อินเทอร์เน็ตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนฟินแลนด์ คุยเรื่องการศึกษากับ Dr.Linda Liukas | Techsauce

อินเทอร์เน็ตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนฟินแลนด์ คุยเรื่องการศึกษากับ Dr.Linda Liukas

พูดคุยกับ Dr. Linda Liukas คุณครูสาวจากฟินแลนด์ และเจ้าของผลงานหนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีการแปลไปกว่า 100 ภาษาอย่าง ‘Hello Ruby’ ที่อธิบายพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่แม้แต่เด็ก 4 ขวบก็สามารถเรียนได้ ทั้งนี้ Dr.Linda Liukas ได้มาพูดคุยกับ Techsauce ในหัวข้อของ ระบบการศึกษา (Education System) ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อ COVID-19 ระบาดไปทั่วโลก และบทบาทของวงการการศึกษาจะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้

ผลกระทบของ COVID-19 กับระบบการศึกษาในฟินแลนด์และทั่วโลก

สำหรับในฟินแลนด์ หลังพบว่า COVID-19 ระบาด ก็ได้มีการล็อกดาวน์เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นก็กลับมาดำเนินชีวิตกันแบบ New normal โดยโรงเรียนระดับประถม (Primary school) กลับมาเข้าห้องเรียนตามปกติ ในขณะเดียวกันโรงเรียนระดับมัธยม (Secondary school) และมหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายหลาย ๆ อย่าง เช่น เด็กเริ่มเบื่อการเรียนออนไลน์ หรือเด็กขาดแรงจูงใจในการเรียน

แต่ในทางกลับกัน Dr. Linda Liukas ก็ยังพบว่ามีข้อดีจากการระบาดของ COVID-19 กับรูปแบบของการศึกษา อย่างเช่น เราสามารถเข้าร่วมคลาสเรียนต่าง ๆ รอบโลกได้ง่ายดายมากขึ้น อีกทั้งคุณครูจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกก็ได้นำเอาอุปกรณ์ เทคโนโลยี และสร้างรูปแบบการเรียนแบบใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อสอนนักเรียน 

และในมุมมองเรื่อง Edtech คาดว่าในอนาคต การเรียนออนไลน์จะยังคงอยู่ต่อไป ทุกคนสามารถเรียนได้จากทุกที่ ทุกเวลา และสิ่งนี้จะทำให้พื้นที่ของระบบการศึกษาแคบลง เพราะทุกคนจะเข้าถึงการศึกษาได้ ทั้งนี้ Dr.Linda ก็ได้คาดการณ์ว่า ระบบการศึกษาในอนาคตจะมีความต้องการคุณครูที่มีทักษะ รวมทั้งเครื่องมือและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากรูปแบบที่เปลี่ยนไปเป็นออนไลน์ รวมไปถึงจะมีการเพิ่มขึ้นของธุรกิจ หรือแบรนด์ที่ทำเกี่ยวกับระบบออนไลน์ที่สามารถใช้ได้ในการเรียน หรือพวก Video Conference นอกจากนี้สิ่งที่นักเรียนในอนาคตจะได้คือ โอกาสในการเรียนจากสถาบันที่ดีที่สุดในด้านนั้น ๆ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปเรียนเลย

Digital Divide ปัญหาใหญ่ในระบบการศึกษาแบบใหม่

ในฟินแลนด์นั้น Dr.Linda กล่าวว่า เมื่อเด็กนักเรียนเข้าไปในโรงเรียนทุกคนจะอยู่ในสถานะที่เท่าเทียวกันทั้งหมด แต่เมื่อเข้าสู่โหมดการเรียนออนไลน์ เด็กที่มาจากครอบครัวที่พร้อมซัพพอร์ต เด็กกลุ่มนี้ก็จะมีอุปกรณ์ในการเรียนที่พร้อมกว่าเด็กกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งความเหลื่อมล้ำนี้ถือเป็นปัญหาหลัก ๆ ที่พบจากระบบการเรียนแบบออนไลน์ไม่ใช่เพียงในฟินแลนด์ แต่เป็นทั่วโลก

นอกจากนี้ Dr.Linda ยังเล่าต่ออีกว่า สำหรับคนฟินแลนด์นั้นการมีอินเทอร์เน็ตใช้ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ส่งผลให้คนในฟินแลนด์ทุกคนมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ อย่างไรก็ตามก็ยังมีเด็กอีกหลายคนที่ขาดอุปกรณ์พื้นฐานในการเรียน อย่างคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต

และในอนาคตนั้นปัญหาเหล่านี้อาจจะลดลง หรือหมดไป เพราะการระบาดของ COVID-19 เป็นตัวเข่ามาเร่งให้แต่ละประเทศต้องพัฒนาระบบการศึกษาแบบใหม่ให้เด็ก ๆ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ดังนั้นในอนาคตเราอาจจะเห็นว่าเด็กจะมีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองตั้งแต่ยังอายุน้อย ๆ พวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็จะมีการพัฒนาให้ใช้งานในการสื่อสารที่ดีขึ้น และเด็ก ๆ ที่เกิดมาในโลกหลัง COVID-19 จะถือได้ว่าเป็นเด็กในโลกที่ทุกคนเชื่อมกันได้อย่างไม่สิ้นสุด (Connectedness World)

แล้วโรงเรียนยังจำเป็นไหม เมื่อโลกเปลี่ยนเป็นออนไลน์

ต้องย้อนกลับไปมองก่อนว่าจริง ๆ แล้ว การศึกษา (Education) คืออะไร เราเรียนไปเพื่ออะไร เรียนเพื่อรู้ทักษะ สร้างเทคนิค หรือเรียนเพื่อทำข้อสอบ แต่สำหรับ Dr. Linda มองว่า การเรียนคือการถ่ายทอดความรู้ การสร้างประสบการณ์/ ไอเดีย/ สังคมให้กับเด็ก ๆ ให้พวกเขาพร้อมสำหรับอนาคต

การเรียนออนไลน์นั้นก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ถึงแม้ว่ามันจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนหาความรู้ได้จากทุกที่ ทุกเวลา แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ เมื่อเด็กสามารถเข้าใช้ Google หรือ YouTube ได้อย่างอิสระ พวกเขาก็จะโฟกัสได้เฉพาะสิ่งที่พวกเขาสนใจเท่านั้น ส่งผลให้พวกเขาขาดความรู้ ความสนใจในด้านอื่น ๆ ดังนั้น การศึกษาที่ดี คือ ความสมดุล (Balance) 

สำหรับโรงเรียนนั้น มองว่า มันเป็นมากกว่าความรู้ที่เด็ก ๆ จะได้ออกไป แต่มันเป็นเหมือนกันตัวเลือกของเด็ก ๆ มากกว่า เพราะพวกเขาจะต้องเป็นคนเลือกเองว่าจะเข้าสถาบันไหน จะเลือกเรียนอะไร และอีกสิ่งที่จะได้คือ Certification หรือการรับรองจากสถาบันนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประสบการณ์ที่โลกของ Google และ YouTube ยังให้เด็ก ๆ ไม่ได้ ถึงแม้ว่า ณ ปัจจุบันนี้ได้มีโรงเรียนมากมายที่กลายเป็นธุรกิจไปแล้ว

บทเรียนจาก 2020 และสิ่งที่จะเกิดขึ้นใน 2021

ในปี 2020 เราได้เรียนรู้และเห็นอะไรใหม่ ๆ มากมาย สิ่งหนึ่งที่มนุษย์มองหาคือ สังคม และต้องการซึ่งกันและกัน จนทำให้มีแพลตฟอร์มมากมายมาตอบสนองความต้องการในช่วงการล็อกดาวน์ อีกทั้งเกิดเป็นไอเดียใหม่ ๆ ที่เข้ามาสนับสนุนให้ระบบการศึกษาดำเนินต่อไป จนเราได้ค้นพบว่า การเรียนรู้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ รูปแบบ และตลอดเวลาจริง ๆ และมันทำให้เราตระหนักว่า ไอเดียใหม่ที่เกิดขึ้นมานั้นสำคัญขนาดไหนและจำเป็นขนาดไหนที่จะต้องมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา

และในอนาคตของปี 2021 เราอาจจะยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติแบบก่อนการระบาดได้ ดังนั้นการใช้ชีวิตของเราก้จะเป็นแบบ New normal ต่อไป เพราะฉะนั้นทุกคนจะยังต้องใช้ชีวิตกับระบบการศึกษาแบบใหม่ที่เน้นออนไลน์เป็นหลัก และการศึกษาก็จะเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา มีไอเดียใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ การเรียนรู้แบบ Cross-culture หรือข้ามวัฒนธรรมก็จะมีเพิ่มขึ้น

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...