คนรุ่นใหม่ไฟแรง หรือผู้ที่มี passion อย่างแรงกล้าจำนวนมากกำลังเตรียมตัวโตอย่างก้าวกระโดดเกี่ยวกับเทรนด์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ภาพ 360 องศาลงบนโซเชียลมีเดีย หรือการสร้างแอปพลิเคชันที่โดดเด่นสักแอปฯนึง เพียงเพราะเหตุผลที่ว่าทุกคนก็มี ใครๆ เขาก็ทำกัน! แต่จริงๆอาจจะไม่ใช่!
ที่มาของภาพ : ldprod / 123RF Stock Photo
ยกตัวอย่าง Startup ที่ชื่อ Serenity Services Asia โดยเป็นบริการนวดแบบ on-demand ที่เคยพยายามโน้มน้าวให้ทีมธุรกิจจำเป็นต้องมีแอปฯ และเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ก็มีการทำ MVP (Minimal Viable Product) ที่อยู่บน Google Play และจากนั้นก็เริ่มเกิดการแชร์ข้อมูล
แต่แล้วการเติบโตเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ไม่รอช้า ทีมก็ได้รีบถอยกลับไปตั้งหลักและวิเคราะห์สถานการณ์ซึ่งหลังจากรู้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กลับกลายเป็นว่าจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องใช้แอปพลิเคชันใหม่ๆ ก็ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นธุรกิจเพื่อสังคม แต่เป็นเช่นนั้นเพราะทีม bootstrap ซึ่งก็คือการพึ่งพาเงินลงทุนของตัวเอง โดยที่ยังไม่พึ่งพาการ Raise funding (ระดมทุน)
"ข้อผิดพลาดของคนๆ หนึ่ง ก็คือการเรียนรู้ของคนอื่นๆ"
ดังนั้นเรามาลองดูกันว่ามีคำถามอะไรบ้างที่คุณควรจะรู้ก่อนจะเซิร์จหาบริษัทเพื่อพัฒนาหรือสร้างแอปพลิเคชัน
ถ้าหากว่าธุรกิจของคุณมีปริมาณ Transaction สูงมาก การพัฒนาแอปฯ จะช่วยให้ทีมของคุณประหยัดเวลาอันมีค่า และเอาเวลานั้นไปสร้างการลงทุนในการขยายธุรกิจหรือขยายไปสู่ตลาดอื่น ๆ จะดีกว่า
แต่ในเคสของ Serenity Services Asia นั้นประเมินการจองบริการนวด on-demand เกินจำนวนจริงที่ได้รับ เมื่อเปิดตัวการบริการ แต่ทีมก็สามารถจัดการการจองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้แอปฯ แม้ในขณะนี้เอง ปริมาณการจองบริการนวดก็เพิ่มขึ้น และก็ยังทำได้ดีแม้ไม่มีแอปฯ
ลองมาดูกันเถอะว่า ทำไมทีมถึงคิดผิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้เว็บไซต์ดูดี เพราะแต่ละเบราว์เซอร์มีข้อกำหนดทางเทคนิคและข้อจำกัดที่เฉพาะเจาะจงที่ต้องปฏิบัติตาม และทุกคนคิดว่าการสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมานั้นจะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้มากที่สุด
แต่ในกรณีของ Serenity Services Asia คำตอบคือ ไม่! ความเรียบง่ายของธุรกิจคือ การแมชกันระหว่างลูกค้าที่มีอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อกับธุรกิจ นั่นคือการรักษาด้วยบริการนวด หมายความว่า Mobile Responsive Website เหมาะแล้วกับการที่จะแก้ปัญหานั้น
การสร้างแอปฯ สักแอปฯ นึงให้มีดีไซน์ออกมาดูดี หรือการสร้างแอปฯ ที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer-centric) นั้นแน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆก็ทำได้ อย่างน้อยคุณต้องใช้เวลาในการคิดและใตร่ตรองเกี่ยวกับ user journey ว่าลูกค้านั้นมีขั้นตอนอะไรบ้างกว่าจะมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา ซึ่งถ้าเรารู้ปัญหาหรือ pain ของลูกค้าในจุดๆ ไหนแล้วเรานำมาปรับปรุงและวางแผนได้อย่างถูกจุด เราก็จะสามารถประสบผลสำเร็จในธุรกิจของเราได้ ไม่เพียงเท่านั้น วิธีการรักษาลูกค้าไว้และให้เขามีส่วนร่วมกับธุรกิจมากพอ ที่สำคัญคือจะต้องตระหนักว่าถ้าคุณสร้างแอปฯ หนึ่งขึ้นมาแล้ว คุณจะทำอย่างไรให้ลูกค้าใช้แอปฯของคุณต่อ
มาดูกันว่าฟังก์ชันที่หมายถึงนั้นคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น กล้องถ่ายรูปที่ถ่ายเซลฟี่ได้อย่างเพอร์เฟค หรืออาจจะหมายถึง GPS ที่กำหนดโลเคชั่นของผู้ใช้ ขณะที่ใช้แอปฯ สำหรับธุรกิจของเราแล้วมันช่วยเรื่องประสบการณ์ของผู้ใช้ (user experience) เมื่อเขาไม่ต้องการใส่แอดเดรสของเขา แต่นั่นมันเป็นสิ่งที่มีก็ดี (good-to-have)แต่ก็ไม่ถึงขนาดว่าจะต้องมี (must-have) ก็ได้
ยกตัวอย่างธุรกิจที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างมากคือ เกมหรือธุรกิจ ride-hailing ที่ต้องการให้ตัวธุรกิจเองส่งการแจ้งเตือนไปยังลูกค้าให้เขารู้ว่ารถมาถึงแล้ว ในกรณีเช่นนี้โซลูชันเว็บบนมือถือและการแจ้งเตือนทางอีเมลอาจจะไม่เหมาะสมเท่าไรนัก เนื่องจากความไวและความเร่งด่วนก็มีส่วนด้วย
เราได้เลือกทางเลือกต่างๆ ในการแจ้งเตือนให้กับลูกค้าของเรา (เพราะพวกเขาถูกเสมอ!) พวกเขามีอิสระในการเลือกการรับการแจ้งเตือน ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ SMS หรือโทรศัพท์ เมื่อใดก็ตามที่การจองบริการนวดของพวกเขาได้รับการยืนยันหรือเมื่อไรก็ตามที่ผู้นวดบำบัด ของ Serenity มาถึง เขาก็จะได้รับการแจ้งเตือน
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าจริงๆ แล้ว ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดในการที่ทำ Startups แล้วจะมีแอปฯ หรือไม่? แต่ถ้าคุณมีคำตอบว่า "ไม่" มากกว่า "ใช่" สำหรับคำถามทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว คุณอาจจะใช้เวลาและความพยายามในการ growth hacking ธุรกิจของคุณแทน!
ที่มาบทความ : TechinAsia
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด