ฟัง Dave McClure พูดถึง Startup Ecosystem ไทยกับแผนปี 2016 | Techsauce

ฟัง Dave McClure พูดถึง Startup Ecosystem ไทยกับแผนปี 2016

dave-th-500startups

ในวงการ Startup คงไม่มีใครในตอนนี้ที่ไม่รู้จัก Dave McClure ผู้ก่อตั้ง 500 Startups และเป็นหนึ่งใน Paypal Mafia กลุ่มผู้ทรงอิทธิพลในวงการธุรกิจไอทีในปัจจุบัน ทีมงานได้มีโอกาสพบ Dave ครั้งแรกเมื่อประมาณ 3 ปีก่อนที่สำนักงานใหญ่ใน Moutain View และอีกหลายครั้งในช่วงที่บินมาไทย Geeks on a Plane (GOAP) รวมถึงเคยมาแชร์ประสบการณ์ผ่าน Conf.call ในงาน Start it Up ครั้งที่ 7 เมื่อปีที่แล้วอีกด้วย

สำหรับครั้งนี้เรามีโอกาสได้พูดคุยกับเขาอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเกี่ยวกับวงการ Startup ไทยและ Ecosystem ที่เติบโตเป็นอย่างมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับกองทุนขนาดย่อมในไทยนำโดยกระทิง และหมู ณัฐวุฒิ 500 TukTuk

อะไรคือจุดประสงค์ของการมาไทยครั้งนี้?

การมาในครั้งนี้ของผมก็เพื่อมาพูดคุยกับกระทิง และหมู ถึงแผนงานที่เราได้ตั้งเป้าเอาไว้ในประเทศไทย และพบปะกับ Key Player ที่อยู่ในภาคธุรกิจต่างๆ เช่นรัฐบาล, นักลงทุน หลักๆ แล้วเรากำลังมองหาไอเดียดีๆ และธุรกิจที่น่าสนใจในการลงทุนนั่นเอง

คุณสนใจส่วนไหนของ Ecosystem ในประเทศไทยเป็นพิเศษ?

ผมพยายามมองไปในส่วนของการลงทุนในรูปแบบ Angel และ Seed Funding นะ ซึ่งก็ยังอยู่ในช่วงแรกเริ่ม สิ่งที่ท้าทายเวลาเราลงทุนในหลายตลาดทั่วโลกก็คือ เราต้องทำให้แน่ใจว่ามีนักลงทุนเจ้าอื่นเข้ามาช่วยลงทุนในตลาดเดียวกับเราด้วย เพราะมันคงจะเสี่ยงน่าดูถ้ามีแค่เราเจ้าเดียวที่ลงทุนในหนึ่งตลาด ผมคิดว่าเราควรจะพัฒนาระบบ Ecosystem ให้โตมากขึ้นกว่านี้ เพื่อจะได้รับความน่าเชื่อถือจากบริษัทเงินทุนใหญ่ๆ ที่สนใจเข้ามาช่วยเหลือด้านการเงิน ไม่ว่าจากภาครัฐหรือเอกชนเอง

อะไรคือความท้าทายของ Startup Ecosystem โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ และมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย อะไรคือปัญหาของบ้านเรา และเราจะแก้ไขอย่างไร?

ต้องบอกก่อนเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่คุ้นเคยกับประเทศไทยมากนัก ผมคิดว่าจำนวนของนักลงทุนในไทยยังน้อยอยู่ เพราะฉะนั้นเราคงต้องทำการบ้านกันพอสมควรเลย แต่ผมคิดว่ายังมีนักลงทุนอยู่มาก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็หวังว่าจะมีนักลงทุนจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีนและเกาหลีสนใจเอาเงินมาลงใน Ecosystem มากขึ้น

อีกอย่างที่สำคัญก็คือคุณต้องมีฐานลูกค้าและตลาดที่ชัดเจน คุณอาจจะมองหา Angel ที่สามารถให้เงินตั้งแต่ 25,000 - 100,000 เหรียญสหรัฐฯ ได้ หรือดีไปกว่านั้นเป็น Seed Fund ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 250,000 - 1,000,000 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความท้าทายให้คนมาลงทุนกับ startups เพราะดูจากเปอร์เซ็นต์การล้มเหลงที่สูงและสภาพเศรษฐกิจที่ยังฝืดเคือง

เทรนด์การทำงานร่วมกันระหว่าง Startups กับองค์กรขนาดใหญ่กำลังมาแรง คุณมองตรงนี้อย่างไรบ้าง?

ผมไม่รู้เหมือนกันว่าตลาดองค์กรของที่นี้มีความใหญ่แค่ไหน เราก็อยากจะลงทุนด้วยเหมือนกัน แต่คงต้องใช้เวลาศึกษาเพิ่มหน่อย  มันมีโอกาสมากมายที่ startups จะจับมือร่วมกับองค์กรใหญ่ๆ และเราก็ยินดีที่จะเข้าไปช่วยเชื่อมต่อพวกเขาเข้าด้วยกัน

ว่าแล้วก็เห็นทริปนี้คุณได้ไปพูดคุยกับองค์กรใหญ่ๆ ด้วย อย่างธนาคารรายใหญ่ เราพอจะได้ยินข่าวดีอะไรในครั้งนี้บ้าง

เรากำลังมองหา Partnerships หรือองค์กรที่จะช่วยกันพัฒนาระบบ Ecosystem ไม่ว่าพวกเขาจะลงทุนโดยตรงกับบริษัท หรือลงเงินในกองทุนของเรา แม้กระทั่งจับมือกับตัว Startups เองเพื่อช่วยเพิ่มฐานลูกค้าให้มากขึ้น มันมีหลายวิธีที่ Startups และองค์กรจะทำงานร่วมกัน ซึ่งองค์กรใหญ่ๆ อาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ Startups กำลังทำอยู่ เราก็พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือและให้ความรู้ในจุดนี้ อาจจะเป็นในส่วนของผู้ให้บริการด้าน Fintech หรืออสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงการศึกษาและสายสุขภาพด้วย

คุณมีกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร และทำไมจึงคิดว่ากลยุทธ์นี้ถูกต้อง?

เราลงทุนในหลายบริษัท นั้นแหละคือกลยุทธ์ของเรา เราคิดว่ากลยุทธ์มันใช้ได้ เพราะเราทำแบบนี้มาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว จำนวนบริษัทที่เราลงทุนไปก็อยู่ราวๆ เกือบ 1,500 บริษัท ส่วนใหญ่แล้ว 5 - 10% ผลลัพธ์จะอยู่ที่ประมาน 20x และ 1 - 2% ผลลัพธ์จะอยู่ที่ 50x - 100x

แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่การลงทุนของเราจะล้มเหลว กว่า 50-80% ที่เราอาจจะได้เงินคืนมาน้อยหรือไม่ได้เลย ถ้าเราสามารถ Exit ได้ที่ผลกำไร 20-30% ก็นับว่าโชคดีแล้ว ซึ่งผลกำไรที่เราได้เข้ามา ส่วนมากจะมาจากไม่กี่บริษัทที่เราลงทุนใน portfolio เลยทำให้พวกเราต้องลงทุนกับหลายบริษัทเป็นวงกว้าง เพื่อเราจะได้ไม่พลาดโอกาสที่จะลงทุนกับบริษัท ที่อาจจะเติบโตได้ดีในวันข้างหน้า

นี้ถือเป็นวิธีการที่เราดำเนินมาทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลก แต่ก็ยังต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง เมื่อเข้าสู่ตลาดที่แตกต่างออกไป เพราะการประเมินของแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน ตลาดในตะวันออกเฉียงใต้ดูค่อนข้างจะแข็งแรง เรากำลังตั้งตารอว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นที่นี้บ้าง ซึ่งระหว่างนี้เราก็ต้องใจเย็นและทำการบ้านของเราให้ดี เพื่อสร้างสภาพความคล่องและการ exit ในตลาด

ช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการที่จะช่วยพัฒนาสภาพคล่องหน่อย?

ที่เรากำลังทำอยู่ภายในบริษัทก็คือ ช่วยสร้างความสัมพันธ์และให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา เพื่อบริษัทจะได้เติบโตไปข้างหน้า แต่มันก็จะต้องขึ้นอยู่กับ Ecosystem ในแต่ละที่ เรากำลังมองหาทางออกที่จะช่วยเหลือในการ exit ตลาด ซึ่งก็คงจะใช้เวลาซักพัก

ในตอนนี้มีเงินช่วยเหลือจำนวนมากซึ่งมาจากภาครัฐบาล เรากำลังมองหาวิธีแก้ไขเพื่อให้บริษัทเอกชนได้เข้ามาช่วยลงทุน หรือซื้อหุ้นต่อจากนักลงทุนเก่า เพื่อที่นักลงทุนอย่าง Angel investor จะได้ไม่ต้องรอให้บริษัท Exit ก่อนถึงจะได้เงินคืน พวกเขาอาจจะสามารถ Exit ออกมาได้บางส่วน ไม่ว่าจะใน series A B หรือ C

เปรียบเทียบกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบบ Ecosystem ของไทยถือว่าอยู่ในจุดไหนของภูมิภาคนี้?

ผมมองว่าตลาดผู้บริโภคและ SMB (Social Media for Business) ในประเทศไทย ถือว่าเป็นจุดแข็งในภูมิภาคนี้ อาจจะเป็นรองแค่อินโดนีเซีย มีการเข้าถึงเงินทุนที่มากกว่าประเทศอย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่นั้นเป็นเพราะประเทศพวกเขาเล็กกว่าบ้านเรา ขึ้นอยู่กับมุมมองว่า คุณกำลังมองหาเงินทุนหรือในส่วนของฐานลูกค้า ตลาดในไทยถือว่าน่าสนใจมากดูจากแค่จำนวนฐานลูกค้าที่มีอยู่ ยิ่งถ้ามีนักลงทุนเข้ามาช่วยผลักดัน ผมคิดว่าน่าจะไปได้ดี

ประสบการณ์ทำงานร่วมกับกระทิงและ หมู เป็นอย่างไรบ้าง?

ผมก็พยายามที่จะเรียนรู้จากพวกเขาทั้งคู่นะ (ยิ้ม) ผมคิดว่าพวกเขาประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ทั้งการเป็นผู้ประกอบการ และการเป็นนักลงทุน ดูเหมือนว่าจะมีคนรู้จักพวกเขาเยอะพอสมควร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี

มีบริการอะไรใหม่ๆ ที่ 500 Startups กำลังจะนำเสนอ และผู้ประกอบการไทยจะได้เรียนรู้อะไรจากจุดนี้ไหม?

ผมคิดว่ามันมีบริการที่ให้ความรู้สำหรับผู้ประกอบการอยู่นะ เราพยายามที่จะให้ความรู้ทั้งฝั่งผู้ประกอบการ และนักลงทุน เราได้มีโอกาสไปสอนที่มหาวิทยาลัย Stanford เมื่อปีที่แล้ว เราพยายามโน้มน้าวให้นักลงทุนหันมาสนใจในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือที่เกี่ยวกับ Coworking Space

เราจะได้เห็น Geeks on a Plane (GOAP) ในไทยอีกไหมนะ?

ผมหวังว่านะ (หัวเราะ) ผมเองก็อยากกลับมาที่นี้อีกครั้ง แต่ในปีหน้าเรากำลังมองหาที่ใหม่ๆ อยู่เช่น แอฟริกาหรืออิหร่านถ้าไม่มีความขัดแย้งด้านการเมือง ในปีหน้าเราอาจจะไปประเทศในเอเชียตะวันออกอย่าง จีน ญี่ปุ่น ไต๋หวันและฮ่องกงด้วย ส่วนเราจะกลับมาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกทีหรือเปล่า ยังไงจะอัพเดตอีกครั้งหนึ่ง

500 Startups และ 500 TukTuks จะมีอะไรใหม่ในปี 2016 บ้าง?

เราตั้งเป้าที่จะลงทุนต่อเนื่อง อย่างน้อยๆ ปีละ 20 - 30 บริษัทหรืออาจจะมากกว่านั้นในตลาดภูมิภาคนี้ แน่นอนว่าต้องขึ้นอยู่กับสภาพความคล่องตัว เรามองว่ายังมีโอกาสอีกเยอะ กระทิงเองก็มองในแง่เดียวเกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่

อยากฝากอะไรถึง startups ไทยบ้าง?

จริงๆเราก็พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นที่นี้นะ มีผู้ประกอบการเก่งๆ อยู่หลายคน และมีธุรกิจหลายอย่างที่กำลังจะถูกเริ่ม มีผู้คนสนใจเข้ามาลงทุน และหลายคนที่อยากเข้ามาทำ startups อีกทั้งตลาดผู้ใช้สมาร์ทโฟนและรวมไปถึง ระบบชำระเงินออนไลน์ ก็ดูจะไปในทิศทางที่ดี ผมคิดว่าอนาคตข้างหน้าดูจะสดใสอยู่นะ หากคุณคิดอะไรก็เริ่มทำมันสะ อย่ารอ!

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...