5 กลยุทธ์สำคัญ ขับเคลื่อนบริการ Buy Now Pay Later สำหรับธุรกิจค้าปลีกและ FinTech | Techsauce

5 กลยุทธ์สำคัญ ขับเคลื่อนบริการ Buy Now Pay Later สำหรับธุรกิจค้าปลีกและ FinTech

Deloitte และ Mambu เผยในรายงานล่าสุด ชี้ 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์สู่ความสำเร็จสำหรับบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (Buy Now Pay Later - BNPL) พร้อมการคาดการณ์ทิศทางตลาดบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (BNPL) สำหรับธนาคารและผู้ค้าปลีก

Deloitte - Mambu เผย 5 กลยุทธ์ การทำ Buy Now Pay later ให้สำเร็จ

Deloitte และ Mambu ผู้ให้บริการธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์มคลาวด์ (Cloud Banking Platform) ได้เผย 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่บรรดาร้านค้า รวมถึงผู้ประกอบการและธุรกิจฟินเทคควรให้ความสำคัญและนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (BNPL) สู่ความสำเร็จ โดยข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานล่าสุด ที่เปิดเผยการคาดการณ์ทิศทางตลาดของภาคส่วนธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว สำหรับธนาคารและผู้ค้าปลีก

รายงาน The ‘Deloitte and Mambu Guide to BNPL’ ได้ระบุ 5 กลยุทธ์จิ๊กซอว์สำคัญ ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจที่กำลังพัฒนาโซลูชันการให้บริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” (BNPL) ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด 

โดยประกอบด้วย

  • การสร้างคุณค่าของบริการ เพิ่มมูลค่าด้วยการมอบความแตกต่างให้กับลูกค้า เข้าถึงและเข้าใจความต้องการของร้านค้าและลูกค้า จากนั้นนำมาพัฒนาเป็นโมเดลการให้บริการ เพื่อช่วยร้านค้าและลูกค้าแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

  • เทคโนโลยีและข้อมูล – มองหาพาร์ทเนอร์ชั้นนำในอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาชุดเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างเว็บหรือแอปพลิเคชัน นำไปสู่การวิเคราะห์และตัดสินใจที่ดีที่สุด รวมถึงการพัฒนาโซลูชันแห่งโลกอนาคต ที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม
     
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงและการปฏิบัติตามแนวทางเพื่อพัฒนาองค์กร – ออกแบบกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรที่จะช่วยสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในด้านการตรวจสอบและบริหารจัดการการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร นำไปสู่การกำหนดความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Appetite) พร้อมทั้งสร้างโมเดลและกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงเหล่านั้น

  • ทักษะและความสามารถ – ลงทุนเฟ้นหาทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน ในการเข้ามาดูแลรับผิดชอบส่วนงานที่มีความสำคัญ เพื่อสร้างทีมให้แข็งแกร่ง พร้อมสร้างแบรนด์และความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของตน

  • กลยุทธ์การปล่อยสินค้า/บริการสู่ตลาด – ลดระยะเวลาในการปล่อยสินค้า/บริการสู่ตลาดโดยการรวมสินค้า/บริการที่มีอยู่ใน Portfolio ในการสร้างผลิตภัณฑ์ตั้งต้น (Minimum Viable Product หรือ MVP) ด้วยฟีเจอร์น้อยที่สุดเพื่อทดสอบตลาด ก่อนพัฒนาเป็นสินค้าที่ความสมบูรณ์ออกสู่ตลาดต่อไป

รายงานนี้ถูกจัดทำและเปิดเผยท่ามกลางเทรนด์บริการการใช้จ่ายแบบ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง”ที่กำลังมาแรงในขณะนี้ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 มูลค่าตลาดของบริการนี้จะพุ่งสูงถึง 3.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 131 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.7 ของอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) 

รายงานระบุว่า หนึ่งในสามปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริการ BNPL เติบโตอย่างต่อเนื่อง คือความต้องการของผู้บริโภคในด้านความสะดวกและราคาที่เข้าถึงได้ โดยข้อมูลล่าสุดจาก Deloitte ระบุว่า ผู้บริโภคกว่าครึ่ง (ร้อยละ 56) กล่าวถึงเหตุผลสำคัญที่เลือกใช้บริการ BNPL นั่นคือสามารถทดลองใช้สินค้าได้ก่อนชำระเงิน 

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้บริการ BNPL เติบโตคือการที่ร้านค้านำบริการนี้มาใช้ เนื่องจากคำนึงถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับอีกมากมาย อาทิ ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ปริมาณออเดอร์ที่ได้รับโดยเฉลี่ย และการดึงลูกค้าให้มาใช้บริการได้มากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โดยข้อมูลจาก Worldpay บริษัทผู้ให้บริการชำระเงินที่มีชื่อเสียงระดับโลกระบุว่า บริการ BNPL ถือครองสัดส่วนร้อยละ 2.9 ของการให้บริการประเภท e-commerce ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2563 และคาดว่าจะถือครองสัดส่วนถึงร้อยละ 5.3 ในปี พ.ศ. 2568 

คุณ Pham Quang Minh ผู้จัดการทั่วไปของ Mambu ประเทศไทยกล่าวถึง ตลาดการให้บริการ BNPL ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีว่า “บริการ BNPL ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เราเห็นการแข่งขันค่อนข้างดุเดือดในกลุ่มผู้ให้บริการที่มีอยู่มากมาย ทั้งแบรนด์ระดับโลก รวมไปถึงธนาคารยักษ์ใหญ่ของไทย ทำให้ส่วนแบ่งตลาดถูกกระจายไปยังผู้ให้บริการที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขณะที่ตลาดโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

จากรายงานที่จัดทำโดย Research and Markets มีการคาดการณ์ว่าในระยะกลางถึงระยะยาว ภาคส่วนการเติบโตของบริการ BNPL จะอยู่ในช่วงขาขึ้นและเดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง การนำบริการ “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” มาปรับใช้โดยผู้ให้บริการจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 จนถึงปี 2571 การเติบโตคิดเป็นร้อยละ 44.8 ของอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (CAGR) 

ทั้งนี้คาดการณ์ว่ามูลค่าขายและซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ผ่านบริการ BNPL ทั้งหมดในประเทศไทยจะพุ่งสูงขึ้นจาก 25,000 ล้านบาท หรือ 893.1 ล้านเหรียญสหรัฐในปี พ.ศ. 2564 ไปเป็น 521,994 ล้านบาท หรือ 15,818.1 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2571”

ด้านคุณ João Caldeira Partner ของ Deloitte กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันบริการ BNPL กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างยอดขายสำหรับธุรกิจค้าปลีกและผู้ให้บริการ e-commerce และสำหรับร้านค้าที่ยังไม่ตัดสินใจนำบริการ BNPL มาใช้ พวกเขากำลังมองหาโซลูชันทางการเงิน ที่จะช่วยออกแบบบริการ BNPL ที่มีความรวดเร็ว มีราคาต้นทุนที่ต่ำ 

สิ่งสำคัญคือบริการ BNPL จะต้องช่วยพวกเขาสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ และช่วยเพิ่มช่องทางการชำระเงินแบบแบ่งจ่ายที่ไร้รอยต่อได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจให้กับลูกค้า และเป็นหมากตัวสำคัญ ที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก LLMs’ Explainability การเข้าใจกลไกสมอง AI หนึ่งใน Tech Trends 2025 ที่จะมาเปลี่ยนโลกเอไอ

เจาะลึกเบื้องหลัง Large Language Models (LLMs) และเทคโนโลยี LLMs’ Explainability ที่ช่วยเปิดเผยกระบวนการทำงานของ AI จากกล่องดำสู่ความโปร่งใส ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนโลก AI ในอนาคต!...

Responsive image

รู้จัก AI Product Management สายงานที่ Andrew Ng ชี้มาแรง

สำรวจบทบาท AI Product Management และเหตุผลที่ Andrew Ng ยกให้เป็นตำแหน่งสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ AI ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดจนถึงการนำไปใช้งานจริง...

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...