เมื่อพูดถึงกลุ่ม Accelerator ในวงการ Startups หลายๆ คนคงจะคุ้นกับชื่อ Y Combinator และ 500 Startups อย่างแน่นอน ในทุกๆ ปีสองบริษัทนี้จะเปิดโครงการ ให้ Startups เข้าร่วมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองและ pitching กันในวันสุดท้ายให้กับกลุ่มผู้ลงทุนทั้งหลาย โดยส่วนใหญ่โครงการจะมีระยะเวลา 3 เดือน และจะมีเงินทุนให้ประมาณ 1 แสนเหรียญฯ หรือราว 3 ล้านบาท ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็น Startup ที่เข้าร่วมทั้ง 2 โครงการ และเปรียบเทียบความแตกต่างที่ได้จากทั้ง 2 ที่ แต่ครั้งนี้เราโชคดีที่ได้ Milan Thakor มาแชร์ประสบการณ์ดังกล่าว เผื่อ Startup ไทยที่กำลังเล็งอยากไปร่วมโครงการจะได้รู้ว่าโครงการไหนเหมาะอย่างไร
สำหรับ 500 Startups ช่องทางการจัดส่งสินค้าและจัดจำหน่าย
เมื่อเราสร้างผลิตภัณฑ์ของเรามาได้แล้วมันสำคัญมากที่จะต้องนำผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกสู่สายตาของคนทั้งโลก ซึ่งการที่บริษัทจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับวิธีการที่พวกเขากระจายสินค้าออกไปและทำให้เป็นที่รู้จักโดยเร็ว ตลอดเวลาที่อยู่ในโครงการ 500 Startups ได้มอบหมายให้มีที่ปรึกษาประจำกลุ่มเพื่อจะสามารถให้คำปรึกษาด้านการกระจายสินค้าเพื่อสร้างอัตราเติบโตที่รวดเร็ว ที่ปรึกษาของเราชื่อ Matthew Berman เขาได้ช่วยเหลือเราหลายอย่าง ทั้งในการตั้งเป้าหมายและหาวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
สังคม
เมื่อทุกคนได้เข้ามาในโครงการแล้ว เราล้วนเปรียบเสมือนครอบครัวที่ช่วยเหลือกัน 500 Startups ทำให้เห็นว่าระบบครอบครัวที่พวกเขามีนั้นเกิดขึ้นจริงได้ พวกเขาให้ความสำคัญกับเราอย่างมาก ตลอดเวลาที่ร่วมงานกันเราได้รับทั้งการสนับสนุนที่มาจากความจริงใจ คำแนะนำด้านเทคนิค รวมไปถึงวิธีระดมเงินทุน ทั้งนี้พวกเรายังมีนัดกินข้าวกับกลุ่มเพื่อนทีมอื่นๆ อีกด้วย
การทำงานร่วมกัน
เวลาที่ได้ร่วมงานกับคนอื่นๆ ต่างคนก็ต่างมีความสามารถในทางของตนเอง เวลาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนเหล่านี้มักจะเป็นประสบการณ์ที่ดีเสมอ ในตอนที่พวกเราต้องอยู่ในสภาวะที่กดดันไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตามจะทำให้พวกเราสามัคคีกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานและความก้าวหน้า ในบางเวลาที่เราบังเอิญเดินผ่านเพื่อนและพูดคุยกันว่า VC รายไหนที่เราเพิ่งจะไป pitch ให้ฟังและมีวิธีไหนที่จะสามารถปรับปรุงมันได้
ดุดัน
ความดุดันเป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยสำหรับ Startups เราจะต้องมีความกระหายที่อยากจะได้ผู้ใช้งาน ลูกค้าหรือนักลงทุน นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากแม้กระทั้งคุณ Dave McClure ยังได้กล่าวเอาไว้บ่อยๆ ว่าเราไม่สามารถจะสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาและนั่งอยู่เฉยๆ โดยหวังว่าวันหนึ่งมันจะประสบผลสำเร็จ เราสู้เพื่อสิ่งที่เราอยากจะได้ ถ้าเราอยากจะได้ลูกค้าเราก็ต้องออกไปหาลูกค้า จะมาหวังให้ลูกค้าเข้ามาหาเรานั้นเป็นไปไม่ได้
สำหรับ Y Combinator
ความมุ่งมั่น
ในโครงการของ Y Combinator ประโยชน์ที่ผมได้รับมากที่สุดก็คือพวกเขามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนมากเกี่ยวกับการทำงาน ข้อที่หนึ่ง คือให้ความสนใจเกี่ยวกับการเติบโตของบริษัท สองก็คือทำอย่างไรจึงจะสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของคน หน้าที่ของเหล่าผู้ก่อตั้งก็คืออย่างน้อยๆ พวกเขาต้องมากินข้าวเย็นด้วยกันอาทิตย์ละครั้ง ส่วนนอกเหนือจากนั้นพวกเขาจะต้องใช้เวลาอยู่กับบริษัทของตนเพื่อที่จะคิดหาวิธีในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้ออกมาดีที่สุด สิ่งที่สำคัญก็คือเราให้เวลากับลูกค้าและผู้ใช้งาน
หุ้นส่วนและเพื่อนร่วมงาน
ประโยชน์ดีๆที่ผมได้รับก็คือการได้พูดคุยกับหุ้นส่วนและเพื่อนร่วมงาน มันเป็นเรื่องของการแชร์ประสบการณ์ที่ผ่านๆ มา บางครั้งประสบการณ์ที่เพื่อนแชร์มันอาจจะตรงกับที่เราเคยผ่านมา อย่างเช่น วิธีแก้ไขปัญหา วิธีการเจรจาต่อรองกับ VC เป็นต้น นี่เป็นบทเรียนที่คุณไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
เครือข่ายที่ยอดเยี่ยม
ที่นี้ทำให้ผมได้เจอกับผู้ก่อตั้งมากมายจากหลายที่ และในบางครั้งมันทำให้ผมอดคิดไม่ได้เลยว่าแต่ละคนมีศักยภาพมากแค่ไหนกว่าจะมาถึงจุดนี้ เพราะที่นี่ถือเป็นเครือข่ายสุดยอดแห่งหนึ่งในซิลิคอนวัลเลย์ และอีกอย่างที่ดีสำหรับโครงการนี้ก็คือเวลาเราไปพูดคุยกับบรรดาเหล่าผู้ก่อตั้งเก่งๆ พวกเขาดูเหมือนจะให้ความเป็นกันเองกับเราอย่างมาก
แบรนด์และการเข้าถึง
Y Combinator ถือว่าเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับในหมู่ของ Startups มากมาย ไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ก่อตั้ง ลูกค้าและหุ้นส่วน วิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงแบรนด์และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ใน YC ก็คือวันเดโม่ ในวันนั้นเองจะมีทั้งรอยยิ้มและความเหนื่อยล้าปะปนกันไป เพราะมันเป็นวันที่พวกเราจะต้อง pitches ต่อหน้านักลงทุนเป็นร้อยๆ ราย มีนักลงทุน 20-30 รายให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ของเรา อีกทั้งยังขอแลกนามบัตรกันอีกด้วย หนึ่งเดือนหลังจากวันเดโม่พวกเราก็จะยุ่งกันมากๆในการที่พยายามระดมทุนและนัดเจอบรรดานักลงทุน
สำหรับโครงการของ 500 Startups ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรค่าจะไปเมื่อเราอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์ มันเป็นที่ที่ดีสำหรับการเรียนรู้ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ เข้าหาผู้ใช้งาน และเริ่ม Startups ของเรา พวกเขามีหลายบริษัทและหลายผู้ก่อตั้งทำให้บรรยากาศการทำงานเป็นไปอย่างสนุกสนาน เวลาที่ได้ทำงานร่วมกับคนเก่งๆ พวกนี้มันทำให้ผมรู้สึกดีอย่างมาก ส่วน Y Combinator ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่สามารถรวบรวมศักยภาพเอาไว้ด้วยกันทั้งตัวบุคคลากรและบริษัท พวกเขามีทรัพยากรบุคคลที่ฉลาดที่สุดและมีความสามารถมากที่สุด ซึ่งคนเหล่านี้สามารถขยายธุรกิจออกไปในวงกว้างได้ ในขณะนี้พวกเขาได้มีส่วนร่วมในเทคโนโลยีชีวภาพ นิวเคลียร์และรวมไปถึงสายสุขภาพอีกด้วย
โดยส่วนตัวแล้วผมได้ประโยชน์จาก 500 Startups แต่ถ้าในด้านของบริษัทแล้ว Y Combinator ถือว่าให้ประโยชน์ได้มากกว่า 500 Startups ช่วยให้ผมเข้าถึงความคิดของผู้ก่อตั้งว่ามันควรจะต้องมี ความเสถียรและแน่วแน่ มากไปกว่านั้นทั้งหุ้นส่วน เพื่อนร่วมรุ่นและคนที่เคยเข้าโครงการนี้มาดูเหมือนจะคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นอย่างดีมาก อีกทั้งพวกเขาได้ชี้ให้เห็นว่าการที่เราพูดคุยถึงปัญหาและความล้มเหลวเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ส่วนของ Y Combinator เหมาะสำหรับคนที่มีผลิตภัณฑ์และอยากจะเพิ่มอัตราการเติบโต ในมุมมองของการเป็นผู้ก่อตั้งผมได้เรียนรู้จาก YC ถึงการมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนและมุ่งหน้าไปสู่ความสำร็จ ทั้งสองที่นั้นล้วนแล้วแต่มีสิ่งดีๆ และแปลกใหม่อยู่ตลอด ผมดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทั้งสองโครงการ
ที่มา: Medium
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด