที่ 5

โดยที่รัดศรีษะนี้เป็นอุปกรณ์ที่มาจากบริษัท BrainCo จากสหรัฐฯ โดยเครื่องจะทำการวิเคราะห์คลื่นสมองของเด็กว่ามีสมาธิสั้นในการเรียนหรือไม่ และจะรายงานผลตรงไปยังคุณครูและกลุ่มผู้ปกครอง 

เครื่องนี้ยังวัดละเอียดระดับความตั้งอกตั้งใจของนักเรียนแต่ละคนในช่วงเวลา 10 นาที หากแถบแสดงสถานะสีแดง นั่นแปลว่า เด็กมีสมาธิจดจ่ออย่างมาก หากแสดงสถานะสีฟ้า นั่นคือเด็กกำลังวอกแวก และหากสถานะสีขาว แปลว่าเด็กไม่มีสมาธิจดจ่อเลย

แม้ยังอาจไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเจ้า EEG นั้นอ่านผลได้ถูกต้องแม่นยำแค่ไหน คุณครูได้ให้ความเห็นว่า เครื่องนี้สามารถช่วยบังคับให้นักเรียนมีวินัยในการเรียนมากขึ้น

"สิ่งนี้ทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น และได้คะแนนในการสอบสูงขึ้น" คุณครูท่านหนึ่งกล่าว

ในขณะที่ผู้ปกครองและครูหลายคนเห็นว่านี่เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้น แต่นี่กลับกลายเป็นฝันเลวร้ายที่สุดของเด็ก ๆ

นักเรียนได้เผยความในใจว่า เครื่องนี้ทำให้พวกเขารู้สึกกดกัน เพราะหากพวกเขาไม่สามารถทำคะแนนสอบได้ดีเมื่อเทียบกับเพื่อนคนอื่นๆ ผู้ปกครองก็จะรู้ได้ทันที

Theodore Zanto นักประสาทวิทยาจาก University of California, San Francisco ได้ทราบข่าวนี้ เขารู้สึกประหลาดใจที่รู้ว่าเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปใช้กับเด็กๆ

ซึ่งโดยปกติแล้วเทคโนโลยี Electroencephalography (EEG) มักจะถูกใช้โดยแพทย์ในโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการ

"ข้อมูลที่ได้อาจไม่มีการป้องกันความเป็นส่วนตัวเลยด้วยซ้ำ" Theodore กล่าว

ราวกับว่าห้องเรียนกำลังเป็นแล็บทดลองของรัฐบาล โดยข้อมูลที่ได้จากเครื่องวัด นอกจากจะถูกส่งไปยังคุณครู และผู้ปกครองแล้ว ยังส่งไปที่โครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากรัฐบาลอีกด้วย แม้แต่ผู้ปกครองยังดูไม่ค่อยแน่ใจว่าข้อมูลนั้นจะไปลงเอยที่ไหน อีกทั้งยังดูเหมือนไม่ให้ความใส่ใจมากนัก

ซึ่งการนำ EEG เซนเซอร์มาใช้กับประชาชนในชีวิตประจำวัน ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ โดยก่อนหน้านี้ จีนได้มีการนำเครื่องรัดศีรษะมาใช้วัดระดับอารมณ์ของกลุ่มคนทำงานในโรงงานและในกองทัพ เพื่อแสดงผลว่าพวกเขามีภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือความโกรธหรือไม่ ด้วยการประมวลจาก AI จะช่วยธุรกิจให้สามารถปรับการทำงานได้อย่างสอดคล้อง

แล้วมันได้ผลจริงไหม? การสแกนสมองด้วย EEG ยังมีข้อจำกัดอยู่ อีกทั้งสิ่งที่เครื่องสามารถตรวจจับได้และความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณเหล่านั้นกับอารมณ์ของมนุษย์ก็ยังไม่ชัดเจน 

ในส่วนประสิทธิภาพและความแม่นยำของเครื่องวัดนั้นยังไม่แน่ชัด หากจะพูดถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่อีกประเด็นก็คือการที่จีนพัฒนาเทคโนโลยีมาเพื่อกำหนดชะตาชีวิตประชาชน เพียงเพราะอารมณ์ที่รับรู้ได้จากเครื่อง (ซึ่งบางคนอาจจะถึงขั้นเลิกจ้าง) จีนกำลังเป็นผู้นำในการสร้างการเฝ้าระวังในสถานที่ทำงาน ซึ่งสุดท้ายแล้วใครกันแน่ที่ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีนี้?

อ้างอิงเนื้อหาข่าวจาก: The Wall Street Journal, MIT Technology Review

ภาพหน้าปกจาก The Wall Street Journal


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...