เจาะลึก KX และการเปิดฉาก สู่ NFTs บนแพลตฟอร์ม Coral | Techsauce

เจาะลึก KX และการเปิดฉาก สู่ NFTs บนแพลตฟอร์ม Coral

เมื่อโลกการเงินกำลังเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามามีบทบาท KX บริษัทที่ขับเคลื่อนด้าน Decentralized Finance ได้เปิดตัว Coral แพลตฟอร์ม e-Marketplace ในการซื้อขาย NFTs โดยเริ่มเปิดใช้งานในเฟสแรกเดือนธันวาคมนี้ บทความนี้ จะพามาดูเส้นทางการเปิดฉากสู่โลก NFTs ในเฟสแรกของ Coral กัน

โลกการเงินที่เปลี่ยนโฉม

ในปี 2016 ธนาคารต่างๆ เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วกับการมาของคลื่น Digital Disruption โดย KBTG หรือบริษัท กสิกร บิสซิเนส เทคโนโลยีกรุ๊ป ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นลมใต้ปึก ในการขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยีของธนาคารกสิกรไทย เมื่อมาถึงในปี 2019-2021 เรียกได้ว่าเป็นยุค Transformation และ Rise in crisis ท่ามกลางวิกฤตของศตวรรษ ทุกๆ องค์กรเดินหน้าในเรื่องของการ Synergy เพื่อร่วมมือ ผ่านพ้นวิกฤติและเติบโตไปด้วยกัน โดยด้าน KBTG ก็ได้ตั้ง KX บริษัทที่จดทะเบียนใน 2018 และได้เริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา

KX คือใคร?

KX เป็นบริษัทที่เป็น Venture Builder ด้าน Decentralized Finance and Beyond มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจใหม่ในด้านบริการทางการเงิน (Financial Service) และบริการอื่นๆ (Non-Financial Service) โดยมีภารกิจหลักคือการ “Building Trust in the Trustless World” หรือสร้างความเชื่อมั่นในโลกที่ปราศจากความน่าเชื่อถือ

KX ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นอิสระ ภายใต้การนำของคุณพอล ธนะเมศฐ์ อาริยวัฒน์ , Head of Venture Builder พร้อมได้รับการสนับสนุนในระดับภูมิภาคเอเชียจากกลุ่ม KBank และ KBTG 

ในส่วนของกระบวนการทำงาน KX จะใช้วิธีการบ่มเพาะไอเดียใหม่ๆ (Incubate) ขยายผล (Scale) และแยกตัวธุรกิจออกไปตั้งเป็นบริษัทใหม่ๆ (Spin-off) เมื่อเห็นทิศทางของธุรกิจชัดเจนแล้ว โดยที่ผ่านมาได้ประเดิมการ Spin-off ในแวดวงสินทรัพย์ดิจิทัลมาแล้วกับ Kubix ที่ประกอบธุรกิจ ICO Portal และ และ Next Chapter สำคัญของ KX ต่อจากนี้ คือเรื่องของ digital asset และ metaverse ซึ่งล่าสุดกำลังจะมีการเปิดตัวธุรกิจที่สองคือ Coral ทำหน้าที่เป็น ที่จะเป็น S curve venture builder ให้กับธนาคารกสิกรไทย

Coral ก้าวที่ 1

Coral เป็นแพลตฟอร์ม NFT ที่จะปลดปล่อยพลัง ในโลกของ NFT และ โลกของ Metaverse ให้คนจำนวนมาก โดย คุณพอลได้เล่าถึงโลกของ DeFi โดยกล่าวว่า มีคนไม่ถึง 1% ที่สามารถสร้างรายได้จาก DeFi ได้ คำถามคือ จะทำอย่างไรให้ DeFi ไปสู่คนส่วนใหญ่ได้  และ NFT & Metaverse  เป็นโอกาสใหม่ ที่จะสามารถสร้างทรัพย์สินรูปแบบใหม่ ในโลกใหม่ ทำให้เราเห็นว่าปัจจุบันมีทั้ง โลกปกติ และ โลกดิจิทัล

คุณพอลได้เล่าว่า Coral เป็นแพลตฟอร์ม NFT Marketplace ที่มาพร้อมกับภารกิจสร้างโอกาสที่ไร้ขอบเขต (Limitless Opportunities) ให้แก่ผู้ใช้งานและพันธมิตรทุกคน อันเกิดจากความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน ศิลปิน และแบรนด์ โดยได้นำ Non-Fungible Tokens (NFTs) มาต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมเพื่อเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้งาน Coral ทำให้การสร้างและการซื้อขาย NFT เป็นเรื่องง่าย เสมือนกับช็อปปิ้งออนไลน์ทั่วไป ซึ่งเป็นจุดที่ทำแตกต่างจากที่อื่น ในขณะที่แพลตฟอร์ม NFT Marketplace อื่นๆ ลูกค้าต้องผ่านหลากหลายขั้นตอนกว่าจะซื้อขายสำเร็จ เช่น การที่ต้องแลกเหรียญสกุลคริปโตเพื่อนำมาซื้องานศิลปะ แต่กับ Coral ลูกค้าสามารถซื้อด้วยเงินทั่วไป (Fiat money) อย่างเงินบาทหรือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้

ร่วมมือกับสยามพิวรรธน์ ผลักดัน Coral

KX ได้จับมือกับสยามพิวรรธน์ ในฐานะพาร์ทเนอร์ Coral เจ้าแรก โดยทางสยามพิวรรธน์ยินดีสนับสนุนพื้นที่ของสยามพารากอน และไอคอนสยาม ในการจัดทำ NFT Innovation Digital Wall เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาเยือนศูนย์การค้าได้เข้าชมงานศิลปะ NFT อย่างใกล้ชิด 

ตอบข้อสงสัย ทำไมเปิดบริการ NFT ได้?

ในขณะที่การเปิดตัวนี้ อาจมีบางคำถามว่า เมื่อ ก.ล.ต. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ยังไม่อนุญาตให้ Exchange ซื้อขาย NFT ได้นั้น ทาง KX ได้ชี้แจงว่าได้มีการปรึกษากับทางก.ล.ต. แล้ว โดย Coral ที่กำลังจะเปิดตัวนี้ เป็นเพียงแค่เฟสแรก และทำการซื้อด้วยเงินบาท (Fiat Money) ยังไม่มีเรื่องของ Cryptocurrency มาเกี่ยวข้อง จึงไม่เข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ

เริ่มให้บริการปลายปี

ทั้งนี้แพลตฟอร์ม Coral มีศิลปินไทยที่อยู่บนแพลตฟอร์ม Coral 9 ราย ได้แก่ไป Lactobacillus, Tikkywow,ทรงศีล ทิวสมบุญ,เอกชัย มิลินทะภาส,ปัณฑิตา มีบุญสบาย, Benzilla, Pomme Chan, IllustraTU,และ iggy Bug อย่างไรก็ตามยังคงเปิดรับศิลปินและพาร์ทเนอร์เพื่อเข้าร่วมแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://coralworld.co และคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่นักสะสมภายในช่วงปลายปีนี้

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อินโดนีเซีย เปิดรับเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อสร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ ถอดบทเรียนจากงาน Bali International Airshow

อินโดนีเซีย กลายเป็นประเทศเนื้อหอมที่บิ๊กเทคฯ ต่างประเทศแห่เข้าไปลงทุนมากมาย ซึ่งหากนับแค่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 เพียงปีเดียวอินโดนีเซียสามารถสร้างมูลค่าถึง 34,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ...

Responsive image

รู้จัก “Phygital” การตลาดยุคใหม่แห่งอนาคต ผ่านเทคโนโลยี Immersive Experience ของ Translucia

Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยี ‘โลกเสมือน’ ผ่านหนึ่งในผู้เล่นคนสำคัญอย่าง Translucia บริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนา Immersive Experience ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเปลี่ยนวิธีการเ...

Responsive image

ต้นกำเนิด Panpuri ศึกษาจากตำราอายุ 300 ปี ปั้นแบรนด์หรูสัญชาติไทยมูลค่าพันล้านบาท

ตั้งแต่ก่อตั้งมา Panpuri เติบโตอย่างน่าทึ่ง มีอายุกว่า 20 ปีและทำรายได้ทะลุพันล้านบาทในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในตลาดต่างประเทศที่ได้รับการตอบรับดีเยี่ยม บทความนี้ Techsauce จะพาไปสำรว...