ไม่แน่ว่าวันหนึ่ง อาม่าของคุณอาจจะต้องการโซลูชันส์เหล่านี้ ใครว่าชุดสูทที่ทำด้วยโลหะแบบเท่ๆ จะต้องมีแต่ในหนัง หรือมีไว้เพื่อออกรบ วันนี้เราจะมาพูดถึงโปรดักส์สาย "Exoskeleton" ที่ดูแล้วเท่ แต่จริงๆ แล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยหรือผู้พิการ สามารถกลับมามีชีวิตที่ดีขึ้นได้อีกครั้ง
ภาพจาก eksobionics.com ซึ่งเข้าตลาด Nasdaq เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Exoskeleton คืออุปกรณ์สวมใส่ สำหรับการเป็นแขนขา เป็นเสมือนโครงกระดูกสำหรับคน
ชุดแบบ Full body จะให้ผลลัพธ์ที่ดีมาก แต่ราคาก็สูงมากเช่นกัน เริ่มต้นตั้งแต่ราว 1.4 ล้านบาท ไปจนถึง 3.5 ล้านบาท
มีหลายๆ Startup ที่นำคอนเซปต์ Exoskeleton ไปแบ่งส่วนเป็นอุปกรณ์ส่วนๆ
ตัวอย่างเช่น WeaRobot ที่โฟกัสที่แขนเทียม
ภาพจาก WeaRobot
Use Case ส่วนใหญ่คือการนำมาใช้กับผู้พิการ หรือมีอาการทุพพลภาพ การนำไปใช้ เช่น การเป็นเครื่องมือในการช่วยทำกายภาพบำบัด และการฟื้นฟูร่างกาย Exoskeleton อาจทำให้พวกเขาเดินได้อีกครั้ง หรือช่วยให้เคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายได้
อีกหนึ่ง Use Case ที่หลายๆ คนอาจลืมนึกถึง คืองานก่อสร้าง และงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งร่างกายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ...และเปราะบางที่สุดเช่นกัน อ้างอิงจาก 2016 Liberty Mutual Workplace Safety Index การใช้ร่างกายอย่างหักโหม เป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่อาการบาดเจ็บ ซึ่งทำให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเป็นเงินมูลค่ารวมกันมากกว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ตัวอย่างเช่นโปรดักส์ MAX (Modular Agile Exoskeleton) ดังภาพ ชิ้นส่วนประกอบไปด้วยส่วน backX, shoulderX และ legX
นอกจากจะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บแล้ว ยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการยกของหนักมากขึ้นด้วย
มีการคาดการณ์ว่าตลาดความต้องการ Exoskeleton อาจพุ่งสูงถึง 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025
สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ Exoskeleton ยังมีโอกาสต่อยอดเพื่อใช้ในการทหาร รวมถึงในอุตสาหกรรมต่างๆ ตามที่ได้ยกตัวอย่างไป
A market forecast predicts that exoskeleton demand may reach 3.3 billion USD by 2025, due to increased applications not only in rehabilitation of the elderly and those with impairments like paraplegia and scoliosis. Exoskeletons also have great potential in protecting soldiers, and enhancing the efficiency of laborers in the workforce.
WeaRobot is currently developing their tech to improve the locomotion of people, but in the future, they see that it can also be used to do the opposite. Restricting movement could be used for high-tech athletics training, and even astronauts undergoing low-gravity simulations.
Indeed, the bionic future ahead is exciting and full of possibility.
ที่มา: futurism, fastcodesign
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด