สัมภาษณ์พิเศษ Nortis Rise ริเริ่มสร้างสังคมประหยัดพลังงานด้วย ICO รายแรกของไทย | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ Nortis Rise ริเริ่มสร้างสังคมประหยัดพลังงานด้วย ICO รายแรกของไทย

หากใครจำกันได้ หนึ่งในบูธของงาน Techsauce Global Summit 2017 ที่ได้รับเสียงตอบรับจากผู้ร่วมงานไม่น้อย ก็คือบูธของ Nortis Rise บริษัทด้านพลังงานที่มีบริการเป็นที่จดจำอย่าง SOLARLAA ตัวช่วยด้านการวางแผนติดตั้ง Solar Cell และการประหยัดพลังงาน โดยในงานที่ผ่านมา Nortis Rise ก็ได้มานำ Solarlaa Box อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะมาช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าในบ้านมาเปิดตัว และจากกระแสในวันนั้น มาจนถึงวันนี้ Nortis Rise ได้สร้างสรรค์อีกหนึ่งสิ่งที่มาทำงานร่วมกับ Solarlaa Box นั่นก็คือ การสร้างเหรียญ Cryptocurrency ของตนเอง มาขับเคลื่อนความตระหนักในการประหยัดพลังงาน ผ่านการริเริ่มด้วยการระดมทุนด้วย ICO ครั้งแรกของนักพัฒนาด้านพลังงานไทย

ดูแล้วอาจจะยังงงๆว่าเรื่องราวเป็นอย่างไร Techsauce ก็ได้เข้าไปสัมภาษณ์พิเศษกับคุณศรัณย์ เหล่าอยู่คง และคุณอรอุมา สีแสงทอง CTO และ CIO จากบริษัท Nortis Rise ซึ่งตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นบริษัทด้านพลังงานรายแรกในไทยที่ระดมทุน digital platform ผ่าน ICO และมีเหรียญ Cryptocurrency ของตนเองชื่อว่า digiMint

คำว่า digiMint มาจากอะไร

digi มาจากคำว่าดิจิทัล ส่วน Mint จริงๆมีหลายความหมาย แต่ความหมายหนึ่งแปลได้ว่าเหรียญ หรือการสร้างเหรียญ รวมกันแล้วก็สามารถแปลได้ว่าการสร้างเหรียญดิจิทัลนั่นเอง แต่ digiMint นั้นมีตัวย่อว่า DiM ซึ่ง DiM ตัวนี้ก็มีความหมายที่เราใส่ไว้คือ การหรี่ไฟ สามารถหมายถึงการลดการใช้พลังงานได้นั่นเอง

จุดเริ่มต้นของเหรียญ digiMint (DiM) นี้คืออะไร มาเกี่ยวข้องกับการประหยัดพลังงานได้อย่างไร?

คุณอรอุมา : ย้อนไปก่อนว่าเดิมเราเป็นนักพัฒนาด้านพลังงาน มีผลิตภัณฑ์คือ SOLARLAA เป็นแอปพลิเคชันช่วยวางแผนในการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ต่อยอดด้วยระบบประมวลผล (monitoring) แบบ realtime ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับกล่อง (Solarlaa Box) ที่เราได้เปิดตัวไปในงาน Techsauce Global Summit แต่ก่อนอื่นให้ความเข้าใจกันก่อนว่า

Solar Cell ไม่ได้เป็นวิธีลดการใช้พลังงานเพียงอย่างเดียว การประหยัดพลังงานนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมผู้ใช้ด้วย  และในตอนนี้ประเทศไทยทุกอย่างเป็น 4.0 ซึ่งอุปกรณ์ในยุคดิจิทัลล้วนแล้วแต่ต้องใช้ไฟ และทุกคนสามารถช่วยกันผลิตไฟใช้เองได้ ทุกวันนี้ทั้งเทคโนโลยี และ สื่อความรู้มีมากมายจนการผลิตไฟใช้เองมันไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเกินไปแล้ว

ซึ่งเรื่องของค่าไฟฟ้าถ้าเป็นบ้านหลังใหญ่หรือระดับโรงงาน เจ้าของก็คิดหนัก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร บางโรงงานใช้จ่ายค่าไฟเป็นล้าน ไม่สามรถลดได้เพราะจะสูญเสียกำลังการผลิต หรืออย่างบางบ้านที่สงสัยว่าทำไมตอนกลางวันค่าไฟถึงสูงมากเลยทั้งๆที่ไม่มีคนอยู่ ก็มาพบว่าแม่บ้านเป็นคนใช้ไฟ ซึ่งถ้าเราไม่มีตัว Monitor เราก็ไม่สามารถรู้ได้ และ ไม่สามารถมีตัวช่วยในการประหยัดพลังงานได้ ซึ่ง DiM จะสามารถตอบโจทย์ส่วนนี้ได้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก แล้วยังเป็นการสร้างความตระหนักแก่ผู้ประกอบการ และให้คำแนะนำในการประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

คุณศรัณย์ : ทางเราก็มองเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใส่ผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว Blockchain ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการเก็บข้อมูลที่โปร่งใส และมีความปลอดภัยนี่จึงเป็นเหตุผลที่เราทำตัวเหรียญคือ DiM นี้ขึ้นมา

หน้าที่ของ digiMint (DiM) คืออะไร?

คุณศรัณย์ : ในส่วนของข้อมูลการใช้ไฟฟ้า เราจะได้รับข้อมูลจาก Solarlaa Box ซึ่งตัว DiM เป็นตัวแทนที่แสดงว่าประหยัดพลังงานได้เท่าไร โดยในการ Monitoring จะเป็นในส่วนของ SOLARLAA แต่เราเพิ่ม Value เข้าไปด้วย digiMint โดยหากเราประหยัดพลังงานได้ ก็จะได้รับเหรียญคือ digiMint หรือ DiM และสามารถสะสมเพื่อนำเหรียญดังกล่าวไปใช้ เช่นในการลงทุนกับการติดตั้ง Solar Cell ต่อได้

การทำงานของระบบ

คุณศรัณย์ : ตัว Blockchain Platform เป็นตัวที่สร้าง Community ขึ้นมา ความหมายคือแต่ละคนมีกล่อง Solarlaa Box ซึ่งแต่ละกล่องจะทำให้เจ้าของบ้านสามารถเห็นข้อมูลการประหยัดพลังงานของแต่ละคนได้ ทำให้ทุกคนเหมือนแข่งขันกันว่าทำไมบ้านเราใช้ไฟแพง บ้านอื่นไม่เห็นแพงเลย จะเกิดเป็นความอยากรู้ขึ้นมา คือมันต้องมี Ecosystem ของมันขึ้นมา ด้วยความที่เราเปิดเป็น Public Blockchain อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันเชื่อมต่อกันได้หมด ทุกคนสามารถคุยกันได้หมดโดยไม่ต้องแชร์โลเคชั่นก็ได้

ขั้นตอนการรับเหรียญ digiMint (DiM) ด้วยการประหยัดพลังงาน

เมื่อผู้ใช้ได้รับตัวกล่องมา ก็ต้องติดตั้งและ Verify ซึ่งถ้าเป็นคนใช้ตามบ้านกับโรงงาน แต่ละคนจะมี baseline การใช้พลังงานที่ต่างกัน เราต้องออกแบบโดยดูพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้ก่อน โดยจะมี Target ตัวกล่องเหมือนกัน แต่ตัวเซนเซอร์ที่จับอาจจะเป็นคนละรุ่นกัน ส่วนตัวประเมินผลจะเหมือนกันเพราะมีหน้าที่ส่งข้อมูลผ่านทางคลาวด์ เมื่อใช้งานระบบจะตัวส่งข้อมูลเป็นระยะ และจะมีการส่งข้อมูลหาผู้ใช้ว่า Tips การประหยัดพลังงานมันควรจะทำอย่างไร

ซึ่งหากประหยัดพลังงานได้ ก็จะได้รับ DiM ซึ่งตัว DiM เหมือนเป็นการสะสมคะแนนทำให้ผู้ใช้อยากลดค่าไฟมากขึ้น ซึ่งเมื่อผู้ใช้สะสมคะแนนได้ สามารถเทรดสู่ตลาดได้ สุดท้ายลูกค้าสามารถเทรดเป็นผลิตภัณฑ์ออกมา ที่สามารถช่วยลดค่าไฟได้

ทำไมถึงเลือกการออก ICO มีข้อควรระวังอะไรไหม

เรามองว่าจุดประสงค์เรามันดี ไม่ใช่ว่าบริษัทหรือคนซื้อได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว เราต้องการให้ทุกคนได้ประโยชน์ คืออยากให้คนทั้งโลกได้ประโยชน์จริงๆ แล้วข้อมูลที่เราได้มามันก็มีมูลค่าด้วยในอนาคต เราก็สามารถแชร์ข้อมูลเรื่องการใช้ไฟฟ้ากัน

คุณอรอุมา : จริงๆ มันเป็น CSR value ที่ดีมากสำหรับ Corporate แทนที่จะมีแต่ CVC แล้วก็แข่งกัน เราอยากสร้างความตระหนักให้คนเห็นความสำคัญในด้านการประหยัดพลังงาน อุปกรณ์นี้สามารถบอกได้ว่าเราลดค่าไฟไปเท่าไหร่ คนที่อยากรู้ค่าไฟก็รู้ได้เหมือน Fitbit นาฬิกาข้อมูลที่บอกเราว่าเดินได้เท่าไหร่ เผาผลาญไปกี่แคลอรี่ ซึ่งการมีอุปกรณ์ที่ดี ก็ต้องมีความตั้งใจที่จะปรับเปลี่ยนด้วยตัวเอง ไม่อย่างนั้นมันก็ไม่มีผล เราอยากให้คนตระหนักที่อยากจะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ถ้าเค้าปรับเปลี่ยนมันจะเกิดผลกระทบที่ดีต่อตัวเค้าเองก่อน นี่คือสิ่งที่เราพยายามที่จะผลักดัน

ด้วยความที่เราเป็น Green Energy ไม่ได้ทำเพื่อช่วยประหยัดเงินอย่างเดียว แต่เราอยากสร้าง ความตระหนักเรื่อง Green Energy ขึ้นมาด้วย มันมี 2 ความหมาย คือมันเป็นการซื้อขายกันก็จริง แต่เป็นการซื้อขายไม่ให้มลภาวะในโลกเพิ่มไปมากกว่านี้

ทั้งนี้ราคาของเหรียญ DiM คือ 1 DiM = 35 บาท หรือประมาณ 1 ดอลลาร์ โดยหากลงทุน 3500 บาท หรือ 100 DiM จะได้รับ Solarlaa Box มาติดตั้ง 1 กล่อง สำหรับนักลงทุนหรือผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดและอ่าน White Paper ได้ที่ www.digimint.org

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...