ไม่จำเป็นต้องทำงาน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มันไม่เกี่ยวอะไรกับความสำเร็จ คำแนะนำจาก​ CEO​ Shopify | Techsauce

ไม่จำเป็นต้องทำงาน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มันไม่เกี่ยวอะไรกับความสำเร็จ คำแนะนำจาก​ CEO​ Shopify

คุณไม่จำเป็นต้องทำงาน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อประสบความสำเร็จ Tobi Lutke ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO บริษัท ecommerce ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market cap) เกือบ 48 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่าง Shopify กล่าว

โดยเขาได้พิสูจน์มาแล้วกับการทำงานของเขา โดยอธิบายไว้ใน Twitter เกี่ยวกับประเด็นที่ถูกพูดคุยกันในเรื่อง work-life balance ซึ่งเปิดประเด็นมาก่อนโดย Jason Fried CEO แห่ง Basecamp ซึ่งออกตัวแรงว่า ถ้าบริษัทของคุณขอให้คุณทำงานช่วงกลางคืนหรือช่วงวันหยุด (ไม่ใช่กรณีที่ทำงานเป็นกะ หรือพนักงานเต็มใจมาทำเอง) นั่นแปลว่า process ของบริษัทมีปัญหาไม่ใช่ปัญหาของพนักงานคนนั้น

Lutke กล่าวว่าเขาและผู้ร่วมก่อตั้งสร้างบริษัทจนกระทั่งสร้างกำไรได้ โดยไม่จำเป็นต้องอดหลับอดนอน เขาไม่เคยทำงานตลอดทั้งคืน ตัวเขาเองก็ต้องการการพักผ่อน 8 ชม.ต่อคืนเหมือนคนอื่นๆ

ธุรกิจ Shopify มีรายได้เติบโต 2 เท่าตัวตั้งแต่ปี 2017 โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2017 มีรายได้ 171 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในไตรมาสที่ 3 ปี 2019 มีรายได้ 390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และน่าจะจบปีที่ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดย Shopify เข้าตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปี 2015 โดยตัวหุ้นถีบตัวขึ้นสูงถึง 200% ทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market cap) สูงถึง 47.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

Lutke กล่าวว่าเขาถึงบ้านตั้งแต่ช่วงเย็น สำหรับเขานั้น งานเป็นเรื่องสำคัญก็จริงแต่มันก็แค่งาน ส่วนตัวเขาให้ความสำคัญกับครอบครัวและสุขภาพมากกว่า เขายอมรับว่าที่เป็นแบบนี้ได้ เพราะส่วนหนึ่งเขาใช้ชีวิตใน Ottawa Canada ที่มีวัฒนธรรมต่างจาก Silicon Valley เพราะที่นั่นมุมมองของคนทำงานดูจะแตกต่างกันอย่างมาก อาทิ Jack Dorsey ทำงานถึง20 ชั่วโมงต่อวัน และ เจ้าพ่อรถไฟฟ้าอย่าง Elon Mask ก็เคยกล่าวไว้ว่าถ้าอยากเปลี่ยนโลกต้องทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

Lutke เองเชื่อว่าในแต่ละวันทุกคนจะมีช่วงเวลา 5 ชั่วโมงแห่งการสร้างสรรค์ และคนที่ Shopify ใช้ 4 ชั่วโมงนั้นในที่ทำงาน

มีงานวิจัยที่สนับสนุนแนวทางการทำงานของ Lutke อยู่หลายตัว อาทิเช่น ในปี 2014 Stanford professor John Pencave ได้เผยงานวิจัยว่า productivity จะลดเมื่อคนทำงานเกิน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ Sarah Green Carmich ก็ได้เขียนไว้ใน Harvard Business Review ว่าการทำงานที่นานเกินไปจะไม่ส่งผลดีต่อทั้งคนทำงานเองและบริษัทด้วย ในขณะที่ Arianna Huffington กล่าวไว้ในหนังสือ Thrive เพื่อบอกกับคนทำงานว่าเราควรต้องนอนให้เพียงพอ

การให้คุณค่ากับคนและทีมงาน

ในแง่วัฒนธรรมองค์กรเกี่ยวกับคน Lutke กล่าวว่าแทนที่จะเรียก 10x engineer หรือ rockstar engineer เขากับให้คุณค่ากับคนร่วมทีมที่มาสร้างทีมที่ยอดเยี่ยมได้ และเชื่อในเรื่องของทีมมากๆ

"เราจะไม่ทำให้ทีมหมดกำลังใจในการทำงาน โดยพยายามให้พื้นที่/อิสระในการทำงานกับพวกเขา และเรารักทีมงานที่มีความสัมพันธ์ของความเป็นเพื่อนจริงๆ มันไม่ใช่เรื่องของ Product, Market Fit หรือ Timing แต่สำหรับเขา มันคือเรื่องของคน และเราดูแลทุกคนอย่างให้เกียรติ พวกเราไม่ใช่หุ่นยนต์ แต่พวกเราคือมนุษย์ มนุษย์นี่เองคือสิ่งที่ยอดเยี่ยม และเหนือกว่านั้นคือทีมและความเป็นเพื่อนที่เผชิญช่วงเวลาที่ท้าทายไปด้วยกัน" Lutke กล่าว

บทความนี้เราไม่ได้กระตุ้นให้คุณพอทำงานครบเวลาแล้วตัดจบในแต่ละวัน โดยไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสม แต่เราอยากบอกว่าจงใช้เวลางานในแต่ละวันที่ office อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด พยายามหาเวลาพักผ่อนและออกกำลังกาย เพราะคนไม่ใช่เครื่องจักร สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีจะนำพามาสู่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเอง

ที่มา : BusinessInsider, Tobi Lutke's twitter account

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Secure Corporate Internet บริการใหม่ที่ ‘ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล’ เข้าใจทุกเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของธุรกิจ จาก AIS Business

บทความนี้ Techsauce อยากชวนมารู้จักกับ Secure Corporate Internet อินเทอร์เน็ตองค์กรที่มีระบบรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง บริการใหม่เพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล!...

Responsive image

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future นำเสนอเนื้อหาสุด Exclusive จากทั้ง 3 Stage โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั้งไทยและต่างประเทศ เจาะเวลาหาอนาคต สู่ก...

Responsive image

Ertigo สตาร์ทอัพไทยที่อยากแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าเป็นผู้ให้บริการ TeleRehab ในอาเซียน

ERTIGO สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าการเป็นผู้ให้บริการ Telerehab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...