5 ข้อสำคัญพลิกวิธีสื่อสาร พูดอย่างไรให้ได้เงินล้านด้วย Communication Canvas | Techsauce

5 ข้อสำคัญพลิกวิธีสื่อสาร พูดอย่างไรให้ได้เงินล้านด้วย Communication Canvas

การสื่อสาร’ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้การทำงานสำเร็จอย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันหากมีการสื่อสารที่ไม่ดีระหว่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจเปลี่ยนไป บางคนก็อาจเสียโอกาสที่ควรจะได้รับก็เป็นได้ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ Techsauce ได้มีโอกาสเข้าร่วม Workshop พิเศษในหัวข้อ Master Skill 4.0 ตอน Communication Canvas โดย ดร.ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS Startup หัวข้อนี้จะเน้นการสื่อสาร การโน้มน้าวที่ได้ผลจริงสำหรับทุกโอกาสโดยเฉพาะการทำธุรกิจ โดยเราได้สรุปเนื้อหามาดังนี้

Communication Canvas คืออะไร

สำหรับ Canvas ดังกล่าว หากกล่าวอย่างง่ายๆ คือ Canvas ที่ช่วยเราวางแผนการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวอย่างครอบคลุม ก่อนที่จะนำ Canvas นี้ไปใช้งานร่างแผน เราควรเข้าใจว่าการโน้มน้าวคือการตั้งเป้าหมายว่าจะทำสิ่งที่เกิดขึ้นให้ดีที่สุดร่วมกัน ไม่ใช่เพียงผู้รับการโน้มน้าวเท่านั้น

1. Next action คืออะไร

Next Action เป็นหลักสำคัญที่ทุกคนต้องสนใจในการสื่อสาร เพราะมันคือกระบวนการสื่อสารที่ต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ Next Action จะสร้างขึ้นจาก Communication Objective ที่รู้ชัดว่าจะทำอะไร ทำกับใคร และภายในเวลาใดอย่างชัดเจน โดย Next Action ที่มีประสิทธิภาพ ผู้สื่อสารต้องรู้ข้อมูลของคู่สนทนา 2 อย่าง ได้แก่ Stage of Action คือการรับรู้ของคู่สนทนาที่มีต่อผู้สื่อสาร และ Call to Action ซึ่งเป็นบันไดเชื่อม Stage of Action ไปทีละขั้น

Stage of Action มี 5 ขั้น ประกอบด้วย

  • Pre-Contemplation ขั้นไม่รู้จักเลย ไม่มีข้อมูล
  • Contemplation ขั้นรู้จักแบบเคยได้ยิน
  • Preparation ขั้นสนใจทำความรู้จัก เตรียมหาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
  • Action ขั้นตกลงปลงใจ จะเกิดปฏิสัมพันธ์ที่นำไปสู่ Ultimate Goal ในขั้นนี้
  • Maintainance ขั้นรักษาความสัมพันธ์ เพื่อรักษาผลลัพธ์ให้มั่นคง

Call to Action เป็นสะพานเชื่อมในแต่ละขั้น แต่ละขั้นต่างมีวิธีสื่อสารและเลือกนำเสนอเนื้อหาไม่เหมือนกันทำให้ไม่สามารถข้ามขั้นตอนได้ การหา Call to Action ต้องประเมินว่าคู่สนทนาอยู่ขั้นไหนของ Stage of Action นั่นเอง

2. Reaching Message คืออะไร

Reaching Message คือข้อความที่คู่สนทนาอยากฟัง ผู้สื่อสารต้องเข้าใจคู่สนทนาเพื่อสร้าง Reaching Message ให้ตรงกับคุณลักษณะภายในของคู่สนทนา

คุณลักษณะของคู่สนทนาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก

  1. Interpretation หรือการตีความของผู้ฟัง ผู้ฟังจะตีความผ่านความรู้ที่มี ประสบการณ์ และทัศนคติ ผู้สื่อสารสามารถรู้คุณสมบัติดังกล่าวได้คร่าวๆ จากการรับฟังสิ่งที่อีกฝ่ายสื่อสาร
  2. Advantage คือผลประโยชน์ที่คู่สนทนาจะได้หากสื่อสารกับเรา เราจะทำข้อนี้ได้ผลจากการคิดถึงคุณค่าให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน ซึ่งคุณค่าที่คู่สนทนายึดถืออาจมาจากเป้าหมายในหน้าที่การงาน โดยหากเราสามารถตอบโจทย์เป้าหมายได้ในระดับสูงสุดอย่างไม่มีใครเทียบได้ คู่สนทนาก็มักจะยอมอย่างไม่มีข้อกังขา
  3. Personal Style คือบุคลิกของคู่สนทนา คนแต่ละแบบชอบรับฟังข้อมูลในแง่มุมที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลที่มีเป้าหมายเดียวกันนั้น ก็สามารถดัดแปลงให้สื่อสารกับคนแบบต่างๆ ได้ โดย Personal Style จะมี 4 แบบ
  • Analyzer ชอบข้อมูลเชิงประจักษ์ อ้างอิงข้อมูลจากอดีตเป็นตัวเลขมาประกอบการตัดสินใจ
  • Explorer ชอบการนำเสนอโอกาสที่เกิดขึ้นในอนาคต วิเคราะโอกาสที่อาจเกิดขึ้น และแผนระยะยาวสู่เป้าหมายนั้น
  • Organizer ชอบรับทราบขั้นตอนกาารดำเนินงานอย่างละเอียด ชอบฟังวิธีการ ปัญหา และการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • Sensor ชอบฟังข้อมูลด้านผู้คน ความสัมพันธ์ของทีม ทักษะของคน และความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง

เมื่อทราบคุณลักษณะของผู้ฟังทั้ง 3 ส่วนแล้ว จึงสามารถออกแบบการสนทนาที่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ง่ายขึ้น

3. Killing Slide สำคัญแค่ไหน

Killing Slide จะช่วยให้การนำเสนอเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อาจพูดได้ว่าเราสามารถแปลงความรู้ที่ใช้สร้าง Reaching Message ให้กลายเป็นสไลด์ 1 หน้า โดยในการนำเสนอครั้งหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมี Killng Slide หน้าเดียว เราอาจเตรียมสไลด์ที่นำเสนอครบทุก Personal Style แล้วค่อยตัดออกเมื่อทราบข้อมูลของผู้ที่เราต้องนำเสนอมากขึ้น

4. Present 3 นาที ได้รับเงินหลักล้านทำอย่างไร

การ Present แบบ Persuative Conversation เป็นการนำเสนอที่ผ่านการวางแผนเป็นอย่างดี โดยเน้นเลือกวิธีการให้เกิดผลลัพธ์ที่เหมาะสมตามทรัพยากรเวลาและคุณสมบัติของผู้ฟัง นั่นคือเราต้องรู้ขอบเขตเวลาและข้อมูลของผู้ฟังก่อน การนำเสนอให้ประสบผลสำเร็จในเวลาจำกัดต้องแบ่งจังหวะให้ชัดเจน จังหวะแรกเป็นการแนะนำตัว ให้ใช้เวลาไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือควรเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อผลักดัน Next Action

แต่สำหรับการนำเสนอในเวลา 3 นาที หรือการนำเสนอผ่านวิดีโอที่มีข้อจำกัดมากเกินกว่ามีเวลาสนทนาได้ในครั้งเดียว ก็ควรสร้างเนื้อหาบนหลัก Content Structure 4 ข้อ ดังนี้

  1. Claim ขั้นแนะนำตัวและผลิตภัณฑ์หรือบริการ และเรื่องรอบข้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เน้นให้สั้น จบประเด็นภายในประโยคเดียว
  2. Value คุณค่าที่เขาจะได้จากเรา กระบวนการและวิธีการของเราที่ต้องเป็นเราเท่านั้นส่งมอบให้เขาได้เท่านั้น และแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร
  3. Proof นำเสนอหลักฐานชัดเจน แผนงานระยะสั้น ปัญหาที่อาจพบ หรือ Traction เป็นต้น
  4. Call to Action นำเสนอสิ่งที่อีกฝ่ายได้จากการร่วมมือกับเราเท่านั้น อาจเป็นความสามารถของทีมหรือระบบงานที่ตอบโจทย์ผู้ฟังจนอยากร่วมมือกับเราเท่านั้น

เมื่อผสานโครงสร้างเนื้อหาตามนี้เข้ากับ Reaching Message ที่ตรงกับผู้ที่เราโน้มน้าว ก็มักจะนำไปสู่ Stage of Action ในขั้นที่ 3 หรือ 4 ได้เลย บางครั้งที่ Startup ขึ้นเวที Pitching ต่างๆ อาจมีเป้าหมายเจาะจงไปที่ผู้ชมงานบางคนมากกว่าการชนะรางวัล ซึ่งเมื่อชนะใจผู้ชมเหล่านี้ได้ ก็มักได้รับการสนับสนุนจนประสบความสำเร็จ

5. พูดอย่างไรให้เขาทำตาม

การโน้มน้าวให้ใครสักคนทำบางอย่างให้เราต้องเริ่มจากมองคู่สนทนาเป็น Active Audience หรือผู้ฟังที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย ดังนั้น การพูดเพื่อให้เขาทำตามนั้นเป็นเรื่องของคำว่า พวกเรา (ผู้สื่อสาร+คู่สนทนา) ที่ต้องการทำบางสิ่งร่วมกัน

การพูดเพื่อโน้มน้าวที่สำเร็จต้องมี Core Message ครบถ้วนและ Perception ที่ดี Core Message ประกอบด้วยคนที่ต้องการสื่อถึง เรื่องที่ต้องการให้เกิดขึ้น และผลลัพธ์ที่เป็นไปในทางบวก ส่วน Perception คือความรู้สึกของคนที่เราต้องการสื่อถึง จะต้องเป็นไปในทางบวกกับเราด้วย การโน้มน้าวที่ประสบผลสำเร็จจะต้องเปลี่ยนความคิดจากการบอกเล่าให้รับฟัง เป็นพิสูจน์ว่าจะทำได้อย่างไร หรือเปลี่ยนจากการนำเสนอเป็นการสนทนาโต้ตอบนั่นเอง โดยเมื่อเราพิสูจน์การกระทำและสนทนาแลกเปลี่ยนโดยมุ่งเป้าให้เกิดผลสำเร็จร่วมกันแล้ว เราก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีและมุมมองในทางบวกเสมอ

และนี่เป็น 5 ข้อสำคัญที่ดร.ศรีหทัย ได้กล่าวก่อนการ Workshop ว่าอยากให้ผู้ที่มาวันนี้ได้ 5 ข้อนี้กลับไปพัฒนาต่อยอดการทำงาน เพราะการสื่อสารเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จผลด้วยดี Techsauce ก็หวังว่าสรุปเนื้อหาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านเช่นกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...