5 เรื่องที่ Elon Musk พูดใน TED Talks ต่ออนาคตมนุษยชาติ | Techsauce

5 เรื่องที่ Elon Musk พูดใน TED Talks ต่ออนาคตมนุษยชาติ

“ตราบใดที่ผู้คนไม่นิ่งนอนใจในการแก้ปัญหา ผมเชื่อว่าทุกอย่างจะดีขึ้น” หนึ่งประโยคจากบทสัมภาษณ์ล่าสุดของ Elon Musk ‘บุคคลผู้ขึ้นแท่นเป็นมหาเศรษฐีที่มีความมั่งคั่งที่สุดในโลก’ ในรายการ TED Talks ตอน “Future Worth Getting Excited” โดยมี คริส แอนเดอร์สัน เป็นผู้ดำเนินรายการ 

Techsauce รวม 5 ไฮไลต์สำคัญที่มัสก์ตอบหลายคำถามที่แสดงให้เห็นถึงมุมมองต่ออนาคตมนุษยชาติอันน่าตื่นเต้นและสิ่งที่อาจเป็นความเสี่ยงในวันข้างหน้ามาแบ่งปันทุกคน 

5 เรื่องที่ Elon Musk พูดใน TED Talk ต่ออนาคตมนุษยชาติ“ Future Worth Getting Excited”เป็นที่ทราบกันว่า อีลอน มัสก์ ก่อตั้งบริษัทของตัวเองตามวิสัยทัศน์ที่มองการณ์ไกลไปถึงยังเรื่องราวในอนาคตที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ช่วงเวลาที่ผ่านมาเราเข้าใจถึงที่มาของหลักคิดในการประดิษฐ์นวัตกรรมแปลกใหม่มากมาย และเชื่อว่าหลายคนคง Connect the Dots เทคโนโลยีของมัสก์ได้ชัดเจนมากขึ้น 

ถึงแม้เทคโนโลยีจะทรงพลังแต่ศักยภาพมนุษย์จะทรงพลังมากกว่า

มัสก์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในอนาคตที่ว่า ‘Sustainable Economy’ จะเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและยืดอายุโลกใบนี้ เขาเปิดเผยถึงการที่ตนมีมุมมองต่อประเด็นดังกล่าวในแง่บวกมากกว่าแง่ลบ (Optimistic about Future) โดยเชื่อว่ามนุษยชาติจะสามารถคิดค้นหาวิธีช่วยโลก และช่วยเหลือมนุษยชาติให้อยู่รอดได้ เพราะ สังคมเกิดการตื่นตัวต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่โดยตรงและรู้วิธีที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านั้น 

“บางครั้งที่รู้สึกเศร้ากับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ผมจะพยายามมองหาเหตุและผลในมิติอื่น ๆ” 

สำหรับเส้นทางในการพัฒนาเรื่องพลังงาน เขาโฟกัสว่า อะไรคือสิ่งที่สามารถเสริมสร้าง Sustainable Energy ได้อย่างยั่งยืน เช่น แสงอาทิตย์ ลม หรือน้ำ และจะทำอย่างไรให้กระบวนการดังกล่าวมีประสิทธิภาพด้วยการทุ่มเทสร้างแบตเตอรี่ที่จะสามารถให้พลังงานมหาศาล และหล่อเลี้ยงกระบวนการสังเคราะห์พลังงานดังกล่าว 

คำถามหนึ่งที่เกี่ยวกับเรื่อง ‘Synergy of Musk’s Technology’ แอนเดอร์สันตั้งคำถามว่าเทคโนโลยีจาก SpaceX , Tesla , Neuralink หรือ Boring Company จะถูกนำมาไปใช้บนดาวอังคารหรือไม่ ? มัสก์ตอบว่า มีความเป็นไปได้ เพราะ การนำพาคนไปดาวอังคารได้แล้วนั้นไม่สำคัญเท่ากับการจะทำอย่างไรให้ผู้คนสามารถอยู่รอดบนดาวอังคาร ซึ่งเทคโนโลยีจากบริษัทของเขาอาจเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในอนาคต 


อาณานิคมบนดาวอังคารไม่ได้เป็นเรื่องเกินจริง 

การทุ่มเงินและวิทยาการให้กับโปรเจคอวกาศหลายปีของ SpaceX ร่วมกับ NASA ได้เขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการอวกาศ เราได้เห็นกลไลจรวดอวกาศที่สามารถกลับมาลงจอดได้อย่างแม่นยำและยังใช้การต่อได้อีก 

ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วนช่วยอย่างมากต่อปัญหาเรื่องงบประมาณในการสำรวจอวกาศ ซึ่งแน่นอนว่าดาวอังคารจะเป็นแค่จุดเริ่มต้น และเป็นไปได้ว่าวิสัยทัศน์เรื่องการตั้งรกรากบนดาวดวงอื่นนอกจากโลกใบนี้ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป 

มัสก์กล่าวว่า จรวดอวกาศจะนำมาซึ่งความเป็นไปได้อันมหาศาล” และเปิดเผยว่า ภายในปี 2030 จรวดอวกาศของ Spacex ที่ถูกส่งออกสู่วงโคจรจะมีจำนวนกว่า 1,000 ลำเพื่อทดสอบปฏิบัติการด้านต่าง ๆ โดยปฏิบัติการแรกหลังจากนำคนไปสู่พื้นผิวดาวอังคาร 

ซึ่งเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ในปี 2029 คือ การสร้าง ‘Fuel Plants’ ไว้เติมเชื้อเพลิงให้กับจรวดและยานอวกาศ เพื่อทำให้การนำยานกลับมาสู่โลกเป็นเรื่องที่ทำได้ จากนั้นคือการโฟกัสพลังงานที่จะถูกใช้สำหรับการทำกิจกรรมบนดาวอังคาร

“ผมเชื่อมันจะเป็นเมืองของผู้คนบนดาวอังคาร ผู้คนควรมีบทบาทในการกำหนดมันเอง” 

นอกจากนี้มัสก์ยังเสนอเรื่องประชาธิปไตยทางตรงที่เขามองว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าและการบัญญัติกฎหมายที่มีพื้นฐานจากเสียงของประชาชน อาณานิคมบนดาวอังคารจะไม่ถูกสร้างภาพว่าเป็นทางเลือกที่สุขสบาย แต่จะค่อนไปทางลำบากด้วยซ้ำ การประกาศเรื่องนี้เขาแค่คิดว่ามันจะเป็นหนึ่งในการสร้างเส้นทางให้มนุษย์อยู่รอด หากมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นกับโลก 

AI ศักยภาพเหนือจินตนาการที่มาพร้อมความเสี่ยง

ข้อกังวลอีกหนึ่งเรื่อง คือ ความสามารถในการยกระดับการแก้ไขปัญหาของ AI & Digital Intelligence ในปัจจุบันไที่ด้ขยายขอบเขตวิถีชีวิตของผู้คนและนำมาซึ่งนวัตกรรมจำนวนมาก หากแต่มีเส้นบาง ๆ ที่เทคโนโลยีเหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาไปเป็นความเสี่ยง

 มัสก์นำเสนอจุดยืนเรื่องหน่วยงานกลาง Regulatory Agency for AI อนาคตควรมีกฎระเบียบด้านการใช้งานเพื่อความปลอดภัยต่อสาธารณะ แม้ว่า AI จะเป็น Core สำคัญของบริษัทของเขา โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาระบบ FSD (Full-Self Driving) สำหรับรถ Tesla ซึ่งเป็นหนึ่งประเด็นที่ไม่เป็นไปตามแผน มัสก์อธิบายว่าการพัฒนาระบบ FSD เสมือนเป็นการแก้สมการที่ยากและซับซ้อนระหว่าง Real World & AI ซึ่งเขากำลังพยายามทำความเข้าใจสมรรถภาพของเทคโนโลยี และแก้ไขปัญหาให้สมบูรณ์มากท่ีสุด 

“สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือการที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ถูกใช้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในทางที่ผิดแปลกไปหรือทำให้มนุษย์ห่างไกลออกจากวิถีชีวิตจริง” 

สำหรับผู้ที่ติดตามมัสก์จะทราบว่า มัสก์ค่อนข้างกังวลเรื่องการต่อกรกับ AI ทำให้เขาพยายามพัฒนาวิธีการอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยง และนำเขาไปสู่การก่อตั้ง Neuralink ผนวกเทคโนโลยี Digital Intelligence & Biological Intelligence เข้ากับมนุษย์และปลดล็อคศักยภาพสมองไปจนถึงการรักษาความผิดปกติของโรคที่เกี่ยวกับสมองและระบบประสาทมนุษย์  

ไอเดียที่เปี่ยมคุณภาพในทุกนาทีก่อให้เกิดมูลค่านับล้านต่อบริษัท 

“ในหลายครั้งเพียงแค่การประชุมเพียงครึ่งชั่วโมง ผมสามารถปรับปรุงให้ยอดขายมีโอกาสเพิ่มขึนถึงร้อยล้านเหรียญ”

ในช่วงท้ายแอนเดอร์สันชวนมัสก์คุยเรื่องการจัดการกับความรู้สึกตัวเองในการทำงานที่มีตัวเลขเป็นพันล้านหมุนเวียนในแต่ละวัน มัสก์อธิบายว่า สิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานในแต่ละวันของเขา คือ การทำให้แน่ใจว่าเขาอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้องในการเข้าใจโลกและจักรวาล ความสงสัยใคร่รู้เหนือสิ่งอื่นใดต่อสิ่งที่รออยู่ในอนาคต เปรียบกับการหาคำตอบมาเติมในช่องว่าง ทำให้มั่นใจว่าในอนาคตจะมีหนทางที่ปลอดภัยสำหรับคนทุกคน ดังนั้นเขาจึงพยายามทำงานให้มากที่สุด พยายามใช้เวลาทุกนาที ทุกชั่วโมงอย่างคุ้มค่าเพราะหนึ่งชั่วโมงสำหรับการคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นอย่างดีจะส่งผลต่อผลลัพธ์แก่บริษัทระดับร้อยล้าน

โลกของมหาเศรษฐีและความใจบุญสุนทาน

มัสก์ตอบคำถามในประเด็นอ่อนไหวเรื่องความร่ำรวยและ ‘Philanthropy’ หรือความใจบุญสุนทานว่าหากคุณมองลึกลงไปถึงความดีงามที่แท้จริงจากการทำสิ่งต่าง ๆ มันคงเป็นเรื่องที่ห่างไกลกันมาก หากคุณมองว่าความห่วงใยมนุษยชาตินั้นเป็นความใจบุญ 

“SpaceX พยายามที่จะสร้างหนทางอยู่รอดในระยะยาวสำหรับมนุษยชาติด้วยการมองหาโอกาสนอกโลก  Tesla ต้องการสร้างการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน Neuralink ต้องการช่วยเหลือคนจากอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวกับสมอง Boring Company พยายามแก้ปัญหาจราจร และสร้างโอกาสในการเดินทางที่ดียิ่งขึ้น...บริษัทเหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทที่มีความใจบุญใช่หรือไม่”

"ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจแบบนั้น เป็นเรื่องที่แย่หากมีการใช้เงินหลายพันล้านอย่างฟุ่มเฟือยไปกับการบริโภคประจำวัน"

มัสก์เปิดเผยว่า เขาไม่มีวันหยุดพักร้อนและไม่มีการร่องเรือยอร์ชอย่างสนุกสนาน การใช้จ่ายส่วนตัวของเขาจึงไม่ได้มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญ เขาไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง เมื่อเดินทางไปทำงานบริเวณ Bay Area เขาจะใช้บริการห้องนอนที่ใช้รับแขกของเพื่อนหรือวิศวกร 

"หากจะมีข้อยกเว้น คือ เรื่องเครื่องบินส่วนตัว เพราะไม่เช่นนั้นผมคงมีเวลาทำงานน้อยลง"

-----------------

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ มัสก์ได้ระบุถึงสิ่งที่เขากังวลมาก คือ ปัญหา Depopulation ซึ่งตอนนี้เริ่มกลายเป็นประเด็นที่หลายประเทศพูดถึง 

“ตอนนี้ผมมองเห็นปัญหาใหญ่ที่ทุกคนควรตระหนักคือ การลดฮวบของจำนวนประชากรโลก อัตราการเกิดใหม่ที่ลดลงในหลาย ๆ ประเทศจะเป็นอุปสรรคต่อวิถีชีวิตในอนาคต”  มีความเป็นไปได้ว่ามัสก์อาจจะกระโดดเข้าสู่การร่วมแก้ไขปัญหานี้หรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าติดตามกันต่อไป 



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ONNEX by SCG Smart Living รุก 'ตลาดโซลาร์' รับโลกเดือด ดันโมเดลธุรกิจ EPC+ 5 รูปแบบ

ONNEX by SCG Smart Living เปิดแผน EPC+ Business Model 5 รูปแบบ ทั้งโมเดลสำหรับผู้ประกอบการ, เจ้าของโครงการ, นักลงทุน, บริษัทในเครือข่าย และตัวแทนอิสระ...

Responsive image

เจาะลึกบทบาท CVC กับการลงทุนใน Startups ยุคใหม่ กับ Nicolas Sauvage หัวเรือใหญ่ TDK Ventures

เจาะลึกบทบาทของ CVC ในการขับเคลื่อนธุรกิจยุคใหม่ พร้อมเผยกลยุทธ์การเฟ้นหาและสนับสนุน Startups รวมถึงแบ่งปันวิสัยทัศน์เชิงลึกรวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน Startups ที่น่าจับตามอง โดย Nico...

Responsive image

ส่องกฎหมายและนโยบายที่ดึง Silicon Valley มาลงทุนในอินโดนีเซีย

บทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะลึกกับ 5 ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้อินโดนีเซียได้รับความสนใจจากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในช่วงเวลานี้...